ย้อนรอยสึนามิ(津波 tsunami)และวงแหวนแห่งไฟพร้อมประมวลเหตุการณ์แผ่นดินไหว8.6ริคเตอร์บนเกาะสุมาตราและรวมคลิปแผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย
สึนามิ
จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ถาโถมเข้าใส่นานาประเทศตั้งแต่ต้นปี 2554 ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 22 กุภาพันธ์ 2554 ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่คร่าชีวิตของประชากรถึง 200 ราย หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 ที่เขย่าพื้นที่มณฑลยูนนาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ศพ และบาดเจ็บอีก 174 คน และล่าสุดกรณีธรณีพิโรธที่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีความรุนแรงถึง 8.9 ริกเตอร์ และเกิดคลื่นสึนามิความสูง 10 เมตร เข้ากระหน่ำพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นหายนะครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ธรณีพิโรธ และคลื่นสึนามิที่ถูกซัดเข้าฝั่งของประเทศญี่ปุ่นมิได้พึ่งจะเคยเกิดขึ้น แต่เคยเกิดมาแล้วหลายครั้ง เพียงแต่เหตุการณ์เกิดสึนามิแต่ละครั้ง ระดับความรุนแรง และการสูญเสียจะแตกต่างกันออกไป ว่าแล้ววันนี้ เราจะมาย้อนดูกันว่า สึนามิ เกิดขึ้นได้อย่างไร และเหตุใดจึงมีอำนาจทำลายล้างมหาศาลยิ่งนัก
สึนามิ หรือ คลื่นสึนามิ (tsunami) คือ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มีลักษณะเป็นระลอกคลื่น ที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำในทะเลสาบหรือในท้องมหาสมุทรจำนวนมหาศาล เกิดการเคลื่อนย้ายถ่ายเทจากบริเวณหนึ่งสู่อีกบริเวณหนึ่งอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินเคลื่อนตัว ภูเขาไฟระเบิด หรือจากวัตถุนอกโลก เช่น ดาวหาง หรืออุกกาบาต ตกสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทรบนผิวโลก คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นนี้จะถาโถมเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วยความรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายอย่างที่ไม่อาจประเมินได้ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนที่อยู่อาศัยที่ต้องพังพินาศไป พร้อม ๆ กับมนุษย์จำนวนมากมายที่อาจได้รับบาดเจ็บและล้มตายไปด้วยฤทธิ์ของมหาพิบัติภัยที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
โดยก่อนที่จะเกิดคลื่นสึนามินั้น มักจะมีการส่งสัญญาณเตือนจากธรรมชาติมาสู่มนุษย์ ด้วยการเกิดแผ่นดินไหว หรือจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้ทะเล ที่เกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จนทำให้น้ำทะเลเกิดการเคลื่อนตัวตาม เพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเล มักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก
และแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดสึนามินั้น ก็ยังได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์โลกนี้ โดยเมื่อ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทย เมื่อเกิดคลื่นสึนามิครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถาโถมเข้าใส่ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า ทำให้มีประชาชนถูกคร่าชีวิตไปกว่า 220,000 คน
และล่าสุด ได้เกิดคลื่นสึนามิ สูงถึง 10 เมตร ซึ่งพัดเข้าถล่มญี่ปุ่นกินพื้นที่ถึง 10 กิโลเมตร ส่งผลบ้านเรือนประชาชน รถยนต์และรถบรรทุกจำนวนมากให้พื้นที่ จังหวัดมิยะงิ จังหวัดฟุกุชิมะ และเมืองเซ็นได ทำเอาบ้านเรือนประชาชน รถยนต์และรถบรรทุกจำนวนมากถูกคลื่นสึนามิพัดลงสู่ทะเล และสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นประสบภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะแผ่นดินไหว และสึนามินั้น เกิดจากญี่ปุ่นตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูเขาไฟ
อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว และการเกิดสึนามิในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็ยังมีอีกหลายประเทศที่ได้ประกาศเตือนภัย ทั้งเตรียมมาตรการรับมือผลกระทบจากการเกิดสึนามิ 2554 ดังนี้
ไต้หวัน : เกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็ก สูง 10 เซนติเมตร จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก
ฟิลิปปินส์ : เกิดสึนามิขนาดเล็ก สูง 10 เซนติเมตร ซัดเข้าชายฝั่ง และไม่มีรายงานความเสียหาย
อินโดนีเซีย : เกิดสึนามิขนาดเล็ก สูง 10 เซนติเมตร ที่บริเวณทางเหนือของเกาะสุลาเวสี และโมลุกกะ แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ออสเตรเลีย : แถบชายฝั่งไม่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ
นิวซีแลนด์ : แถบชายฝั่งไม่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ
โซนอเมริกา ทางการสหรัฐ ได้สั่งเฝ้าระวังการเกิดสึนามิ 3 สถานที่ด้วยกันคือ
เกาะฮาวาย : โดยเกิดสึนามิขึ้นที่เมืองโออาฮู ของฮาวาย ต่อเนื่อง 4 ครั้ง แต่ไม่รุนแรง
เมืองเครสเซนท์ : ทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย 2 ครั้ง สูงราว 3.7 ฟุต หรือ 1 เมตร
เม็กซิโก : เกิดสึนามิ สูงประมาณ 2.3 ฟุต ที่เมืองเอ็นเซ็นนาด้า
โซนประเทศอเมริกากลาง เป็นที่ถูกจับตาว่าจะเกิดสึนามิ ผู้นำประเทศต่าง ๆ สั่งเตรียมพร้อมรับมือสึนามิอย่างเต็มที่ ผู้นำของเอกกวาดอร์ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ และอพยพประชาชนขึ้นไปอยุ่บนที่สูง โดยเฉพาะที่เกาะกลาปากอส แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานความเสียหาย
เปรู : คาดกันว่าจะมีสึนามิลูกแรกพัดถล่มถล่มทางเหนือ ตอนกลาง และทางตอนใต้ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานความเสียหาย และได้อพยพคนเข้าไปในแผ่นดิน
ชิลี : ได้เพิ่มระดับการเตือนภัยสึนามิ และคาดว่าจะเกิดคลื่นขนาดใหญ่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานความเสียหาย
แม้ในครั้งนี้ จะมีประเทศญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียวที่ต้องเจอพิษร้ายของสึนามิ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ในครั้งต่อ ๆ ไปจะไม่มีประเทศใดที่ต้องเจอภัยธรรมชาตินี้อีก เพราะสึนามิเป็นภัยธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่อาจรู้ได้เลยว่า "สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว" นี้ จะเกิดขึ้นอีก ณ เวลาใด ดังนั้น หากไม่เตรียมพร้อมรับมือไว้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นอาจไม่สามารถตีค่าได้เลย
มาตรการป้องกันภัยจากคลื่นสึนามิ
1.เมื่อรู้สึกว่ามีการสั่นไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝั่ง ให้รีบออกจากบริเวณชายฝั่ง ไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางการ เนื่องจากคลื่นสึนามิเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
3.สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง
4.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก
5.คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้
6.ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7.หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
9.วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
10.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
13.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน
14.คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์
2.เมื่อได้รับฟังประกาศจากทางการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณทะเลอันดามัน ให้เตรียมรับสถานะการณ์ที่อาจจะเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้โดยด่วน
