โยคะ(YOKA)ใครใครก็เล่นได้

คนเล่นโยคะ ได้แล้วทำไมสัตว์ถึงจะทำไม่ได้ละ รูปโยคะ คนเล่นโยคะ ได้แล้วทำไม สัตว์โลก จึงจะทำ ท่าโยคะ ไม่ได้ละจริงไหม ขำขำ นะอย่าคิดมาก




'โยคะ มิใช่เป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง แต่เป็นการฝึกเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นการเตรียมกายใจให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ในการฝึกโยคะผู้ฝึกโยคะทุกคนต้องยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัดเพื่อให้สามารถปรับความสมดุลภายในร่างกายและจิตใจที่ดี

โยคะน้องหมา ชมภาพน่ารักๆ น้องหมาเล่นโยคะ ที่นี่เลยจ้า หมาเล่นโยคะ โยคะหมา โยคะสุนัข ภาพน่ารักๆ ที่อยากให้คุณได้ชม รับรองได้เลยหากคุณได้ชมต้องอมยิ้มกันแน่นอน

ประวัติ

โยคะถือกำเนิดในประเทศอินเดียเมื่อหลายพันปีที่แล้ว โดยในสมัยโบราณนั้นมนุษย์ได้ค้นคว้าเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับความเข้าใจในความ เป็นอยู่ของตนเอง อดีตมีการจารึกถ้อยคำด้วยตัวอักษรความรู้ที่สำคัญๆทั้งหมดถูกส่งผ่านคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในรูปแบบของนิทาน ด้วยวิธีการเช่นนี้ ความรู้ต่างๆจึงได้สะสมขึ้นและวัฒนธรรมต่างๆได้พัฒนาขึ้นมา และนี่คือวิธีการที่การฝึกโยคะได้ถ่ายทอดมาถึงปัจจุบันในหุบเขาแห่ง อินดัส วอลเลย์ นักโบราณคดีได้ค้นพบไม้แกะสลักและศิลปะรูปปั้นที่แสดงถึงการฝึกโยคะ ศิลปะเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นโดยประชาคมที่มีความเจริญเป็นอย่างสูง ซึ่งเจริญอยู่ในพื้นที่แถบนั้นช่วง 2000 และ1000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (ปัจจุบัน คือส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถานนักปราชญ์ชาวฮินดูคนหนึ่งชื่อว่า ปตัญชลี เป็นคนแรกที่ปรับปรุงการฝึกโยคะขั้นพื้นฐาน เขาเขียนสูตรของการฝึกโยคะเป็นหัวข้อ 8 หัวข้อสั้นๆ หัวข้อเหล่านี้เชื่อว่าได้ถูกเขียนขึ้นเมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1] โดยผู้ที่ปฏิบัติโยคะที่เป็นผู้ชายเรียกว่า yogins or yogis ส่วนผู้หญิงเรียกว่า yoginis ส่วนผู้สอนเรียกว่า guru ประเทศตะวันตกได้นำโยคะมาเป็นการออกกำลังกายโดยดัดแปลงจาก Hatha-Yoga ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของโยคะ นอกจากนี้การฝึกท่าโยคะเรียก Asanas เป็นการฝึกท่าโยคะและค้างท่านั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง การฝึกโยคะจะเน้นความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังทำให้เลือดและสารอาหารไปเลี้ยงประสาทไขสันหลังเพิ่ม การฝึกโยคะจะทำให้การทำงานของต่อมต่างๆรวมทั้งต่อมไร้ท่อทำงานดีขึ้น ท่าของการฝึกโยคะเป็นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อตามแบบของโยคะ และมีการสอดคล้องกับการหายใจเป็นการรวมกายและจิตร่วมกัน การฝึกท่าโยคะจะเป็นการฝึกประสาท ความยืดหยุ่น ความแข็งแรง การทรงตัว ลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ สุขภาพจิตและสุขภาพกายดีขึ้น ท่าที่ใช้สำหรับการฝึกโยคะมีมากมาย โดยท่าที่เป็นหลักในการฝึกโยคะ เช่น การฝึกโยคะท่าศพอาสนะ Savasana (Corpse Pose) ท่านั่งก้มตัว (Paschimottanasana) การฝึกท่างู Bhujangasana (Cobra Pose) เป็นต้น[2]

