จา พนม(TONY JAA) ประกาศแต่งงาน น้องบุ้งกี๋ 3 พ.ค.นี้


จา พนม ร่อนการ์ดแต่งงานกับน้องบุ้งกี๋ แฟนสาวนอกวงการ ทายาทเจ้าของโรงแรมดาร์กอน จ.ระยอง วันที่ 3 พ.ค. นี้ เสี่ยเจียงเป็นประธานในพิธี
เตรียมตัวสละโสดอีกราย สำหรับนักแสดงชื่อดัง จา พนม หรือโทนี่ จา ประกาศแต่งงานกับแฟนสาวนอกวงการ น้องบุ้งกี๋ น.ส.ปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ วัย 22 ปี ทายาทเจ้าของโรงแรมดาร์กอน เมืองระยอง จ.ระยอง ที่คบหาดูใจกันมาเกือบ 5  ปี ที่หอประชุมกองทัพเรือ อาคารชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ห้องเจ้าพระยา ในวันพฤหัสบดีที่ 3 พ.ค. เวลา 18.18 น. โดยมีนายสมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ประธานบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด เป็นประธานในพิธี
ทั้งนี้ กองถ่ายภาพยนตร์ต้มยำกุ้งที่ถ่ายทำไปแล้วกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ต้องพักกองถ่ายไปตั้งแต่เมื่อวานเพื่อให้ จา พนม ได้เตรียมตัวเข้าพิธีวิวาห์
ทัชชกร ยีรัมย์[1] มีชื่อโดยกำเนิดว่า วรวิทย์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พนม (นามสกุลเดิม)[2] เกิดวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ที่อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เริ่มเข้าสู่วงการแสดง พ.ศ. 2535 และเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงภาพยนตร์สังกัดค่ายสหมงคลฟิล์มเมื่อ พ.ศ. 2546[3] โดยใช้และเป็นต้นแบบคติในการแสดง คือ แสดงจริง, ไม่ใช้สตันท์แมน และไม่ใช้เทคนิคพิเศษในการแสดงคิวต่อสู้[4] เขาใช้ชื่อในการแสดงเฉพาะในประเทศไทยว่า "จา พนม" และใช้ชื่อในการแสดงระดับสากลว่า โทนี่ จา (Tony Jaa) ซึ่งเป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ็คชั่น ผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก ซึ่งมีความชำนาญในศิลปะการต่อสู้, การใช้อาวุธ, กีฬา และการออกกำลังกายหลากหลายศาสตร์
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 วรวิทย์ ยีรัมย์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พนม" ด้วยเหตุผลทางการแสดง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ทัชชกร"[1] ด้วยความเชื่อพื้นบ้าน เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ภาพยนตร์เรื่องสำคัญเรื่องแรกที่เขาแสดงนำคือ องค์บาก ซึ่งได้รับการชื่นชมและสนใจจากบุคคล บริษัท ฯลฯ ที่เกี่ยวกับวงการศิลปะการต่อสู้และภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและระดับโลกเป็นอย่างมาก[5][6][7] นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของเขาที่ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์แอ๊กชันระดับโลก ซึ่งต่อมาภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้งก็ได้ประสบความสำเร็จในระดับโลกสูง และได้รับการตอบรับจากทั่วโลกเช่นเดียวกับองค์บาก[8][9]
เขายังเป็นบุคคลตัวอย่างด้านอนุรักษณ์ศิลประวัฒนธรรมไทยประจำภาค ทำให้ได้รางวัลศิลปินมรดกประจำภาคอีสานของประเทศไทย และยังสามารถสื่อสารได้หลากหลายภาษาเช่น ภาษาไทย,ภาษาไทยถิ่นอีสาน, และภาษาเขมร เป็นต้น
ต่อมาได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไอยราฟิล์ม (บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์) และเป็นรองผู้บริหารใหญ่ บริษัทเครือบั้งไฟตระกูลวงษ์คำเหลา จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทของ เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) และได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์แนวแอ๊คชั่นหลายเรื่อง

ครอบครัว

ภาพถ่ายของวรวิทย์ ยีรัมย์ (คนที่ 2 จากซ้าย) ถ่ายร่วมกับพี่น้องสมัยยังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาล
ทัชชกร ยีรัมย์ มีบิดาชื่อ ทองดี ยีรัมย์ มารดาชื่อ รินทร์ ทรายเพชร [10] โดยมารดาเป็นชาวอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ย้านถิ่นฐานมากับครอบครัวโดยสงค์ ทรายเพชร ในยุคบุกเบิกนิคม มาอยู่ติดชายแดนเขมร คือ อำเภอพนมดงรักปัจจุบัน และวันหนึ่งทองดี ยีรัมย์ เดิมเป็นชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหัวหน้าทีมค้าขายไม้ ได้พาคณะช้างเดินทางขนไม้ จากฝั่งเขมรข้ามมายังไทย ฝ่ายหมู่บ้านโคกสูง จึงพบกับรินทร์ ทรายเพชร ทั้งคู่ได้รักกัน จึงแต่งงานกันและลงหลักปักฐานที่บ้านโคกสูง จังหวัดสุรินทร์ และมีลูกด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นชายสองคนและหญิงสองคน (ซึ่งหลังจากที่ทัชชกรได้ประสบความสำเร็จในอาชีพการแสดง ทองดี ยีรัมย์ ผู้เป็นบิดาก็ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นพ่อตัวอย่างแห่งปี จากโครงการพ่อตัวอย่างเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันพ่อแห่งชาติประจำปี 2548) [11]
ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นบุตรคนที่สามในบรรดาพี่น้องสี่คน มีชื่อพี่น้อง ดังนี้
  1. ทวีศักดิ์ ยีรัมย์
  2. หัทยา ยีรัมย์
  3. แวว ยีรัมย์

[แก้]การศึกษา

  • ประถมศึกษา - โรงเรียนบ้านอำปีล จังหวัดสุรินทร์
  • มัธยมศึกษาตอนต้น - โรงเรียนโคกกลางวิทยา จังหวัดสุรินทร์
  • มัธยมศึกษาตอนปลาย - โรงเรียนประสาทวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์
  • อุดมศึกษา - สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

