เรื่องเล่าของในหลวงอ่านแล้วน้ำตาล่วงเลยย ซึ้งใจมากมากกกก


ในหลวง กับสะเมิง

“ฉันขึ้น-ลงสะเมิงอยู่หลายปี จนได้รับเชื้อไมโครพลาสม่า ซึ่งในที่สุดทำให้ฉันเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกือบต้องเสียชีวิต”
เป็นถ้อยรับสั่งที่แสนจะเรียบง่าย ราวกับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยธรรมดาเสียเหลือเกิน


ในปี 2518 นั้นพื้นที่อำเภอสะเมิงยังเป็นชนบทที่ยากลำบากทั้งเส้นทางคมนาคม
ความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แค่มีกินแต่ไม่มีเงินใช้จ่าย

เนื่องจากสะเมิงอยู่ใกล้ตัวเมืองเชียงใหม่ และพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศก่อนและหลัง
ที่ในหลวงเสด็จเพื่อพระราชทานปริญญาแก่บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทุกปลายปีช่วงฤดูหนาวนั้น
พระองค์ท่านก็จะเสด็จเยี่ยมพสกนิกรในพื้นที่ชนบทป่าเขาทุกปี สะเมิงก็เป็นพื้นที่เป้าหมาย
ผู้บันทึกต้องเข้าร่วมรับเสด็จพร้อมกับทางอำเภอและประชาชนชาวสะเมิงทุกปี

เนื่องจากสะเมิงเป็นพื้นที่ที่มีความหนาวเย็น และไม่ไกลจากตัวจังหวัด จึงเหมาะแก่การทำโครงการหลวง
ที่เน้นการทดลองนำพืชเมืองหนาวมาเพาะขยาย หรือแม้แต่ข้าวไร่ ที่พระองค์ท่านมีพระราชดำริให้จัดทำขึ้น
เมื่อประสบความสำเร็จก็จะได้นำไปแนะนำชาวบ้านปลูกทดแทนฝิ่น และหารายได้ให้แก่ครอบครัวต่อไป

การที่พระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกายดังกล่าว จึงก่อให้เกิด ปัญหากับสุขภาพพระองค์ท่านขึ้นโดยไม่คาดคิดเลย

“สาเหตุโรคพระหทัยของในหลวง” โดยสรุปดังนี้
ในหลวงทรงมีพระอาการประชวรเรื้อรังในส่วนของพระหทัยเต้นผิดปกติ
หากจำกันได้ ในหลวงเคยต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่มาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2538
ครั้งนั้นพสกนิกรทั้งแผ่นดินแทบไม่เป็นอันทำอะไร ใครๆก็รู้ว่าโรคหัวใจไม่ใช่โรคล้อกันเล่นๆได้
ทั้งสมัยนั้นการผ่าตัดหัวใจก็เสี่ยงพอดู แต่ทุกอย่างก็เป็นไปโดยเรียบร้อย
แต่ทราบกันหรือไม่ว่าสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกตินี้ มาจากอะไร?


ราวปี 2530 ในหลวงเสด็จไปเยี่ยมประชาชนที่อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ทรงพบว่าชาวบ้านจำนวนมากเป็นโรคคอพอก ซึ่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทูลว่า
มีการเอาเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประจำ แต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้
เพราะไม่รู้จักก็กลัวจะเป็นอันตราย ในหลวงจึงรับสั่งให้นำเกลือเสริมไอโอดีนมาแจกประชาชนด้วยพระหัตถ์
ชาวบ้านได้รับเกลือพระราชทาน จึงยอมเชื่อว่าเกลือชนิดนี้กินได้ จนแพร่หลายต่อๆมา ปัจจุบันไม่มีคนป่วยโรคคอพอกที่สะเมิงแล้ว

นอกจากนี้ยังทรงเสด็จขึ้น-ลงสะเมิงอีกหลายครั้ง เพื่อติดตามแก้ปัญหาเรื่องน้ำและถนน
จนชาวบ้านทำกินกันได้เป็นปกติสุข มีรายได้เลี้ยงชีพได้พอเพียง หากกลับเป็นพระองค์เองที่ทรงพระประชวร
ในหลวงทรงได้รับเชื้อไมโครพลาสม่าจากการเสด็จไปที่สะเมิงนี้เอง อันเป็นสาเหตุของโรคพระหทัยเต้นผิดปกติเรื้อรังมาถึงปัจจุบัน
แม้คณะแพทย์จะพยายามเท่าใด ก็ไม่อาจถวายการรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงถวายพระโอสถประคองพระอาการมาตลอด
จนกระทั่งต้องทรงรับการผ่าตัดใหญ่เมื่อปี 2538 ดังเล่ามาแล้ว

ในหลวงเคยมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

“ ฉันขึ้น-ลงสะเมิงอยู่หลายปี จนได้รับเชื้อไมโครพลาสม่า ซึ่งในที่สุดทำให้ฉันเป็นโรคหัวใจเต้นไม่ปกติ จนเกือบต้องเสียชีวิต”
เป็นถ้อยรับสั่งที่แสนจะเรียบง่าย ราวกับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยธรรมดาเสียเหลือเกิน
อีกเรื่องราวจากหนังสือ "ที่สุดของหัวใจ" ครับ

ไม่ต้องกั้น โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล

มีอยู่ครั้งหนึ่งเสด็จฯ ไปที่เซ็นทรัล วันที่มีประชุมรัฐสภาโลก วันนั้นผมจำได้ ผมติดอยู่บนท้องถนน
ฝนตก ผมก็มีวิทยุเลยได้ยินรับสั่ง มากับตำรวจมาเลย

“วันนี้ไม่ต้องกั้นรถ”

ทรงเข้าใจความทุกข์ของราษฎรอยู่ตลอดเวลา วันนี้เป็นวันฝนตกรถติดกันอย่างมหาศาล
ถ้าขืนต้องไปติดขบวนอีก สร้างความทุกข์ให้กับประชาชน
ทรงวิทยุบอกตำรวจว่า

“ขบวนจะแล่นไปพร้อมกับรถของประชาชนไม่ต้องกั้นเคลื่อนที่ไปพร้อมกัน”


ปิดทองหลังพระ (เฉลิมศักดิ์  รามโกมุท  อดีตตำรวจหลวง)

ในคืนวันหนึ่งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐
(ยศในขณะนั้นพันตำรวจโท)หลังจากได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำในวังไกลกังวลแล้ว
ผมจำได้ว่า คืนนั้นผู้ที่โชคดีได้เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานพระจิตรลดา เป็นนายตำรวจ 8 นาย และนายทหารเรือ 1 นาย

พระเจ้าอยู่หัว เสด็จลงมาพร้อมด้วยกล่องใส่พระเครื่องในพระหัตถ์ ทรงอยู่ในฉลองพระองค์ชุดลำลอง
ขณะที่ทรงวางพระลงบนฝ่ามือที่ผมแบรับอยู่นั้น

ผมมีความรู้สึกว่าองค์พระร้อนเหมือนเพิ่งออกจากเตา ภายหลังเมื่อมีโอกาสกราบบังคมทูลถาม จึงได้ทราบว่า

พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างพระเครื่ององค์นั้น ด้วยการนำเอาวัตถุมงคลหลายชนิดผสมกัน
เช่น ดินจากปูชนียสถานต่างๆ ทั่วประเทศ ดอกไม้ที่ประชาชนทูลเกล้าถวายในโอกาสต่างๆ และเส้นพระเจ้า(เส้นผม)ของพระองค์เอง
เมื่อผสมกันโดยใช้กาวลาเท็กซ์เป็นตัวยึด แล้วจึงทรงกดลงในพิมพ์ (อ.ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาเป็นศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้แกะถวาย)
โดยไม่ได้เอาเข้าเตาเผา

หลังจากที่ได้รับพระราชทานแล้ว ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราโชวาทมีความว่า
"พระที่ให้ไปน่ะ ก่อนจะเอาไปบูชา ให้ปิดทองเสียก่อน แต่ให้ปิดเฉพาะข้างหลังพระเท่านั้น"

พระราชทานพระบรมราชาธิบายด้วยว่า

ที่ให้ปิดทองหลังพระก็เพื่อเตือนตัวเองว่า การทำความดีไม่จำเป็นต้องอวดใคร หรือประกาศให้ใครรู้
ให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ และถือว่าความสำเร็จในการทำหน้าที่เป็นบำเหน็จรางวัลที่สมบูรณ์แล้ว

ผมเอาพระเครื่องพระราชทานไปปิดทองที่หลังพระแล้ว ก็ซื้อกรอบใส่
หลังจากนั้นมา สมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินองค์นั้น