[แก้]โยคะขั้นพื้นฐาน

โยคะ เป็นการสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่งการฝึกโยคะจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การออกกำลังกายหรือการฝึกท่าโยคะ การหายใจหรือลมปราณ การทำสมาธิ โดยการฝึกท่าโยคะจะกระตุ้นอวัยวะและต่อมต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น สุขภาพจึงดีขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์เป็นอย่างยิ่ง
โยคะพื้นฐานสำหรับมารดาตั้งครรภ์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในโครงการตั้งครรภ์คุณภาพ
  • ท่าที่ 1
    • เหยียดขาตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างเท้าที่พื้นแขนเหยียดตรงข้างลำตัว (ให้จิตอยู่ที่นิ้วโป้งเท้า...หายใจเข้าทางจมูกให้ท่องป่องออก) หายใจเข้า
    • หายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ (ท้องแฟบเข้า) ปลายเท้าซ้ายชี้ลง ปลายเท้าขวาชี้ขึ้น
    • หายใจเข้าทางจมูก (ท้องป่องออก) ปลายเท้าซ้ายชี้ขึ้น ปลายเท้าขวาชี้ลง (ทำ 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 2
    • นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างเท้าที่พื้นแขนเหยียดตรงข้างลำตัว (ให้จิตอยู่ที่ข้อเท้าซ้าย หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่องออก)
    • หายใจออกทางปากอย่างช่า ๆ (ท้องแฟบเข้า) ให้ดึงข้อเท้าซ้ายเข้าหาตัว มือขวาจับที่ข้อเท้าซ้าย มือซ้ายกอดเข่าซ้ายแน่น
    • หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ (ท้องป่องออก) เหยียดเท้าซ้ายออก (ทำ 10 ครั้ง) แล้วจึงเปลี่ยนไปทำเท้าขวา (อีก 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 3
    • นั่งโดยเอาฝ่าเท้าประกบกัน เข่าสองข้างแยกออก (ให้จิตอยู่ที่หัวเข่า กายใจเข้าทางจมูก ให้ท้องป่องออก)
    • หายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ (ท้องแฟบเข้า) ให้ใช้มือทั้งสองข้างช้อนเข่ามากอดไว้
    • หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ (ท้องป่องออก) ให้เอามือทั้งข้าง กดหัวหัวเข่าลงให้มากที่สุด (ทำ 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 4
    • นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้าหลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือหงายขึ้น (ให้จิตอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือ หายใจเข้าทางจมูก ให้ท้องป่องออก)
    • ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ กำมือให้แน่น โดยให้นิ้วทั้ง 4 กำหัวแม่มือไว้
    • หายใจเข้าทางจมูกให้แบมือออก (ทำ 10 ครั้ง )
  • ท่าที่ 5
    • นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้าหลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างคว่ำลง (ให้จิตอยู่ที่ข้อมือ หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ ให้ท้องป่องออก)
    • ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ พร้อมกับคว่ำมือซ้ายลง กระดกมือขวาขึ้นข้อมืออยู่คู่กัน
    • หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ คว่ำมือขวาลง กรดกมือซ้ายขึ้นข้อมืออยู่คู่กัน (ทำ 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 6
    • นั่งขัดสมาธิ หลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างหงายขึ้น (ให้จิตอยู่ที่ข้อศอก หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ ให้ท่องป่องออก)
    • ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้า ๆ พร้อมกับยกมือขวาไปแตะด้านหลังให้ลึกที่สุด มือซ้ายเหยียดตรงอย่างเดิม
    • หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้า ๆ พร้อมกับยกมือซ้ายไปแตะด้านหลังให้ลึกที่สุด มือขวากลับมาเหยียดตรงอย่างเดิม (ทำ 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 7
    • นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือ 2 ข้างจับที่หัวไหล่ (ให้จิตอยู่ที่หัวไหล่ หายใจออกทางจมูกอย่างช้า ๆ ให้ท้องแฟบเข้า)
    • หายใจเข้าท้องป่องออกมือแตะที่หัวไหล่ หนีบข้อศอกลงแนบกับลำตัว
    • หายใจออกมือยังแตะที่หัวไหล่ ยกศอกขึ้นหลังมือแนบใบหู (ทำ 10 ครั้ง)
  • ท่าที่ 8
    • ต่อจากท่าที่ 7 มือแตะที่หัวไหล่ หมุนข้อศอกไปข้างหน้า 10 ครั้ง
    • มือแตะที่หัวไหล่ หมุนข้อศอกไปข้างหลัง 10 ครั้ง (ท่านี้หายใจปกติ)

Credit : กระปุกดอทคอม,th.wikipedia.org
เรียบเรียง : ruengdd.com,เรื่่องดีดี.com