[แก้]ชีวิตวัยเด็ก

ทัชชกร ยีรัมย์ เกิดมาในครอบครัวชนบทที่ยากจน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวกูยโบราณ ชนเผ่าซึ่งเคร่งครัดในศาสนาพุทธ[13] ครอบครัวประกอบอาชีพหลายอย่างทั้งทำนา เลี้ยงช้าง, ปลูกผัก[14] ตามวัฒนธรรมของชาวกูย เขามีพรสวรรค์ทางด้าน กระโดดสูง, กระโดดไกล และการสปริงข้อเท้ามาตั้งแต่เกิด ในวัยเด็กเขาชอบดูภาพยนตร์กลางแปลง มีความชื่นชอบการแสดงของเฉินหลงเจ็ท ลี และพันนา ฤทธิไกร[15] ทัชชกรมีความใฝ่ฝันที่จะได้แสดงภาพยนตร์แอ็คชัน รักในการสร้างภาพยนตร์และพากย์ภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็ก
เขาได้เริ่มฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 10 ขวบ [16] โดยชอบและสังเกตศิลปะการต่อสู้ของเจ็ทลี เฉินหลง และบรูซ ลี และนำมาปฏิบัติตาม[17]ในวัยเด็กนั้นทัชชกรก็เช่นเดียวกับเด็กผู้ชายชนบททั่วไป ที่มีความซุกซน เขาชอบเล่นศิลปะการต่อสู้กับเพื่อน ๆ และชอบที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่ม จนทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ตั้งสมญานามให้เขาว่า "จ่า" ซึ่งแปลว่าหัวหน้าทีมและคนเลี้ยงช้าง และเรียกแทนชื่อจริงของเขาเสมอ ซึ่งต่อมาจากคำว่าจ่าก็เพี้ยนมากลายเป็น "จา" นับตั้งแต่วันนั้นเขาจึงได้ชื่อเล่นว่า จา จนทุกวันนี้
เด็กชายทัชชกรมีความสนใจในศิลปะการต่อสู้อย่างมากและมักจะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ตามป่า กลางทุ่ง ลำธาร เขาชื่นชอบที่จะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้เวลากลางคืน หากคืนไหนเป็นคืนเดือนเพ็ญเขาจะชอบฝึกเป็นพิเศษ และด้วยเหตุที่ทัชชกรเกิดในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้คนมีอาชีพเลี้ยงช้างเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเขาจึงมีความรัก ความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่เกิด เขาจึงชอบฝึกศิลปะการต่อสู้บนหลังช้าง บางครั้งเขาก็ฝึกหนักจนลืมทานข้าวและไม่กลับบ้าน และด้วยความที่เขามีพรสวรรค์ทางด้านสปริงขอเท้า จึงทำให้เขาสนใจที่จะฝึกฝนทักษะและเล่นกรีฑาและกีฬาหลากหลายประเภท

[แก้]ชีวิตในกองถ่ายภาพยนตร์

ทัชชกร ยีรัมย์ (ขวา) และพันนา ฤทธิไกร อาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้
เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขาได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง เกิดมาลุย ที่แสดงโดยพันนา ฤทธิไกร (ครูสอนศิลปะการต่อสู้, นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์) เขาได้ขอร้องให้พ่อพาไปหาพันนาที่จังหวัดขอนแก่นเพื่อจะขอให้พันนารับเขาไว้เป็นนักแสดงแอ็กชัน ขณะนั้นพันนากำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ปีนเกลียว ภาค 1 ครั้งแรกที่พันนาเห็นเขา คิดว่าทัชชกรนั้นยังอายุน้อยเกินไปที่จะเรียนศิลปะการต่อสู้อย่างจริงจัง จึงขอให้ทัชชกรกลับไปศึกษาให้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อน แต่ยังอนุญาตให้ทัชชกรมาฝึกประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ได้ช่วงปิดภาคเรียน[18]
เมื่อถึงช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน หรือช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ทัชชกรมักเดินทางมาฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ สตันท์ และการเต้น กับสตันท์แมนในกองถ่ายภาพยนตร์ แต่ทัชชกรกลับไม่ได้รับความคาดหวังจากพันนามากนัก และบางครั้งเมื่อมีโอกาสดีที่พอจะได้พบกับพันนาเป็นเวลานาน ๆ ทัชชกรก็มักฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้กับพันนาเสมอ ซึ่งพันนาก็ได้ยอมรับในความสามารถของเขา และได้ดูแลเปลี่ยนบุคลิกใหม่ให้เขาดูดีขึ้น ดังนั้นเขาจึงให้ความนับถือพันนา และปฏิบัติตามทุกอย่างที่พันนากล่าวหรือขอร้องให้เขาปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ [18]
ต่อมาเขาได้เริ่มเข้าวงการครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี [19] โดยเป็นคนเสิร์ฟน้ำ, ตัวประกอบ, ยกของ, ทำอาหาร ฯลฯ ในกองถ่ายภาพยนตร์ พร้อม ๆ กับฝึกฝนศิลปะการต่อสู้กับสตันท์แมน และในเวลาต่อมาเขาได้เรียนวิชามวยไทยโบราณและมวยกังฟูหวิงชุน ของจีนจากรัฐพล [20] ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกของทัชชกร จากจังหวัดสุรินทร์ และหลังจากนั้นก็ได้ร่วมงานกับพันนา ฤทธิไกร และทัชชกรก็ได้เริ่มเป็นนักแสดงแทนในบทผาดโผน และเป็นนักแสดงนำของภาพยนตร์หลายเรื่อง[ต้องการอ้างอิง]

[แก้]การเปลี่ยนผันทางบทบาทการแสดง

พ.ศ.2540 เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาต้องพักการเรียนและเริ่มทำแนวคิดภาพยนตร์เรื่อง คนสารพัดพิษ ร่วมกับพันนา เพื่อนำเสนอขอทุนจากปรัชญา ปิ่นแก้ว โดยทัชชกรรับบทบาทเป็นนักแสดงนำ ซึ่งเขาได้ฝึกฝนจากการจดจำศิลปะการต่อสู้ของนักแสดงภาพยนตร์ที่เขาชื่นชอบมาใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ รวมถึงฝึกฝนเพิ่มเติมจากอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้หลายคน และร่วมกันระดมทุนและนักแสดงรอบข้างมาเป็นส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เมื่อถ่ายทำเสร็จภาพยนตร์กลับถูกล้มเลิกเพราะฟิล์มเสียหายทั้งหมด ทั้งคู่จึงต้องร่วมระดมทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องเดิมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จึงประสบความสำเร็จ ทั้งคู่จึงนำแนวคิดภาพยนตร์ดังกล่าวเสนอต่อปรัชญา ปิ่นแก้ว และได้ถูกถ่ายทำออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่ององค์บากในที่สุด[21]