ก็เป็นพระเครื่องเพียงองค์เดียวที่ห้อยคอผม

หลังจากที่ไปเร่ร่อนปฏิบัติหน้าที่อยู่ไกลห่างพระยุคลบาท ผมได้มีโอกาสกลับไปเฝ้าฯ ที่วังไกลกังวลอีก
ความรู้สึกเมื่อได้เฝ้าฯ นอกจากจะเป็นความปีติยินดีที่ได้พระยุคลบาทอีกครั้งหนึ่งแล้ว
ก็มีความน้อยใจที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความตั้งใจ ลำบาก และเผชิญอันตรายนานาชนิด
บางครั้งจนแทบเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ปรากฎว่ากรมตำรวจมิได้ตอบแทนด้วยบำเหน็จใดๆ ทั้งสิ้น

ก่อนเสด็จขึ้นคืนนั้น ผมจึงก้มลงกราบบนโต๊ะเสวย แล้วกราบบังคมทูลว่า ใคร่ขอพระราชทานอะไรสักอย่างหนึ่ง
พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่า "จะเอาอะไร?"

และผมก็กราบบังคมทูลอย่างกล้าหาญชาญชัยว่า จะขอพระบรมราชานุญาต
ปิดทองบนหน้าพระ ที่ได้รับพระราชทานไป

พระเจ้าอยู่หัวตรัสถามเหตุผลที่ผมขอปิดทองหน้าพระ
ผมกราบบังคมทูลอย่างตรงไปตรงมาว่า พระสมเด็จจิตรลดาหรือพระกำลังแผ่นดินนั้น
นับตั้งแต่ได้รับพระราชทานไปห้อยคอแล้ว ต้องทำงานหนักและเหนื่อยเป็นที่สุด

เกือบได้รับอันตรายร้ายแรงก็หลายครั้ง มิหนำซ้ำกรมตำรวจยังไม่ให้เงินเดือนขึ้นแม้แต่บาทเดียวอีกด้วย

พระเจ้าอยู่หัวทรงแย้มพระสรวจ (ยิ้ม) ก่อนที่จะมีพระราชดำรัสตอบด้วยพระสุรเสียงที่ส่อพระเมตตาและพระกรุณาว่า
ปิดทองไปข้างหลังพระเรื่อยๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง


“ กส. ๙ ” โดย พลตำรวจตรี สุชาติ เผือนสกนธ์ อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เครื่องวิทยุที่ทรงมีอยู่
เฝ้าฟังและติดต่อกับ “ปทุมวัน” และ “ผ่านฟ้า” เป็นครั้งคราว
เมื่อทรงว่างพระราชภารกิจอื่น การติดต่อทางวิทยุได้ทรงมีพระบรมราชานุญาต
ให้ผู้ที่ติดต่อกับพระองค์ท่านไม่ต้องใช้ราชาศัพท์

พระองค์ท่านทรงจดจำสัญญาณเรียกขาน, ประมวลคำย่อ (โค๊ด “ว”)ได้อย่างแม่นยำ
และใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยยังปฏิบัติไม่ได้
โดยการรับฟังการติดต่อในข่ายวิทยุของตำรวจนี้เอง
จึงทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ
เช่นข่าวโจรกรรม ,อัคคีภัย ,การจราจรได้ทุกระยะ

ในการเสด็จจากที่ประทับของพระองค์ท่านเพื่อปฏิบัติพระราชภารกิจ
จึงทรงพระกรุณารับสั่งให้สมุหราชองครักษ์ ติดต่อประสานงานกับกรมตำรวจ
ให้สั่งการสถานีตำรวจท้องที่ติดต่อสื่อสารทางวิทยุกับแผนกรักษาความปลอดภัย
บุคคลสำคัญ กรมราชองครักษ์ เพื่อจะได้ทราบกำหนดเวลาเสด็จออกจากพระตำหนักที่ใกล้เคียง
และปิดการจราจรในเส้นทางผ่านเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อน

มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ได้รับสั่งทางวิทยุ กับพนักงานวิทยุสถานีวิทยุกองกำกับการตำรวจนนทบุรี
เพื่อจะพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติ การสื่อสารบางประการโดยทรงใช้สัญญาณเรียกขานว่า
“กส. ๙” ติดต่อเข้าไป
พนักงานวิทยุผู้นั้นจำพระสุรเสียงไม่ได้ จึงได้สอบถามว่า “เป็น กส.๙” จริงหรือปลอม
ทั้งดูเหมือนจะใช้คำพูดไม่สู้จะเรียบร้อย

เรื่องนี้จึงเดือดร้อน มาถึงผู้เขียน
เนื่องจากได้รับสั่งเล่าเหตุการณ์มาให้ทราบเพื่อให้ช่วยยืนยันว่าเป็น  “กส.๙” จริง
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระองค์ท่าน ยังทรงห่วงใยว่าพนักงานวิทยุผู้นั้น จะถูกลงโทษทางวินัย
จึงได้รับสั่งทางวิทยุให้ผู้เขียน ติดต่อประสานงานกับผู้บังคับบัญชาของพนักงานวิทยุ  ขออย่าให้มีการลงโทษเลย


"นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้"
........................