3.สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝั่งหากทะเลมีการลดระดับของน้ำลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงให้อยู่ห่างจากฝั่งมาก ๆ และอยู่ในที่ดอนหรือที่น้ำท่วมไม่ถึง
4.ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในท่าเรือหรืออ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เมื่อทราบว่าจะเกิดคลื่น สึนามิพัดเข้าหา เพราะคลื่นสึนามิที่อยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมีขนาดเล็ก
5.คลื่นสึนามิอาจเกิดขึ้นได้หลายระลอกจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งเดียว เนื่องจากมีการแกว่งไปมาของน้ำทะเล ดังนั้นควรรอซักระยะเวลาหนึ่งจึงสามารถลงไปชายหาดได้
6.ติดตามการเสนอข่าวของทางราชการอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
7.หากที่พักอาศัยอยู่ใกล้ชายหาด ควรจัดทำเขื่อน กำแพง ปลูกต้นไม้ วางวัสดุ ลดแรงปะทะของน้ำทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้มั่นคงแข็งแรงในบริเวณย่านที่มีความเสี่ยงภัยในเรื่องคลื่นสึนามิ
8.หลีกเลี่ยงการก่อสร้างใกล้ชายฝั่งในย่านที่มีความเสี่ยงภัยสูง
9.วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่นกำหนดสถานที่ในการอพยพ แหล่งสะสมน้ำสะอาด เป็นต้น
10.จัดวางผังเมืองให้เหมาะสม บริเวณแหล่งที่อาศัยควรมีระยะห่างจากชายฝั่ง
11.ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการป้องกันและบรรเทาภัยจากคลื่นสึนามิและแผ่นดินไหว
12.วางแผนล่วงหน้าหากเกิดสถานะการณ์ขึ้นจริง ในเรื่องการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดขั้นตอนในด้านการช่วยเหลือบรรเทาภัย ด้านสาธารณะสุข การรื้อถอนและฟื้นฟูสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
13.อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคลื่นสึนามิ เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะหลบหนีได้ทัน
14.คลื่นสึนามิในบริเวณหนึ่ง อาจมีขนาดเล็ก แต่อีกบริเวณหนึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ดังนั้นเมื่อได้ยินข่าวการเกิดคลื่นสึนามิขนาดเล็กในสถานที่หนึ่ง จงอย่าประมาทให้เตรียมพร้อมรับสถานะการณ์
แผ่นดินไหว8.9ริคเตอร์เกาะสุมาตราเตือนสึนามิวงกว้างทุกปท.ในมหาสมุทรอินเดีย
เตือนสึนามิวงกว้างทุกประเทศในมหาสมุทรอินเดีย
ธรณีพิโรธครั้งใหญ่บนเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนถึง 8.9 ริคเตอร์ “ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล” ได้รับแรงสั่นสะเทือนจนตึกไหว ประชาชนอพยพหนี “สึนามิ” ที่คาดว่าจะเกิดตามมา
ประกาศเตือนสึนามิถล่ม 3 จังหวัด กระบี่-พังงา-ภูเก็ต
วันพุธที่ 11 เมษายน 2555 เวลา 16:26 น.
ล่าสุด ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งเตือนผ่านเอสเอ็มเอส ว่าเกิดแผ่นดินไหวในทะเล8.9 ริกเตอร์บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ความลึก 10 กม. จึงขอแจ้งเตือนภัยเพื่ออพยพไปที่ปลอดภัยโดยเร็วและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมศูนย์
นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมพร้อมในการประกาศเตือนภัยแก่ประชาชน โดยล่าสุดรายงานว่า แรงสั่นสะเทือนวัดได้ 8.9 ริกเตอร์ และ8.6 ริกเตอร์ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมประกาศเตือนภัยสึนามิ อย่างไรก็ตาม จากการโทรศัพท์มือถือติดต่อประชาชนที่อยู่บริเวณภาคใต้พบว่า ไม่สามารถติดต่อได้ จึงอาจเป็นไปได้ว่าคลื่นสัญญาณอาจมีปัญหาจากเหตุแผ่นดินไหว
ล่าสุด ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ ได้ประกาศเตือนเกิดเหตุสึนามิในจังหวัดภูเก็ต เวลาประมาณ 16.48 น. ความสูงคลื่น 3-4 เมตร พังงา เวลาประมาณ 17.00 น.ความสูงคลื่น 3-4 เมตร กระบี่ เวลา 17.58 น. ความสูงคลื่น 1-2 เมตร
ขณะเดียวกัน ทางจังหวัดภูเก็ตได้แจ้งเตือนภัยให้อพยพประชาชนที่อยู่ใกล้ชายฝั่ง ริมชายหาด โดยมีรถของทางการวิ่งประกาศกระจายเสียงตามแผนที่ซักซ้อมไว้
ประมวลเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 8.9 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555
15.38 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 8.9 ริคเตอร์ บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ความลึก 10 กิโลเมตร แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ตรัง และสตูล รวมถึงกรุงเทพมหานคร
16.00 น. แรงสั่นสะเทือนในกรุงเทพมหานครที่รู้สึกได้ ได้แก่ ถนนพระราม 4, ถนนอโศก, ถนนสุขุมวิท, ถนนเพชรบุรี, ชิดลม และถนนวิทยุ
16.38 น. ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประกาศเตือน เวลา 16.50 น. สึนามิสูง 3-4 เมตร อาจถึงภูเก็ต 17.00 น. อาจถึงพังงา และ 17.58 อาจถึงกระบี่
16.47 น. สัญญาณเตือนภัยสึนามิที่ภูเก็ตดัง ประกาศเตือนภัยระดับ 5
17.43 น. เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 8.8 ริคเตอร์ ห่างจากจุดเดิมบริเวณตอนเหนือเกาะสุมาตรา 180 กิโลเมตร ห่างฝั่งอันดามัน 1022 กิโลเมตร
17.45 น. สถานการณ์ที่อินโดนีเซียเริ่มคลี่คลาย ไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ไม่มีสึนามิ ไร้คนเจ็บ-ตาย
18.00 น. ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุ สึนามิเข้าเกาะเมียง จ.พังงา แล้ว สูง 10 เซนติเมตร แต่ยังห่วงอาฟเตอร์ช็อค 6.6 ริกเตอร์ ยังต้องเฝ้าระวัง
18.10 น. ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุ ต้องเฝ้าระวังนับจากนี้อีก 2 ชั่วโมง เพราะมีอาฟเตอร์ช็อค
18.11 น. ศูนย์บริการข้อมูลแห่งชาติในมหาสมุทรของอินเดีย ประกาศเตือนภัยสีแดง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์ส
18.12 น. ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุ สถานการณ์อยู่ในข่ายเฝ้าระวัง เนื่องจากมีอาฟเตอร์ช็อคซ้ำลูกที่ 3 บริเวณเกาะสุมาตรา เมื่อ 17.45 น. ที่ผ่านมา
ศูนย์เตือนภัยฯ ประกาศยกเลิกเตือนสึนามิ 6 จังหวัดอันดามัน
ระยะเวลาที่คลื่นสึนามิที่จะเดินทางถึงประเทศต่าง ๆ
เกิดแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย 8.6 ริกเตอร์ สะเทือนไกลถึงภาคใต้ของไทย ปภ.สั่งอพยพ 6 จังหวัดอันดามัน ระนอง-กระบี่-สตูล-ตรัง-ภูเก็ต-พังงา หวั่นสึนามิถล่ม ขณะที่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้นอีก 8.2 ริกเตอร์
วันนี้ (11 เมษายน) ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 15.38 น.ที่ผ่านมา ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.6 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกราว 33 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่ง เมืองบันดาร์อาเจะห์ ของเกาะสุมาตรา ราว 434 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้หลายจังหวัด ทั้งนครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา ตรัง ยะลา สงขลา สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนนี้ได้ ต่างพากันตื่นตกใจกับเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับคนที่อยู่บนตึกสูงในกรุงเทพมหานครก็สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้เช่นกัน
ขณะที่ศูนย์เตือนภัยแปซิฟิกออกประกาศเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิไปทั่ว มหาสมุทรอินเดีย โดยในหลาย ๆ ประเทศได้มีการแจ้งเตือนภัยสึนามิ และเตรียมอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ประเทศบริเวณรอบมหาสมุทรอินเดียแล้ว เนื่องจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นมีความรุนแรง และจุดศูนย์กลางใกล้เคียงกับเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2547
ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่า จังหวัดภูเก็ตได้ประกาศยกระดับการเตือนภัยสึนามิ จากระดับ 2 เป็นระดับ 5 แล้ว โดยประกาศอพยพประชาชนไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย โดยพบว่า ขณะนี้ระดับน้ำทะเลบริเวณหาดป่าตองเริ่มลดระดับลงแล้ว ทำให้นักท่องเที่ยวเร่งอพยพกันอย่างจ้าละหวั่น
นอกจากนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประกาศให้ 6 จังหวัดอันดามัน ได้แก่ จ.ระนอง, พังงา, ภูเก็ต, สตูล, กระบี่ และตรัง อพยพประชาชนด่วน ขณะที่กระทรวงไอซีทีประกาศให้พื้นที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ว โดยขณะนี้ โทรศัพท์ไม่สามารถใช้การได้
ด้าน ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยกับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น โดยเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ทางภาคใต้ ประกอบด้วย ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ตรัง และสตูล เฝ้าระวังเหตุสึนามิ ซึ่งคาดว่าจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และอาจพัดเข้าไทยในช่วงเย็นของวันนี้ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีความสูงประมาณกี่เมตร แต่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเหตุแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ บริเวณเหนือเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ด้านมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งถือว่าค่อนข้างแรง จึงขอให้ประชาชนเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ขณะที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการวิทยาศาสตร์ทางทะเล เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอยู่ไกลจากเกาะสุมาตรา ดังนั้น หากมีคลื่นจะกระทบเกาะบางส่วน แต่หากคลื่นอ้อมมาถึงจังหวัดภูเก็ต ก็ไม่น่าจะรุนแรง
ส่วนสำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้รับรู้ถึงประเทศไทย สิงคโปร์ ศรีลังกา อินเดีย ออสเตรเลีย เกาะมัลดีฟส์ และรอยเตอร์ส คาดว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิสูงราว 6 เมตร เข้าซัดชายฝั่ง เมืองบันดาร์อาเจะห์ ของเกาะสุมาตรา
ต่อมา เมื่อเวลาประมาณ 17.43 น. ศูนย์ธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 8.2 ริกเตอร์ ขึ้น นอกชายฝั่งทางเหนือของเกาะสุมาตรา
ล่าสุด เมื่อเวลา 19.45 น. ศูนย์เฝ้าระวังสึนามิแปซิฟิก ประกาศลดพื้นที่เฝ้าระวังเหลือ 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟ และสหราชอาณาจักร
ศูนย์เตือนภัยพิบัติ แจ้งเตือนชายฝั่งระวังสึนามิ
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 1/55 แจ้งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 เวลา 15.38 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 8.6 ริกเตอร์ ห่างจากฝั่งทะเลอันดามันของไทย 860 กิโลเมตร โดยจากการประเมินสถานการณ์คาดว่ามีโอกาสจะเกิดคลื่นสึนามิ และ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งเตือนหากมีสึนามิเข้าไทยจริง คาดเวลาที่จะถึงชายฝั่งประเทศไทยในพื้นที่ จ.ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง สตูล และ ตรัง ตามเวลาดังนี้
จังหวัดระนอง บ้านทะเลนอก เวลา 19.09 น. หาดประพาส 19.09 น. แหลมพ่อตา 19.35 น. ปากน้ำระนอง 19.09 น. หาดบางเบน 19.25 น.
จังหวัดพังงา เกาะเมียง 17.09 น. ท้ายเหมือง 18.22 น. ทับละมุ 18.20 น. เกาะคอเขา 18.27 น. เกาะพระทอง 18.36 น. คุระบุรี 18.45 น. บ้านน้ำเค็ม 18.41 น. เขาหลัก 18.46 น. แหลมปะการัง 18.46 น.
จังหวัดภูเก็ต หาดกะรน 17.39 น. หาดป่าตอง 17.39 น. บ้านท่าฉัตรไชน 17.56 น. ไนยาง 17.53 น. บางเทา 17.45 น.
จังหวัดกระบี่ หาดนพรัตน์ธารา 18.49 น. เกาะพีพี 18.33 น. เกาะลันตา 18.36 น. ปากน้ำกระบี่ 20.08 น.
จังหวัดตรัง หาดเจ้าไหม 18.36 น. กันตัง 20.38 น. หาดสำราญ 20.38 น. ปะเหลียน 19.23 น.
จังหวัดสตูล เกาะตะรุเตา 19.13 น. บ้านตำมะลัง 21.14 น.
ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ประกาศเวลา 20.03 น. ขณะนี้สถานการณ์ในไทยเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
คลิป แผ่นดินไหวที่จังหวัดภูเก็ต
วงแหวนแห่งไฟ หายนะแห่งภัยธรรมชาติ
วงแหวนแห่งไฟ
วันนี้ (11 เมษายน 2555) เกิดแผ่นดินไหววัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.7 ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกราว 33 กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเมืองบันดาร์อาเจะห์ ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ราว 434 กิโลเมตร โดยจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ทำให้ 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย ทั้ง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา ตรัง ยะลา สงขลา สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนนี้ได้ ต่างพากันตื่นตกใจกับเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น และศูนย์เตือนภัยแปซิฟิกประกาศเตือนสึนามิแล้ว
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ดังกล่าว ประกอบกับเคยเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้วันนี้ทีมงานกระปุกดอทคอม ขอหยิบยกเอาเรื่องเกี่ยวกับ"วงแหวนแห่งไฟ" ขึ้นมาให้อ่านอีกครั้ง และยิ่งได้ทราบข้อมูลว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวกว่า 90% ทั่วโลก เกิดใน "วงแหวนแห่งไฟ"
สึนามิ ญี่ปุ่น
วงแหวนแห่งไฟ
สำหรับ "วงแหวนแห่งไฟ" หรือที่เรียกว่า "Pacific Ring of Fire" หรือ "The Ring of fire" นั้น หมายถึงบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า มีความยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร วางตัวพาดผ่านแนวร่องมหาสมุทร แนวภูเขาไฟ และขอบแผ่นเปลือกโลก ไล่ไปตั้งแต่ทวีปออสเตรเลีย ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และทวีปอเมริกาใต้ มีประเทศที่อยู่ในพื้นที่ "วงแหวนแห่งไฟ" ทั้งหมด 31 ประเทศ ได้แก่
เบลีซ
โบลิเวีย
บราซิล
แคนาดา
โคลัมเบีย
ชิลี
คอสตาริกา
เอกวาดอร์
ติมอร์ตะวันออก
เอลซัลวาดอร์
ไมโครนีเซีย
ฟิจิ
กัวเตมาลา
ฮอนดูรัส
อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น
คิริบาตี
เม็กซิโก
นิวซีแลนด์
นิการากัว
ปาเลา
ปาปัวนิวกินี
ปานามา
เปรู
ฟิลิปปินส์
รัสเซีย
ซามัว
หมู่เกาะโซโลมอน
ตองกา
ตูวาลู
สหรัฐอเมริกา
การกำเนิดของ "วงแหวนแห่งไฟ" นั้น สืบเนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่มาชนกัน และมุดตัวซ้อนกันในแต่ละทวีปเมื่อหลายล้านปีก่อน คือ
- แผ่นนาซคา ชนกับแผ่นอเมริกาใต้ กลายเป็นเทือกเขาแอนดีส และทำให้เกิดภูเขาไฟหลายแห่ง เช่น ภูเขาไฟโกโตปักซี ประเทศเอกวาดอร์
- แผ่นโคคอสในอเมริกากลาง ชนกับแผ่นอเมริกาเหนือ
- แผ่นฮวนดีฟูกา และแผ่นกอร์ดามุดตัวลงในแผ่นอเมริกาเหนือ และบริติช โคลัมเบีย บริเวณเกิดภูเขาไฟเซนต์ เฮเลนส์ ในสหรัฐอเมริกา และครั้งล่าสุดระเบิดไปเมื่อปี ค.ศ.1980
- ทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น บริเวณนี้จึงเกิดภูเขาไฟฟูจิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
- ทางตอนใต้มีแผ่นเปลือกโลก ขนาดเล็กมากมายติดกับแผ่นแปซิฟิก ทำให้เกิดภูเขาไฟทั้งในนิวกินี ไมโครนีเซียน
นอกจากนี้ "วงแหวนแห่งไฟ" ยังมีแนวต่อไปยังแนวอัลไพน์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหวด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นจากเกาะชวา และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย โดยการชนและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกนี้เอง ทำให้บริเวณ "วงแหวนแห่งไฟ" นี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก คิดเป็น 90% ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในโลก และยังคิดเป็น 80% ของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นด้วย ดังเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองไครส์เชิร์ต ประเทศนิวซีแลนด์ ตามมาด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ล้วนเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแนว "วงแหวนแห่งไฟ" เช่นเดียวกัน