[แก้]ประสบความสำเร็จในอาชีพ

พ.ศ. 2546 ผลงานเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จคือภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก ซึ่งทำรายได้เฉพาะในประเทศไทย 200 ล้านบาท[22] ติดบ็อกซ์ออฟฟิซอันดับ 1 หลายประเทศในทวีปเอเชียทวีปอเมริกา, และทวีปยุโรป รวมถึงบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด ทำให้เขาได้รับความสนใจจากบริษัทโกลเด้นฮาร์เวสท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างให้บรูซ ลีมีชื่อเสียง ได้ทาบทามให้มาร่วมงานด้วย[7] ส่งผลให้เขากลายเป็นนักแสดงไทยที่ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล และมีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ในวงการแสดงระดับโลก[23]
พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ก็สามารถติดบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด อันดับ 4[24] ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงถึง 1,000 ล้านบาท [9]

[แก้]กีฬา

ทัชชกร ยีรัมย์ หรือ Tony Jaa (คนที่ 2 นับจากขวามือ) เป็นตัวแทนวิทยากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคามเผยแพร่ศิลปะการใช้กระบี่กระบองที่ประเทศจีน
ด้วยความที่ทัชชกรมีกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีกว่าคนปกติมาตั้งแต่กำเนิด[ต้องการอ้างอิง] ทำให้เขามีความสนใจด้านกีฬาหลากหลายชนิด เมื่อสมัยยังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เขาก็ได้เป็นนักกีฬาและกรีฑาที่มีความสามารถเล่นได้หลากหลายประเภท และมีผลงานโดดเด่นเสมอมา จนได้ถูกแต่งตั้งเป็นนักกีฬาดีเด่นของโรงเรียนและเป็นประธานชมรมกระบี่กระบองในขณะเดียวกัน ความสามารถด้านกรีฑา เช่น กระโดดสูง ,กระโดดไกล ,ยิมนาสติก ฯลฯ ด้านกีฬาประเภทอาวุธ เช่น กระบี่กระบอง และกีฬาประเภททีมเช่นตะกร้อด้วย ซึ่งได้รับเหรียญทองทั้งกรีฑาและกีฬาทุกประเภททุกปีที่ลงแข่งขัน[25] จนได้โควต้าไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเขาได้เข้าเรียนต่อด้านกีฬาที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ตามคำแนะนำของพันนา ฤทธิไกร[7] ด้วยความสามารถโดดเด่นด้านกีฬา เขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมกระบี่กระบองอีกครั้ง[26] และได้รู้จักกับ ชูพงษ์ ช่างปรุง นักศึกษาที่เรียนอยู่สถาบันเดียวกัน ซึ่งทั้งสองมีความชื่นชอบในศิลปะการต่อสู้เหมือนกันจึงคบกันเป็นเพื่อนสนิท และได้เข้าชมรมกระบี่-กระบอง ร่วมกัน โดยทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งทีมสตันท์รับงานตามสถานที่ต่าง ๆ[27]
ระหว่างที่เป็นประธานชมรมกระบี่กระบอง ทัชชกร ยีรัมย์ก็มีผลงานดังนี้
ทัชชกร ยีรัมย์ ในบทหนุมานยินดีเป็นตัวแทนในการจุดคบเพลิงพิธีเปิดมหกรรมกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552 ประเทศไทย
  • วิทยากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปะป้องกันตัว ที่โรงเรียนมัธยมต่าง ๆ ในประเทศไทย
  • ตัวแทนสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปการต่อสู้ของไทย ในภาคอีสาน
  • ตัวแทนประเทศไทยและสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ (กระบี่กระบอง) ที่ประเทศจีน

[แก้]ส่วนร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา

พ.ศ. 2552
เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 โดยทัชชกรรับบทเป็น "หนุมานยินดี" (ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เทพกึ่งสัตว์ประจำการแข่งขันฯ) จุดคบเพลิงในพิธีเปิดแบบพื้นฐาน โดยเขาได้แสดงศิลปะการต่อสู้แบบหนุมานและแสดงศิลปะการควงกระบองไฟ ถวายต่อพระพักตร์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ[28]
พ.ศ. 2553
ทัชชกร ยีรัมย์ ก็ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิด เมืองช้างเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่จังหวัดสุรินทร์ โดยแสดงเป็นองค์อัมรินทร์ (พระอินทร์) ประทับช้างเอราวัณ มีผู้แสดงเป็นเทพธิดา 95 องค์ และเทวดา 9 องค์เสด็จตาม