ขณะที่ในหลวงทรงงาน เพื่อหาที่สร้างฝายทดน้ำ โดยมี อ.ปราโมทย์ ช่วยถือแผนที่ให้พระองค์ ปรากฎว่ามีตัวคุ่นได้กัดที่มือของอาจารย์ แต่อาจารย์ก็ได้เก็บอาการเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นต่อหน้าพระพักตร์แต่อาจารย์คิดว่าพระองค์คงไม่ทรงสังเกตเห็น อาจารย์ก็ได้แต่เอามือถูเพื่อคลายความเจ็บปวดแบบเนียนๆ

ก่อนจะเสด็จฯ กลับ ในหลวงทรงเสด็จฯ พระราชดำเนินไปที่รถยนต์พระที่นั่ง (การเสด็จฯ ครั้งนั้น ทรงขับรถยนต์ด้วยพระองค์เอง) เหมือนทรงค้นหาอะไรบางอย่าง สักพักพระองค์ก็เสด็จฯ พระราชดำเนินกลับไปหาอาจารย์ โดยถือหลอดยามาด้วย

"นายช่าง ยื่นมือมาสิ จะทายาให้"

อาจารย์ได้แต่ยืนตะลึง ใจมิกล้าอาจเอื้อมยื่นมือไปให้พระองค์ และไม่คิดว่าจะทรงสังเกตเห็นและมีพระเมตตาใส่พระทัยถึงขนาดนี้... พระองค์ทรงทายาให้อาจารย์ พร้อมตรัสว่า

"ตัวคุ่นมันกัด ถ้าแพ้จะบวม ไม่เป็นไร ทายานี้แล้วเดี๋ยวก็ค่อยยังชั่ว"

หนังสือ : การทรงงานของพ่อในความทรงจำ
โดย : ปราโมยท์ ไม้กลัด




เรื่อง  ปลาร้องไห้
..................................

ตั้งแต่พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนในเขตพื้​นที่พัฒนาพรุแฆแฆ จ.ปัตตานี มีราชฎรชื่อ นายอูเซ็ง เฝ้ารับเสด็จอยู่ด้วย เมื่อพระองค์เสด็จผ่านจุดที่นายอูเซ็งรอรั​บเสด็จอยู่นั้น นายอูเซ็งได้ถวายภาพถ่าย 1 ชุด เป็นภาพถ่ายของปลากะพง ที่เลี้ยงในชังบริเวณแม่น้ำกอตอ ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำสายบุรีแม่น้ำทั้งสอ​ ง จะไหลลงทะเลบริเวณ ปากน้ำสายบุรี จุดที่เลี้ยงปลากะพงอยู่ใกล้กับปากน้ำ ปลาที่เลี้ยงในกระชังเกือบทั้งหมด ตายลอยแพเป็นพันเป็นหมื่นตัว สาเหตุที่ปลาตายเนื่องจากการปล่อยน้ำเปรี้​ยวจากพรูพาเจาะ ไหลผ่านคลองไม้แก่นและคลองกอตอ ผ่านจุดที่เลี้ยงปลากะพงในกระชัง ก่อนจะไหลออกทะเล ทำให้ปลากะพงที่เลี้ยงในกระชังขาดอ๊อกซีเจ​นตายจำนวนมาก รวมทั้งปลาของนายอูเซ็งด้วย

นายอูเซ็ง จึงได้บันทึกภาพเหตุการณ์ที่ปลาตายถวายฎีก​าต่อพระองค์ท่านเพื่อให้ทรงช่วยเหลือแก้ไข​
ขณะที่กำลังกราบทูลพระองค์ท่านถึงสาเหตุที​่ปลาตายอยู่นั้น นายอูเซ็งร้องไห้ไปด้วย (ร้องไห้เสียงดังเหมือนเด็ก)
ด้วยพระอารมณ์ขันของพระองค์ท่าน ได้ตรัสด้วยประโยคสั้นๆ ว่า

" ปลาร้องไห้ จะต้องหาทางแก้ไข "

ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ท่านและได้ยิน​ประโยคที่ท่านตรัส ต่างก็หัวเราะด้วยอารมณ์ขัน