เบลีซ
โบลิเวีย
บราซิล
แคนาดา
โคลัมเบีย
ชิลี
คอสตาริกา
เอกวาดอร์
ติมอร์ตะวันออก
เอลซัลวาดอร์
ไมโครนีเซีย
ฟิจิ
กัวเตมาลา
ฮอนดูรัส
อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น
คิริบาตี
เม็กซิโก
นิวซีแลนด์
นิการากัว
ปาเลา
ปาปัวนิวกินี
ปานามา
เปรู
ฟิลิปปินส์
รัสเซีย
ซามัว
หมู่เกาะโซโลมอน
ตองกา
ตูวาลู
สหรัฐอเมริกา
การกำเนิดของ "วงแหวนแห่งไฟ" นั้น สืบเนื่องมาจากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่มาชนกัน และมุดตัวซ้อนกันในแต่ละทวีปเมื่อหลายล้านปีก่อน คือ
- แผ่นนาซคา ชนกับแผ่นอเมริกาใต้ กลายเป็นเทือกเขาแอนดีส และทำให้เกิดภูเขาไฟหลายแห่ง เช่น ภูเขาไฟโกโตปักซี ประเทศเอกวาดอร์
- แผ่นโคคอสในอเมริกากลาง ชนกับแผ่นอเมริกาเหนือ
- แผ่นฮวนดีฟูกา และแผ่นกอร์ดามุดตัวลงในแผ่นอเมริกาเหนือ และบริติช โคลัมเบีย บริเวณเกิดภูเขาไฟเซนต์ เฮเลนส์ ในสหรัฐอเมริกา และครั้งล่าสุดระเบิดไปเมื่อปี ค.ศ.1980
- ทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น บริเวณนี้จึงเกิดภูเขาไฟฟูจิที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
- ทางตอนใต้มีแผ่นเปลือกโลก ขนาดเล็กมากมายติดกับแผ่นแปซิฟิก ทำให้เกิดภูเขาไฟทั้งในนิวกินี ไมโครนีเซียน
นอกจากนี้ "วงแหวนแห่งไฟ" ยังมีแนวต่อไปยังแนวอัลไพน์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหวด้วย โดยมีจุดเริ่มต้นจากเกาะชวา และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย โดยการชนและมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกนี้เอง ทำให้บริเวณ "วงแหวนแห่งไฟ" นี้เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดในโลก คิดเป็น 90% ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในโลก และยังคิดเป็น 80% ของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นด้วย ดังเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองไครส์เชิร์ต ประเทศนิวซีแลนด์ ตามมาด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ล้วนเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแนว "วงแหวนแห่งไฟ" เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดอันดับต้น ๆ ของโลก ก็จะพบว่า ล้วนเกิดในบริเวณ "วงแหวนแห่งไฟ" แทบทั้งสิ้น โดยเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในโลก 5 อันดับแรกได้แก่
อันดับที่ 1 : 22 พฤษภาคม ค.ศ.1960 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.5 ริกเตอร์ ที่เมือง Valdivia ประเทศชิลี
อันดับที่ 2 : 27 มีนาคม ค.ศ.1964 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ที่อลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา
อันดับที่ 3 : 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งครั้งนี้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระทบมายังประเทศไทย จนมีผู้เสียชีวิตหลายพันคนในประเทศไทย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตจากประเทศที่ได้รับผลกระทบรวมกว่า 230,000 คน
อันดับที่ 4 : 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1952 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ที่ KamChatka ประเทศรัสเซีย
อันดับที่ 5 : 11 มีนาคม ค.ศ.2011 เกิดแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ ที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นเสียหายเป็นจำนวนมาก
อันดับที่ 1 : 22 พฤษภาคม ค.ศ.1960 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.5 ริกเตอร์ ที่เมือง Valdivia ประเทศชิลี
อันดับที่ 2 : 27 มีนาคม ค.ศ.1964 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ที่อลาสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา
อันดับที่ 3 : 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์ ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งครั้งนี้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิกระทบมายังประเทศไทย จนมีผู้เสียชีวิตหลายพันคนในประเทศไทย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตจากประเทศที่ได้รับผลกระทบรวมกว่า 230,000 คน
อันดับที่ 4 : 4 พฤศจิกายน ค.ศ.1952 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ที่ KamChatka ประเทศรัสเซีย
อันดับที่ 5 : 11 มีนาคม ค.ศ.2011 เกิดแผ่นดินไหว 8.9 ริกเตอร์ ที่เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่พัดถล่มประเทศญี่ปุ่นเสียหายเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน นอกจาก "วงแหวนแห่งไฟ" จะเป็นแนวที่เกิดแผ่นดินไหวจำนวนมากแล้ว ยังเป็นแนวของ "ภูเขาไฟ" ด้วย โดยบริเวณนี้มี "ภูเขาไฟ" ตั้งอยู่ถึง 452 ลูก และคิดเป็น 75% ของภูเขาไฟทั่วโลกที่ยังคุกรุ่นอยู่ โดยภูเขาไฟที่ตั้งอยู่แนวนี้และมีชื่อเสียง เช่น ภูเขาไฟฟูจิ ประเทศญี่ปุ่น , ภูเขาไฟวิลลาร์ริกา ประเทศชิลี , ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ,ภูเขาไฟพินาตูโบ ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์ รวมทั้งภูเขาไฟเมราปี ในประเทศอินโดนีเซียด้วย
และนี่ก็คือเรื่องราวของ "วงแหวนแห่งไฟ" หรือ "Ring of Fire" ที่เคยสร้างภัยพิบัติให้มนุษย์โลกมาแล้วหลายต่อหลายครา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังทรงพลังที่จะสร้างความหายนะจากภัยธรรมชาติให้กับมนุษย์ต่อไปอีกเรื่อย ๆ
รวมคลิปแผ่นดินไหวในอินโดนีเซีย
นับว่าเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกตกใจไปหลายประเทศในแถบเอเชียเลยทีเดียว สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวใต้ทะเลลึก ขนาด 8.6 ริกเตอร์ ที่นอกชายฝั่งเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียเมื่อวานนี้ (11 เมษายน) ส่งผลให้ผู้คนในหลายพื้นที่ในเอเชีย รวมถึงไทย สามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในครั้งนี้ได้ และเกิดความแตกตื่นโกลาหลไปทั่วเลยทีเดียว
แต่พื้นที่ที่วุ่นวายโกลาหลมากที่สุด เห็นจะไม่พ้นพื้นที่ในเขต จ.อาเจะห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ที่ผู้คนบริเวณนี้รับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจนที่สุด และต่างพากันอพยพกันโกลาหล เนื่องจากเกิดความวิตกกังวลว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์ระลอกใหญ่ เช่นเดียวกับคลื่นยักษ์ที่โถมซัดชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีก่อน ซ้ำหลังจากเกิดแผ่นดินไหวแล้ว ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง ยิ่งทำให้ผู้คนต่างผวา ไม่เป็นอันทำอะไรกันเลย จนในที่สุด นับว่าเป็นเรื่องโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ที่เหตุการณ์ทุกอย่างสิ้นสุดลงโดยปราศจากรายงานการเสียชีวิตหรือความเสียหายร้ายแรงใด ๆ แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ประเด็นเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้ก็ยังคงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก วันนี้ กระปุกดอทคอมจึงขอรวบรวมคลิปข่าวที่เผยภาพบรรยากาศความวุ่นวายในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหวนอกชายฝั่งเกาะสุมาตรามาฝากกัน
Indonesia earthquake: Tsunami warning triggers panic
First video: Moment of Indonesia earthquake
Indonesia Earthquake Causes Tsunami FEARS
Indonesia Quake Injured Treated
Indonesia earthquake
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Credit : กระปุกดอทคอม,เดลินิวส์
เรียบเรียงข้อมูลโดย ruengdd.com,เรื่องดีดี.com
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์ , usgs.gov , noaa.gov , volcano.si.edu, youtube.com โพสต์โดย WEWSTV
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์ , usgs.gov , noaa.gov , volcano.si.edu, youtube.com โพสต์โดย WEWSTV
Post a Comment