[แก้]สตันท์แมน

ทัชชกร ยีรัมย์ สตันท์แมนและนักแสดงชาวไทย ถ่ายแบบลงปกนิตยสาร inside kung-fu นิตยสารของประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำปี 2007
ระหว่างที่เขาศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน ทัชชกรได้เข้าไปประกอบอาชีพเสริมและหาประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ และได้เริ่มแสดงเป็นตัวประกอบและสตันท์แมนในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ :
  • สิงห์สยาม - ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เขาได้แสดงครั้งแรกในชีวิตโดยแสดงเป็นตัวประกอบ ซึ่งเป็นฉากที่ต้องตีลังกาผ่านฉากอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้เห็นใบหน้า
  • กวนโอ๊ย - ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เช่นกัน โดยแสดงเป็นตัวประกอบในฉากที่ต้องกระโดดตีลังกายิมนาสติกซิกแซก ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญมาก่อนแล้ว ดังนั้นเขาจึงตั้งใจแสดงฉากนั้นอย่างเต็มที่ โดยแสดงร่วมกับเพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ จ๊กมก) ซึ่งขณะนั้นได้ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเดียวกัน หลังจากนั้นก็มีภาพยนตร์ต่าง ๆ ติดต่อเข้ามาให้ไปเป็นตัวแสดงแทนอยู่เรื่อย ๆ
  • Mortal Kombat 2 : Annihilation - ขณะที่เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงปิดภาคเรียน เขาก็ได้ออกไปหาประสบการณ์ หารายได้ในกองถ่ายภาพยนตร์เช่นเคย ช่วงนั้นได้มีภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องหนึ่ง เข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทย คือเรื่อง Mortal Kombat 2 : Annihilationพันนาจึงได้พาเขาไปคัดตัวให้เป็นตัวแสดงแทน Robin Shou ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีผู้มาสมัครเป็นตัวแสดงแทน 100 คน เขาได้แสดงท่าเตะให้ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ชม จึงได้ถูกเลือกให้มาเป็นสตันท์แทน โรบิน ชู ในที่สุด
  • อินทรีแดง – ต่อมาในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา เขาก็ได้แสดงเป็นสตันท์แมนแทนเจมส์ เรืองศักดิ์ โดยแสดงเป็นสตันท์ใส่หน้ากากนกอินทรีสีแดง สวมชุดสีดำ และแสดงในฉากที่ต้องตีลังกาต่าง ๆ[29]
ด้วยความที่เขาต้องทำงานในกองถ่าย แสดงภาพยนตร์ เป็นสตันท์แมน ฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขามีปัญหาด้านการเรียนและต้องหยุดเรียนบ่อยขึ้น ทั้งยังเห็นว่า วิชาด้านกีฬาที่เขากำลังศึกษาอยู่ไม่ตรงกับอาชีพของตนเองในอนาคต เขาจึงตัดสินใจลาออกจากวิทยาลัยขณะที่กำลังศึกษาปีที่ 3 หลังจากที่เขาลาออกจากวิทยาลัย เขากับพันนาจึงได้เริ่มดำเนินตามแผนงานที่วางเอาไว้ คือสร้างภาพยนตร์เรื่ององค์บาก อย่างจริงจัง ซึ่งทัชชกรได้รวบรวมหนังของเจ็ทลี, บรูซ ลี และเฉินหลงทุกเรื่องมาดู โดยยึดนักแสดงทั้ง 3 คน เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการฝึก และจึงฝึกตาม ซึ่งเขาได้นำเอกลักษณ์ในการต่อสู้ของทั้ง 3 คนมาผสมรวมกัน และผสมผสานเอกลักษณ์ของตนลงไป เขาต้องเข้าฝึกซ้อมทุกวัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ปี [30]

[แก้]ศิลปะการต่อสู้

ทัชชกร ยีรัมย์ มีทักษะทางศิลปะการต่อสู้และการใช้อาวุธหลายประเภท ดังนี้
ทัชชกร ยีรัมย์ แสดงศิลปะการต่อสู้ที่ประเทศจีน
ประเภทศิลปะการต่อสู้
มวยไทย-คาดเชือก, มวยคชสาร, เทควันโด, วิชาหมัดเมา (ทั้งแบบไทย, แบบจีน และแบบผสม), กังฟู (ทั้งแบบเส้าหลินและแบบหวิงชุน), ไอคิโด้ , ยูโดคาราเต้ ,คาโปเอร่า, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม (MMA), BJJ
อาวุธ
กระบองสามท่อน, กระบองสองท่อน, โซ่, ดาบซามูไร, ดาบไทย, เชือกลูกดอก, กระบี่จีน, กระบี่-กระบอง, พลอง, ไม้ศอก

[แก้]รูปแบบศิลปะการต่อสู้

ทัชชกร ยีรัมย์ มีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย และไม่มีรูปแบบแน่นอนเหมือนนักแสดงแอ๊กชั่นคนอื่น ๆ[ต้องการอ้างอิง]สำหรับรูปแบบในการต่อสู้ของเขาโดยภาพรวมมี 4 รูปแบบ ดังนี้
  1. แบบต่อสู้ตามต้นฉบับของศิลปะการต่อสู้ชนิดต่าง ๆ
  2. แบบผสมผสานดึงเอาจากศาสตร์หนึ่งมาผสมกับอีกศาสตร์หนึ่ง เช่น นำศิลปะการต่อสู้แบบวิชาหมัดเมาของจีนมาผสมกับมวยไทย
  3. แบบประยุกต์ คือนำต้นฉบับมาดัดแปลงอีกครั้งหนึ่ง เช่น ประยุกต์รูปแบบ Free running และ Parkour มาเป็นศิลปะการต่อสู้ ,นำทักษะจากกีฬาตะกร้อมาประยุกต์เป็นท่าเตะในเรื่องต้มยำกุ้ง
  4. แบบคิดค้นขึ้นเองทั้งหมด เช่น คิดค้นนาฏยุทธ์
ถึงเขาจะมีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย แต่เขาก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกจากการเป็นนักแสดงแอ็กชั่นที่มีความสามารถสูงในศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย [31]
ทัชชกร ยีรัมย์ สาธิตการร่ายรำนาฏยุทธ์ ในรายการที่นี่หมอชิต ที่กองถ่ายภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2

[แก้]ศิลปะการต่อสู้ที่คิดค้นขึ้น

ด้วยความที่ทัชชกรมีความสามารถประยุกต์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ มาผสานเป็นศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขาเป็นผู้ให้กำเนิดศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ ขึ้นมากมาย แต่มีเพียงศิลปะการต่อสู้รูปแบบเดียวเท่านั้นที่เขาใช้เป็นศิลปะการต่อสู้เอกลักษณ์ของเขา ด้วยความที่เขาชื่นชอบวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาคิดค้นศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ขึ้น จากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2 เขาได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า นาฎยุทธ์ รูปแบบการต่อสู้ที่ถูกคิดค้นและผสมผสานจากนาฏศิลป์ไทย ลีลาแห่งศิลปะชั้นสูงอย่างโขน เช่น ตัวยักษ์ลิง,(ตัวละครที่เขาชอบมากที่สุดคือ หนุมาน) พระ ฯลฯ มาผนวกรวมเข้ากับศิลปะการเต้นเบรกแดนซ์ และศิลปะการต่อสู้รูปแบบต่างๆ จนเกิดเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่เชื่อว่ายังไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน ซึ่งต่อมานาฏยุทธ์ได้กลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของเขา[ต้องการอ้างอิง]
Cquote1.svg
ด้วยความที่ชอบฮิปฮอป เลยดึงมาประสานเป็น "นาฏยุทธ์" ตีความใหม่เรื่องการแสดงเหมือนการเต้นไปตามจังหวะเพลง จะเต้นยังไงให้รู้สึกอินตามไปกับเพลง "นาฏยุทธ์" ก็เป็นศาสตร์เดียวกัน เพียงแต่ว่าจะตีโจทย์ยังไงให้รู้สึกว่าท่าแอ็คชั่นในหนังดูแข็งแรงและกล้าแกร่ง พร้อมแทรกท่าพระช่วงไหน ใช้ท่าลิงตอนไหน ใช้ท่ายักษ์ระห่ำเวลาไหน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมีเรียนการแสดงเพิ่มเติมด้วย[32]
Cquote2.svg