ต่อจากนั้นพระองค์ได้เปิดแผนที่เพื่อทอดพร​ะเนตรแม่น้ำกอตอซึ่งเป็นจุดที่เลี้ยงปลากะ​พงมาก
และเส้นทางที่ปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรุบ​าเจาะ ลงสู่แม่น้ำสายนี้
ทรงศึกษาหาวิธีการที่จะป้องกันมิให้ปล่อยน้ำเปรี้ยวจากพรุบา​เจาะลงสู่แม่น้ำสายนี้อีก และได้ทรงมอบหมาย
ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบวางแผนป้องกันระยะ​ยาว ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ท่านทำให้หมู่บ้านปาตาคีมออยู่ร​่มเย็นเป็นสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ปลาจะไม่มีวันร้องให้อีกต่อไปแล้ว

ที่มา : คุณธีรพจน์ หะยีอาแว




เรื่อง ดอกไม้แห่งหัวใจ
.....................

คุณยายตุ้ม จันทนิตย์ หญิงชราวัย 102 ปี (เกิดเมื่อปีพทุธศักราช 2396) บ้านธาตุน้อย ตำบลพระกลางทุ่ง
อำเภอธาตุพนม ห่างจากจุดที่ทางราชการกำหนดให้เป็นจุดรับเสด็จ ประมาณ 700 เมตร ก็ไม่ต่างจากครอบครัวอื่นๆ
ที่ลูกหลานได้นำ "คุณยายตุ้ม จันทนิตย์" ไปรอรับเสด็จด้วย โดยตามคำบอกเล่าของ นางเพ็ง จันทนิตย์ (ลูกสะใภ้)
และนางหอม แสงพระธาตุ (น้องสาวของนางเพ็ง) ได้ความว่า ลูกหลายได้นำคุณยายตุ้มไปรอบรับเสด็จตั้งแต่เช้าโดยนางหอมฯ
เป็นผู้จัด "ดอกบัวสีชมพู" ให้แ่ก่คุณยายจำนวน 3 ดอก เพื่อนำขึ้นจบบูชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และพาออกไปรอเฝ้ารับเสด็จที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ได้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เป็นที่ชาวไทยคุ้นตา ประทับใจในหัวใจเป็นที่สุด และตามที่ท่านเจ้าคุณพระราชธีราจารย์
เจ้าคณะจังหวัดนครพนม/เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ให้ความรู้ “ ดอกบัวในใจยังคงบานไม่มีโรยรา ”
บนเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินทางสามแยกชยางกูร- เรณูนคร ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
เมื่อบ่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน 2498 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรภาคอีสานเป็นครั้งแรก

คุณยายไปรอรับเสด็จพร้อมดอกบัวสายสีชมพู จำนวนสามดอก ตั้งแต่เช้าจนบ่าย
แสงแดดแผดเผาจนดอกบัวสายในมือเหี่ยวโรย แต่หัวใจความจงรักภักดีของหญิงชรา ยังคงเบิกบาน
เมื่อในหลวงเสด็จมาถึง ตรงมาที่คุณยายได้ยกดอกบัวสายโรยราสามดอกนั้นขึ้นจนเหนือศีรษะ แสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงโน้มพระองค์ลงมาจนพระพักตร์ เกือบชิดกับศีรษะของคุณยาย
ทรงแย้มพระสรวลอย่างอ่อนโยน พระหัตถ์แตะมือกร้านคล้ำของเกษตรกรชาวภาคอีสานอย่างนุ่มนวล
ไม่มีใครรู้ว่าทรงกระซิบคำใดกับคุณยาย แต่แน่นอนว่า คุณยายไม่มีวันลืมเช่นเดียวกับที่ในหลวง
ไม่ทรงลืมราษฎรคนสำคัญที่ทรงพบริมถนนวันนั้นหลังจากที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ
แล้ว ทางสำนักพระราชวัง ได้ส่งภาพรับเสด็จของคุณยายตุ้ม พร้อมพระบรมรูปหล่อด้วยปูนพาสเตอร์
ผ่านมาทางอำเภอธาตุพนม ให้คุณยายตุ้มไว้เป็นที่ระลึกพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้นี้
อาจมีส่วนชุบชูชีวิตให้คุณยายอายุยืนยาวขึ้นอีกด้วย ความสุขต่อมาอีก 3 ปี เต็ม ๆ
โดยคุณยายตุ้ม จันทนิตย์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2501
หลังจากนั้นลูกหลานได้สร้างธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิคุณยายตุ้ม จันทนิตย์ ไว้ ณ หน้าบ้านเลขที่ 22 หมู่ที่ 11
ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในบริเวณพื้นที่ 2 งาน
โดยยกผืนดินดังกล่าวให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ สมบัติของแผ่นดิน ภาพที่คุณยายตุ้ม จันทนิตย์
ทูลเกล้าฯถวายดอกบัวสามดอก ถ่ายโดยหัวหน้าช่างภาพส่วนพระองค์ อาณัติ บุนนาค
ได้บันทึกภาพวินาทีสำคัญที่ถูกเรียกว่า ภาพดอกไม้แห่งหัวใจ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นภาพประวัติศาสตร์ภาพหนึ่งของประเทศไทย
และเป็นภาพที่ใช้แทนคำพูดได้มากกว่าหนึ่งล้านคำ




พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่ ทางภาคใต้
คือจังหวัดนราธิวาส ทางใต้นี้มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรดมีความเค็ม
พระองค์จึงทรงรับสั่งถามกับชาวบ้าน ที่มาเฝ้ารับเสด็จว่า "ดินหลังบ้านเป็นอย่างไร เค็มไหม "
ชาวบ้านก็มองหน้ากันแล้วทำหน้างง ก่อนตอบกลับมาว่า " ไม่เคยชิมซักที "
ในหลวงก็รับทรงสั่งกับข้าราชบริภารที่ตามเสด็จว่า "ชาวบ้านแถวนี้เขามีอารมณ์ขันกันดีนะ




แอลกอฮอล์เข้มข้น
......................

เหตุการณ์เมื่อปี 2513 วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด อ.พร้าว เชียงใหม่
ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา ท่านก็ทรงเสด็จ ตามเขาเข้าไปในบ้าน
ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับให้พระองค์ประทับ

แล้วก็รินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่คงไม่ค่อยจะได้ล้าง จนมีคราบดำๆ จับอยู่
ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วงพระองค์ท่าน เพราะปกติไม่ทรงใช้ถ้วยที่มีคราบ
จึงกระซิบทูลว่าควรจะทรงแค่ทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทาน

ผู้ติดตามจะจัดการเอง แต่ท่านก็ทรงดวดเอง กร้อบเดียวเกลี้ยง
หลังจากนั้นจึงทรงรับสั่งว่า “ ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด ”




เส้นทางที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินนั้น ไม่ได้ราบเรียบ สุขสบายเลย แต่พระองค์ท่านก็ยังจะเสด็จไป ไปเพื่อช่วยประชาชนของพระองค์
และในหลายต่อหลายครั้งที่เราเห็นภาพสมเด็จพระเทพราชสุดา โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถอยู่เสมอ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงตรัสไว้ว่า

"... เพราะตั้งแต่เกิดมาจำความได้ ก็เห็นทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงคิดหาวิธีต่าง ๆ ที่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดียิ่งขึ้น

เมื่อโตมา พอมีแรงทำอะไรได้ก็ทำไปอย่างอัตโนมัติ โดยทำตามกระแสพระราชดำรัส หรือทำตามแนวพระราชดำริ การช่วยเหลือประชาชนเป็นหน้าที่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องทำเป็นประจำอยู่แล้ว....."

ด้วยพระราชปณิธานในพระ็บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและทุกพระองค์ในราชสกุลมหิดลเป็นไปเพื่อ
"ประโยชน์ และความสุขของปวงชนชาวไทย"

.... ด้วยพระมหากรุณา่ธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระองค์ประทานให้กับเราชาวไทยนั้นคงไม่มีผู้ใดจะเปรียบ หรือทดแทนได้




ทรงลำบากตรากตรำเพื่อประชาชนผู้ยากไร้...

“...เวลาเสด็จฯ ไปที่ไหน พระองค์จะเสด็จฯ พระราชดำเนินนำไปก่อน เราก็วิ่ง
คนในขบวนก็วิ่งกันกระเจิง ตามเสด็จฯ ไม่ค่อยทัน พระองค์ทรงพระราชดำเนินเก่ง...”