[แก้]ความสามารถพิเศษ

ความสามารถพิเศษที่นอกจากศิลปะการต่อสู้ของทัชชกร มีดังนี้
  • สามารถใช้พลังสมาธิบำบัดโรคได้ (เนื่องจากทัชชกรได้ฝึกฝนด้านสมาธิอันเนื่องมาจากศิลปะการต่อสู้จนเชี่ยวชาญระดับหนึ่ง ทำให้เขามีความสามารถในการควบคุมลมภายในร่างกายได้ ซึ่งหลังจากที่เขาเดินสายโปรโมทภาพยนตร์ ได้เจอกับหญิงชราคนหนึ่ง เธอได้ขอร้องให้เขาช่วยสามีที่เป็นโรคอัมพฤกษ์ครึ่งท่อน เขาจึงได้ทดลองใช้วิชาสมาธิที่เรียนมาช่วยสามีของหญิงคนนั้น วันต่อมา หญิงคนนั้นโทรศัพท์มาบอกเขาว่า สามีของเธอ ขยับนิ้วได้แล้ว) ทัชชกร ยีรัมย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการตีสิบ ซึ่งออกอากาศประจำปี 2551[ต้องการอ้างอิง]
  • ร้องเพลงเลียนแบบเสียงนักร้องชื่อดัง เนื่องจากทัชชกรมีความชื่นชอบในเสียงเพลง และสามารถฟังเพลงได้ทุกแนว ทั้งเพลงไทยและเพลงสากล และมีวงดนตรีชื่อดังอย่าง Linkin park เป็นที่ชื่นชอบ และเขายังมีความสามารถร้องเพลงเลียนแบบเสียงนักร้องชื่อดังได้หลายเสียงและหลายแนวเพลง เช่น แร็ป, ร็อก, ลูกทุ่งสตริงกันตรึมเพื่อชีวิต ฯลฯ โดยเริ่มจากการร้องเพลงเป็นงานอดิเรกหรือช่วงหยุดพักจากการทำงานก่อน และต่อมาจึงได้เริ่มแสดงความสามารถในการร้องเพลง ผ่านทางรายการตีสิบ โดยได้ร้องเพลงเลียนแบบเสียงร้องของศิลปินไทยหลายคน และได้รับคำชมจากผู้ชมว่าร้องเพลงได้ดีกว่านักร้องต้นฉบับ[ต้องการอ้างอิง]
  • มีความสามารถทางด้านกีฬาและกรีฑาหลายประเภท [25]
  • Breakdance
  • Rap
  • beatbox (คือการใช้ปากเลียนเสียงเครื่องดนตรี)
  • Free Running
  • มีความสามารถด้านศิลปะ ประติมากรรม การออกแบบ
  • เป็นผู้เชี่ยวชาญในการสปริงข้อเท้า เพื่อใช้ในการต่อสู้ ฯลฯ

[แก้]กิจกรรมการกุศล

ทัชชกร ยีรัมย์ (ขวา) กับ สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ผู้บริหารบริษัทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล ในงานคนทำหนังรวมพลังช่วยชาวใต้
กิจกรรมการกุศลที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ
  • ร่วมหล่อพระ ที่วัดบ้านขอนแตก จังหวัดสุรินทร์[ต้องการอ้างอิง]
  • ทำบุญวันเกิดเลี้ยงโต๊ะจีนช้าง 60 เชือก จังหวัดสุรินทร์[33]
  • ร่วมงานจัดอุปสมบทหมู่ ที่ วัดป่าอาเจียง หมู่บ้านช้าง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์[34]
  • เข้าร่วมงาน "คนทำหนังรวมพลังช่วยชาวใต้"[35] ฯลฯ

[แก้]คดีความ

[แก้]ปัญหาการชำระเงินกู้ค่าทำภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก 2

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ทัชชกร ยีรัมย์ ผู้เป็นจำเลยได้ลงลายมือทำสัญญากู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวแก่โจทก์ คือ อุน ฮี ปาร์ค นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ จำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นโจทก์ได้โอนเงินจากธนาคารเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย และจำเลยได้ทำสัญว่าจะชำระหนี้ทันทีหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถ่ายทำเสร็จและออกฉายแล้ว แต่หลังจากภาพยนตร์ดังกล่าวออกฉายจำเลยก็ไม่ได้ชดใช้เงินกู้จำนวนดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีขึ้นฟ้องศาลให้พิพากษาและให้จำเลยคืนเงินต้นที่กู้ยืมไป พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 แก่โจทก์
เมื่อถึงวันที่ศาลกำหนดนัด แต่จำเลยไม่ได้เดินทางมาศาลแต่มอบอำนาจให้ทนายความส่วนตัวแถลงว่าเขายินยอมชดใช้เงินคืนแก่โจทก์จำนวน 5 แสน บาท ซึ่งโจทก์ก็ได้ยอมความและยื่นคำร้องขอถอนฟ้องแก่ศาล ศาลจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ [36]

[แก้]ความสำเร็จในระดับโลก

พ.ศ. 2546
  • เว็บไซต์ www.kungfucinema.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับภาพยนตร์แอ็กชั่นและการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเว็บหนึ่งของโลก ได้มีการจัดมอบรางวัล KUNGFUCINEMA AWARD โดยองค์บากได้รับการเข้าชิงถึง 3 รางวัลด้วยกัน ได้แก่ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,โดยองค์บากก็สามารถรับไปได้ 2 รางวัล ซึ่งทัชชกรได้รับ รางวัลนักแสดงนำฝ่ายชายที่เน้นการต่อสู้ยอดเยี่ยม และพันนาได้รับรางวัลออกแบบฉากแอ็กชั่นและการต่อสู้ยอดเยี่ยม(ชนะเฉินหลง, ทอมครูซ, เจ็ท ลี, เคียนู รีฟส์, หยวนหูผิง, และดอนนี่ เยน[37]
พ.ศ. 2548
  • ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 200 ดาราหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในโลก ประจำปี 2548 โดยเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ วีกลี่ (Entertainment Weekly) ซึ่งดาราเอเชียติดอันดับเพียง 2 คนเท่านั้นคือ Tony jaa และจางอื้อยี่ [38]
  • เว็บไซต์ www.positioningmag.com จัดอันดับให้ทัชชกร ยีรัมย์ ในชื่อของ Tony jaa เป็นนักแสดงแอ๊กชั่นยอดเยี่ยมอันดับ 1 ของโลก [39]
  • ความสามารถในการแสดงศิลปะการต่อสู้ของเขา ก็ได้ถูกผู้ชมภาพยนตร์จากทั่วโลกจัดให้เข้ากลุ่มเดียวกับนักแสดงแอ๊กชั่นที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น บรูซ ลี , เฉินหลง , และเจ็ทลี เพราะมีความเกี่ยวข้องกันโดยตรงจากหลายองค์ประกอบ และมีภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างคล้ายกัน รวมถึงประสบความสำเร็จในระดับโลกเช่นกัน
    หุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าตัวจริงของ ทัชชกร ยีรัมย์ (ขวา) และบรูซ ลี ในแผนกห้องศิลปะการต่อสู้ของพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง มาดามทุซโซต์ กรุงเทพ
  • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง Madame Tussauds กรุงเทพฯ ได้จัดสร้างห้องแสดงหุ่นขี้ผึ้งในแผนกศิลปะการต่อสู้ ชื่อ IN ON THE ACTION: Martial arts heroes Bruce Lee, above, and Tony Jaa โดยได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าตัวจริงของ Tony jaa และบรูซ ลี ตั้งไว้ในห้องเดียวกัน ภายในห้องจัดฉากเป็นฉากการต่อสู้ที่ปรากฏในภาพยนตร์ของทั้งสองคน ซึ่งภายในห้องดังกล่าวจัดตั้งเฉพาะหุ่นของบรู๊ซลีและโทนี่จาไว้เท่านั้น ส่วนหุ่นของเฉินหลงและพระเอกแอ๊กชั่นคนอื่น ๆ ได้ถูกพิจารณาจัดตั้งไว้อีกห้องหนึ่ง[40] และพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง Louis Tussaud’s Waxworks พัทยา ที่รวบรวมและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของนักแสดง นักร้อง ฯลฯ ที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็ได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าตัวจริงของ Tony jaa นั่งอยู่บนช้างด้วย
  • หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ประสบความสำเร็จจนถึงขีดสุดในระดับโลก คำว่าองค์บาก จึงกลายเป็นศัพท์สแลงในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกที่แปลว่า กล้าหาญ และบ้าบิ่น[ต้องการอ้างอิง]
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในนักแสดงผู้มีอิทธิพลสูงสุดในเอเชีย (Asia's Most Popularity Entertainer People of The Year 2008) จากนักวิจารณ์และนักแสดงทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง]
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 300 ดาราดังในเอเชีย มาถ่ายแบบเปลือย เพื่อนำรายได้จากการเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ประเทศฮ่องกง[41]
พ.ศ. 2551
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ในชื่อ Tony jaa ถ่ายแบบและถ่ายทอดประวัติชีวิตลงในนิตยสาร GQ นิตยสารสหรัฐอเมริกา ที่ว่าด้วยเรื่องราวประวัติชีวิตของผู้ชายที่มหัศจรรย์ระดับโลก ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 2008
พ.ศ. 2552
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ลงในทำเนียบ "คนไทยที่โลกยกย่อง" ประกาศเกียรติคุณโดยเว็บไซต์ สารานุกรมทรัพยากรณ์มนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (kc.hri.tu.ac.th) [42]
  • ภาพยนตร์ในการแสดงนำหลายเรื่องของเขาได้ถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 อันดับภาพยนตร์ไทยที่ผู้ชมทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุดในทศวรรษ เช่นเรื่อง องค์บาก และต้มยำกุ้ง จากผลการจัดอันดับโดยเว็บไซต์ www.toptenthailand.com ในหัวข้อ 10 อันดับหนังไทยที่คนชื่นชอบมากที่สุดในทศวรรษ [43]
พ.ศ. 2553
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ๊กชันอันดับ 1 ระดับตำนาน จากผลการสำรวจผู้ชมภาพยนตร์แนวแอ๊กชันทั่วโลก ของเว็บไซต์ www.deknang.com และเว็บไซต์ www.openmm.com เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ทุกประเภทจากทั่วโลก[44] [45]