“...เวลาเสด็จพระราชดำเนินก็จะทรงนำ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
และบางครั้งก็ต้องทรงช่วยให้เสด็จฯ ขึ้นเขา แล้วก็ ทรงร้องเพลงลูกทุ่งอยู่บนเขา
’ตายแน่คราวนี้ต้องตายแน่ ๆ“

เวลาตามเสด็จฯ จึงลำบาก จะวิ่งหนีเข้าร่ม หรือแอบไปกินอะไรอย่างนี้ไม่ได้
ไม่ใช่ว่าพระองค์ทรงห้ามไม่ให้เรากิน ไม่ให้เราหลบแดด
พระองค์ก็ทรงไม่หลบแดด ไม่ได้เสวยด้วยเหมือนกัน

บางครั้งพระองค์เองทรงประสงค์ให้คนที่ตามเสด็จฯ ได้รับประทานด้วยซ้ำ
เมื่อรับประทานเสร็จแล้วจะได้พร้อมที่จะทำงาน
แต่ส่วนใหญ่เจ้าภาพจะบอกว่า พวกนี้ไม่สุภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังไม่เสวย แล้วทำไมถึงกินก่อน
เป็นบาปกรรม คนเขาก็คิดอย่างนั้น พระองค์เองทรงลำบากกว่าคนอื่นเสียด้วยซ้ำ
ตากแดดก็ตากด้วยกัน เพราะฉะนั้น ฉันนี่มีวิตามินดีเยอะมากเลย กระดูกแข็งแรง...”

เรื่องเล่าจากสมเด็จพระเทพฯ ‘หลักทรงงาน’ ในหลวงของคนไทย




พระราชบันทึกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
...................

ข้าพเจ้าสอบถามชาวนาเหล่านั้น ถึงการประกอบอาชีพของพวกเขา และคิดว่าความแห้งแล้งจะทำลายไร่นา แต่ที่น่าประหลาดก็คือพวกเขาประสบปัญหาน้ำท่วม สำหรับข้าพเจ้านี่เป็นเรื่องประหลาด เพราะพื้นที่รอบๆ มีสภาพคล้ายทะเลทราย และมีเมฆลอยอยู่เต็มทองฟ้า ในความเป็นจริงพวกเขายังประสบภาวะทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม

ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ทีว่าจะทำอย่างไรให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องที่ทุรกันดาร

แนวพระราชดำริจากพระราชบันทึกนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม




“ต่อไปจะมีน้ำ”
.......................

บทความ “น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม ทั่วเขตคามชื่นธารา” เขียนโดย มนูญ มุกข์ประดิษฐ์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ฉบับวันที่ 5 ธ.ค.2528 ได้เล่าให้ผู้อ่านชาวไทยได้ประจักษ์ถึงเรื่องอัศจรรย์ของ “ในหลวง” กับ “น้ำ”
ที่เกิดขึ้นในคำวันหนึ่งของเดือน ก.พ.2528

ด้วยความทุกข์ที่เปี่ยมล้นใจอันเนื่องมาจากต้องเผชิญความแห้งแล้งอย่างหนัก หญิงชราคนนึ่งที่มาเข้าเฝ้าฯ
รับเสด็จได้คลานเข้ามากอดพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลด้วยน้ำตาอาบแก้ม ขอพระราชทานน้ำ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบว่า “ยายไม่ต้องห่วงแล้วนะ ต่อไปนี้จะมีน้ำ เราเอาน้ำมาให้”
แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระดำเนินกลับไปยังรถพระที่นั่งซึ่งจอด ห่างออกไปราว 5 เมตร
ปรากฎว่าท่ามกลางอากาศที่ร้อนแล้ง จู่ๆ ก็เกิดฝนตกลงมาเป็นครั้งแรกในรอบปี ทำให้ผู้ตามเสด็จและราษฎรในที่นั้นถึงกับงุนงงไปตามๆ กัน





กาแฟต้นเดียว
.....................

ตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาชาวเขา คือเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรไร่กาแฟที่ชาวกะเหรี่ยงปลูกไว้ บริเวณพื้นที่บ้างอังกาน้อย ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยที่ไร่แห่งนั้นมีต้นกาแฟเพียงต้นเดียว

มีพระราชกระแสกับข้าราชบริพารที่อยู่ในขบวนเสด็จฯ ที่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการเสด็จฯ ข้ามเขาสูงมาเพื่อการนี้ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมไปด้วยพระเมตตาว่า

"...แต่ก่อนเขาปลูกฝิ่น เราไปพูดจาชี้แจงชักชวนให้เขามาลองปลูกกาแฟแทน กะเหรี่ยงไม่เคยปลูกกาแฟมาก่อน ยังดีที่กาแฟไม่ตายเสียหมด แต่ยังเหลืออยู่หนึ่งต้นนั้น ต้องถือว่าเป็นความก้าวหน้าสำหรับกะเหรี่ยง..."