[แก้]ผลงาน

[แก้]ผลงานของตนเอง

โปสเตอร์ภาพยนตร์องค์บากที่ใช้ในทวีปยุโรปเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในการแสดงนำของทัชชกร ยีรัมย์ ที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก
ภาพยนตร์[46]
  • พ.ศ. 2535
    • สิงห์สยาม (วันที่เข้าฉาย 7 พฤศจิกายน)
  • พ.ศ. 2536
    • กวนโอ๊ย (วันที่เข้าฉาย 27 มีนาคม)
  • พ.ศ. 2537
  1. ปลุกมันขึ้นมาฆ่า 4 [47] (วันที่เข้าฉาย 12 พฤศจิกายน)
  2. พยัคฆ์ร้ายเซี่ยงชุน 2
  3. นักเลงกลองยาว (วันที่เข้าฉาย 22 มกราคม)
  4. คนดิบเหล็กน้ำพี้
  • พ.ศ. 2538
  1. นักสู้เมืองอีสาน (วันที่เข้าฉาย 7 มกราคม)
  2. กองทัพเถื่อน 2 (วันที่เข้าฉาย 23 ธันวาคม)
  • พ.ศ. 2539
  1. เพชฌฆาตเดนสงคราม 2 (วันที่เข้าฉาย 3 กุมภาพันธ์)
  2. มือปราบปืนโหด
  • พ.ศ. 2540
  1. ปู่ตาคาถาถล่มคน
  2. ปืนเกลียว 3
  3. เซี่ยงชุน 3 พยัคฆ์ร้ายครกแตก
  1. ต้มยำกุ้ง (วันที่เข้าฉาย 11 สิงหาคม)
  2. เสือร้องไห้ (รับเชิญ) (ภาพจากการถ่ายทำเรื่อง เกิดมาลุย, องค์บาก และ ต้มยำกุ้ง)
ตัวแสดงแทน
ปกภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Mortal Kombat 2 : Annihilation ทัชชกร ยีรัมย์แสดงแทนโรบิน ชู
  • พ.ศ. 2540
  1. มอร์ทัลคอมแบท (Mortal Kombat 2 : Annihilation แสดงแทนโรบิน ชู ในบทต่อสู้)
  2. แก๊งค์กระแทกก๊วนส์ เก๋ากวนเมือง (แสดงแทนเป็นตำรวจ ในบทต่อสู้ในฉากต่าง ๆ)
  3. อินทรีแดง-ซีรีส์ละครโทรทัศน์ (แสดงแทนเป็นวีรบุรุษหน้ากากอินทรีแดง ในบทต่อสู้และตีลังกาในฉากต่าง ๆ )
  • พ.ศ. 2541
    • CC-J แสบฟ้าแลบ (แสดงแทนเป็นหัวหน้าหน่วยสืบราชการลับ ในบทต่อสู้ แข่งรถมอเตอร์ไซค์ และมอเตอร์ไซค์ผาดโผนในฉากต่าง ๆ)
กำกับภาพยนตร์
  • พ.ศ. 2551
    • องค์บาก 2 (กำกับและแสดงนำ) (วันที่เข้าฉาย 5 ธันวาคม)
  • พ.ศ. 2553
    • องค์บาก 3 (กำกับและแสดงนำ) (วันที่เข้าฉาย 5 พฤษภาคม)
เพลง
  1. เป็นพระเอกในมิวสิกวิดีโอเพลง Je Reste Ghetto ONG-BAK ให้กับวง Tragedie นับว่าเป็นเพลงเกี่ยวกับ Tony jaa ที่โด่งดังที่สุดในหมู่วัยรุ่นแฟนคลับของเขาทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] และเป็นเพลงเปิดตัวประจำของโทนี่ จา ในระยะเวลาหนึ่ง
  2. เพลง เทียน เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3 แนวเพลง อัลเทอเนทีฟ เมทัล ร็อก, เพื่อชีวิต โดยวงกล้วยไทย และหงา คาราวาน
เกม
ผู้ชมกำลังเล่นเกม Tom yom gong the game ในงาน TAM 2005
ตุ๊กตา Model
  • โด่งดังมากที่สุดคือโทนี่จาในชุดขามจากภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง เป็นที่รู้จักอย่างมากที่สุดในตลาดต่างประเทศ [50]
บริษัท
  • บริษัทไอยราฟิล์มจำกัด (IYARA FILM CO.,LTD) เป็นบริษัทผลิต-จัดจำหน่ายภาพยนตร์ ,โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้หลายรูปแบบ และสำนักพิมพ์ในสถานที่เดียวกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 อยู่ที่ 199, 201 ซอยลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
ทีมสตั๊นท์
  • เป็นผู้ก่อตั้งทีมนักแสดงแทนด้านศิลปะการต่อสู้ในภาพยนตร์ ชื่อทีม "ไอยราสตั๊นท์" โดยทีมสตั๊นท์ส่วนหนึ่งมาจากนักแสดงแทนในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ของทัชชกร
สถาบันสอนศิลปะการต่อสู้
  • ทัชชกรร่วมกับครอบครัว ก่อตั้งสถาบันสอนศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยประเภทต่าง ๆ ในชื่อ "สถาบันมวย IMA" เปิดสอนหลักสูตรมวยไทยประเภทต่าง ๆ ให้แก่ชาวต่างชาติและคนไทย มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 สถานที่ตั้งอยู่ที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์[51]
โฆษณา
ผลงานการถ่ายทำโฆษณารถยนต์
  1. เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับโฆษณา "ลำไยไทยช่วยชาติ" แก้ปัญหาลำไยล้นตลาด โดยโครงการของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 [52]
  2. เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับโฆษณา "รถมิตซูบิชิ ไทรทัน พลัส" 3 ภาค โดยได้รับค่าตัวสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์นักแสดงในประเทศไทย ได้รับค่าตัวสูงถึง 50 ล้านบาท ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 [53] ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้รถมิตซูบิชิ ไทรทัน ที่ผลิตในประเทศไทยที่เดิมนั้นมีชื่อเสียงด้านการเป็นรถกระบะที่มีสมรรถนะสูงในระดับโลกอยู่แล้ว ยิ่งกลายเป็นที่นิยมสูงสุดในตลาดโลก จนได้รับรางวัลแชมป์รถกระบะยอดเยี่ยมแห่งปีที่ประเทศอังกฤษถึง 3 ปีซ้อน จึงเป็นเหตุผลให้รถกระบะยีห้อมิตซูบิชิ ที่ผลิตในประเทศไทยกลายเป็นที่สนใจในตลาดโลกในเวลาอันรวดเร็ว [54]
  3. เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับโฆษณา รณรงค์วินัยจราจร จังหวัดสุรินทร์ ในโครงการของ พ.ต.ท.นิรันดร์ คู่พิทักษ์ ผกก. (ป.) สภ.ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 [55]
  4. ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสถาบันการพลศึกษา (ประเทศไทย) ให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ "หลักสูตรมาตรฐานศิลปะมวยไทย 9 ขั้น ของสถาบันการพลศึกษาสู่เวทีโลก" โดยมีหลายประเทศจากทั่วโลกให้ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม [56]
หนังสือ

[แก้]ผลงานจากสื่อต่าง ๆ

การ์ตูน Animation
ทัชชกร ยีรัมย์ ในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูนของวอร์เนอร์บราเธอร์ส เรื่อง LEGION OF SUPER HEROES
  1. การ์ตูนชื่อ "Tony Jaa" สังกัดฮอลลีวูด ไวท์ตรีน บริษัทที่ร่วมสนับสนุน Dargon Dynasty, The weinstein company:เล่าเรื่องการแสดงศิลปะการต่อสู้ของโทนี่ จา ในบทขามจากต้มยำกุ้ง โดยใช้การดำเนินเรื่องแบบ วิดีโอเกม คือ รวมฉากที่โทนี่จาจะต้องสู้กับคู่ต่อสู้จำนวน 8 คน (เมื่อชนะคนหนึ่ง ก็ต้องมาสู้กับอีกคนหนึ่ง) โดยจบลงที่โทนี่จาสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ทั้งหมด
  2. LEGION OF SUPER HEROES ภาพยนตร์การ์ตูนในสังกัดวอร์เนอร์บราเธอร์ส:แอนิเมชั่น
ภาพยนตร์ที่สร้างจากบุคลิกของทัชชกร ยีรัมย์
  • Juuken sentai Gekiranger (เกคิเรนเจอร์) ภาพยนตร์แนวขบวนการนักสู้ของญี่ปุ่น ที่ได้นำบุคลิกและศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยของ Tony jaa นำไปใช้เป็นบุคลิกของ "เกคิวูลฟ์โทจา" ซึ่งที่มาของชื่อแผลงมาจาก "โทนี่ จา" เป็น "โทจา" หุ่นยนต์ประจำขบวนการเกคิเรนเจอร์ ตัวเอกของเรื่อง ที่ใช้มวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้ เพื่อต่อสู้กับเหล่าอธรรมในเรื่องนี้
เพลง
วงดนตรี Sexion_D'Assaut เจ้าของเพลง T'es bête ou quoi Ong Bak 2 แต่งขึ้นเพื่อชื่นชมโทนี่ จา และองค์บาก 2
  1. เพลง T'es bête ou quoi Ong Bak 2 แนวเพลงแร็พ-ร็อก โดยวง Sexion d'assaut วงดนตรีต่างชาติ ที่รวมศิลปินจากหลายทวีบเช่น อเมริกา, แอฟริกา ร่วมแต่งเพลงซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับองค์บาก 2 และ tony jaa นับเป็นเพลงที่ได้รับการกล่าวขวัญสูงในต่างประเทศเช่นกัน
  2. นอกจากนั้นเรื่องราวของเขายังถูกนำไปแต่งเป็นเพลงจากหลากหลายศิลปินและวงดนตรีทั่วโลก เช่นวง A Poetic Yesterday ในชื่อเพลง Tony jaa will kick your ass.
หนังสือ
  • หนังสือการ์ตูนชื่อ "ต้มยำกุ้ง" และ "คนบินเหินฟ้า" จากบริษัทวิบูลกิจ-คอมิค เป็นการ์ตูนช่องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับขาม มีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
เกม
  1. Tony jaa Action game - เกมโชว์ศิลปะการต่อสู้ของ Tony jaa ในบทขามจากฉากในร้านอาหารต้มยำกุ้ง ในภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง[58]
  2. Ong-bak fight club - เกมโชว์ศิลปะการต่อสู้ของ Tony jaa ในบททิ้งจากฉากการต่อสู้ในชมรมศิลปะการต่อสู้ ในภาพยนตร์เรื่ององค์บาก[59]

[แก้]รางวัลและการเชิดชูเกียรติ

ทัชชกร ยีรัมย์ รับรางวัลนักแสดงภาพยนตร์แอ๊กชันยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย BEST ACTION ACTOR จากงาน MARTIAL ARTS GLOBAL CELEBRATION 2007 ประเทศจีน
เฉพาะรางวัลและการเชิดชูเกียรติที่ทัชชกร ยีรัมย์ ได้รับจากการแสดงภาพยนตร์ และศิลปะมวยไทย (ไม่นับรางวัลจากการแข่งขันกีฬา)
พ.ศ.ชื่อรางวัลคำอธิบายอ้างอิง
2546รางวัล KUNGFUCINEMA AWARD
  1. รางวัลนักแสดงนำฝ่ายชายที่เน้นศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม
  2. รางวัลออกแบบฉากและศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม
จากเว็บไซต์ www.kungfucinema.com[60]
รางวัลทูตวัฒนธรรมด้านภาพยนตร์ครั้งที่ 1จัดขึ้นโดยโครงการของรัฐบาล ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนสปาร์ค[61]
2548ลงหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์สาขาสอนและโชว์มวยไทยแก่ประชาชนมากที่สุดในโลกมีผู้มาฝึก 2,000 คน ณ ฮ่องกง[62]
รางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่15 รางวัลเกียรติยศแห่งปี 2548 สาขาดาราไทยที่สร้างชื่อเสียงให้ภาพยนตร์ไทยที่รู้จักทั่วโลกจาก ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง[63]
รางวัลดาราหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในโลกเอ็นเตอร์เทนเม้นท์วีกลี่[64]
2550รางวัล BEST ACTION ACTOR รางวัลศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยมแห่งเอเชียจากงาน MARTIAL ARTS GLOBAL CELEBRATION ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีน ร่วมกับเฉินหลง, เดวิดเจียง, หยวนเปียว, เจ็ทลี,ฯลฯ และแสดงศิลปะรำกังฟูบนเวทีด้วย[65]
2551รางวัลใบโพธิ์ทองคำ(สหมงคลฟิล์ม)[66]
2552รางวัลเพนกวินผู้กล้า The First Penguin Awardบุคคลตัวอย่างมีความกล้าหาญ-สร้างสรรค์) จากรูปแบบการถ่ายทำภาพยนตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ จากเรื่ององค์บาก 2[67]
รางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประเภทศิลปะการแสดง สาขานักแสดงมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นเนื่องในงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย[68]
2553รางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยมประเภทแข่งขัน (BEST STUNT by A STUNT MAN AWARD)จากงาน 1st THAILAND STUNT AWARDS (รางวัลสตั๊นต์แมนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 1) นักแสดงนำที่แสดงบทเสี่ยงตายโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยความปลอดภัย จากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3[69]

[แก้]สถานที่เดินสายโปรโมทภาพยนตร์

ทัชชกร ยีรัมย์ โปรโมทภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก 2 ที่ Midnight Madness 2009 (เทศกาลหนังทำเงิน) ประเทศแคนาดา
ทัชชกร ยีรัมย์ ขณะแจกลายเซ็นเพื่อโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง ที่สหรัฐอเมริกา
ต่างประเทศ
  • พ.ศ. 2547
  1. ประเทศฝรั่งเศส เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก
  2. ประเทศเกาหลี เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก
  3. ประเทศญี่ปุ่น เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก
  4. ประเทศฮ่องกง เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก
  • พ.ศ. 2549
  1. Virgin Champs-Elysées ปารีส เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
  2. นครนิวยอร์ก เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
  3. Game show ประเทศเกาหลี เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
  4. Nrj Music Awards France ประเทศฝรั่งเศส เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
  5. japan tv ประเทศญี่ปุ่น เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง
ประเทศไทย
  • พ.ศ. 2551
  1. ตีสิบ เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2
  2. SFX Cinema เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2
  3. สยามพารากอน เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2
  • พ.ศ. 2553
  1. โรงภาพยนตร์เฮาส์ RCA เดินสายโปรโมทภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3
  2. โรงภาพยนตร์ SFX ลาดพร้าว (วันที่ 5 พฤษภาคม) เดินสายเปิดการฉายภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3



Credit : Sanook.com,th.wikipedia.org
เรียบเรียง : ruengdd.com,เรื่องดีดี.com