จึงต้องเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรจะได้แนะนำเขาต่อไปว่า ทำอย่างไรกาแฟจึงจะเหลืออยู่มากกว่าหนึ่งต้น ปรากฏว่าปีต่อมาราษฎรชาวกะเหรี่ยงดอยอินทนนท์ขายกาแฟได้เป็นเงินต่อไร่ต่อปี สูงกว่าที่เคยขายฝิ่นได้




ฉันไปได้

วิธีทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะไม่เหมือนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาไปตรวจงาน เกือบ ๑oo เปอร์เซ็นต์คือ เชิญเข้าห้อง ฟังรายงานสรุป ดูจอ น่าเบื่อมาก

แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปทรงงานยังพื้นที่จริง ซึ่งเกือบ ๑oo เปอร์เซ็นต์เป็นที่ทุรกันดาร บางแห่งข้าราชการยังไม่เคยไป หรือไม่กล้าไปเพราะกลัวอันตรายด้วยซ้ำ แต่พระองค์ท่านไม่มีคำว่า ยกเลิกเพราะอากาศไม่ดี แถมยังเสด็จฯ ออกนอกเส้นทางประจำ

ถ้าทีมถวายความปลอดภัยกราบบังคมทูลว่า
"เสด็จฯ ไม่ได้ ไม่มีถนนตัดผ่านพระพุทธเจ้าข้า"

พระองค์ท่านจะรับสั่งกลับมาว่า "ฉันไปได้"

ทั้งที่หลายครั้งต้องทรงพระดำเนินปีนป่ายไปบนภูเขา หรือทรงพระดำเนินไต่ลงไปในหุบเหวที่เต็มไปด้วยโคลนตม ปลิง และทาก จนค่ำมืดดึกดื่น หลายครั้งสมเด็จพระเทพฯ ตามเสด็จฯ ด้วย มีท่านพระองค์เดียวที่ดึงทากออกจากพระบาทได้ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องเล็กสำหรับในหลวง

คืนหนึ่งที่ผมได้ร่วมโต๊ะเสวยหลังจากที่พระองค์ท่านเสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในพื้นที่ทุรกันดารแห่งหนึ่ง ในภาคอีสาน พระราชกระแสรับสั่งที่ยังก้องอยู่ในหูของผมจนถึงทุกวันนี้ คือ

"ที่เขายากจน ต้องมาทำงานหากินในพื้นที่แห้งแล้งเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าเขาอยากจะมา แต่เพราะเขาไม่มีที่อื่นจะไป ที่ฉันช่วยเขา ไม่ใช่จะช่วยตลอดไป แต่ช่วยเพื่อให้เขาได้มีโอกาสช่วยตัวเองต่อไป"




"สามร้อยตุ่ม"

มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย
รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงต่าง ๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่ อยู่ภายใต้แสงไฟฉาย
ที่มีผู้ส่องถวายอย่างไม่สะดุ้งสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบา ๆ เท่านั้น

ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง "ยุง" ด้วยพระอารมณ์ขันว่า

"..ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแดง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี.."




" ฉันทนได้ "
.................

ในเดือนหนึ่งของปี 2528 พระทนต์องค์หนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หักเฉียดโพรงประสาทฟัน

พระทนต์องค์นั้นต้องการการถวายการรักษาเร่งด่วน แต่ขณะนั้นกรุงเทพฯ ก็กำลังประสบปัญหาอุทกภัย ต้องการการบรรเทาทุกข์เร่งด่วนเช่นกันเมื่อทันตแพทย์เข้ามาถวายการรักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งถามว่า

"จะใช้เวลานานเท่าใด "

ทันตแพทย์กราบบังคมทูลว่า อาจต้องใช้เวลา 1 - 2 ชม.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า

"ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฏรและช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำท่วมก่อน "




สมเด็จพระเทพฯ กำลังทรงดึงตัวทากที่กัดพระเจ้าอยู่หัว เต็มทั่วพระบาท
หลังจากขบวนเคลื่อนไปไม่นาน ทรงตรัสมาทางวิทยุว่า

"หยุดขบวนสักประเดี๋ยว ขอหยุดจับ ตัวยึกยือก่อน"

ปรากฏว่ามีอยู่ตัวหนึ่งติดพระศอ ทรงปลิดออก ทรงปล่อยตัวทากลงข้างทาง
ทรงตรัสแบบอารมณ์ขันว่า "โถ..เขามาขอทาน ขอเลือดไปถึงสองซีซี ให้เขาไปเถอะ"



Credit : Youtube.com,http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F13015631/F13015631.html
เรียบเรียง : Ruengdd.com