งานเป่ายันต์เกราะเพชร ณ วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี



วัดท่าขนุน และความรู้เรื่องยันต์เกราะเพชร

ที่ตั้ง ตั้งอยู่เลขที่ ๒๓๕ บ้านท่าขนุน ถนนกาญจนบุรี - สังขละบุรี หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย 

ยันต์เกราะเพชร

การเป่ายันต์เกราะเพชร หลวงพ่อปานท่านบอกว่าเป็น ตำราพระร่วง สำหรับยันต์เกราะเพชรนั้นก็ได้จากบท อิ ติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ถ้าอ่านลงตามแบบหนังสือจีน คือ อ่านตามขวาง ก็ได้ใจความว่า อิระชาคะตะระสา ติหังจะโตโรถินัง ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น แล้วก็ชักสูตรเป็นตาข่าย


เวลาจะเป่ายันต์เกราะเพชร ท่านก็เขียนใส่กระดานดำ เมื่อท่านเขียนแล้ว ก็ให้คนที่จะมารับยันต์เกราะเพชร จุดธูปเทียนบูชารับศีลแล้วก็ภาวนา ว่า "พุท" "โธ" หายใจออก

ถ้ามีลูกอยู่ในท้อง ก็ให้จุดธูปแทนลูกในท้อง ๑ ดอก เวลาคลอดบุตรออกมา ก็จะมียันต์ทั่วทั้งตัว แล้วภายในเวลา ๗ วัน ยันต์ก็จะหายเ้ข้าไปในตัว

สำหรับผู้ใหญ่นั้นย่อมไม่เห็นยันต์ ถ้าใครรักษาไว้ด้วยดี เมื่อเวลาตายเขาเอาไปเผา จะเห็นมีรูปยันต์ที่กระดูก

ยันต์เกราะเพชรของหลวงพ่อปานนี้ ท่านกล่าวว่าท่านได้มาจาก ยอดธงมหาพิชัยสงคราม เป็นธงออกศึก ท่านตัดเศียรเอามาโดยเฉพาะ แบ่งจากยอดธง คือ ธงนั้นมียันต์มาก ทีนี้เอายันต์หนึ่งในยอดธงมหาพิชัยสงคราม ท่านให้ชื่อว่า ยันต์เกราะเพชร

เวลาที่ท่านจะเป่าให้ ท่านอธิบายว่า ของท่านไม่รับรองเรื่องคงกระพันชาตรี รับรองแต่เพียงว่า ใครรับยันต์เกราะเพชรแล้ว
๑. จะไม่ตายโหง
๒. จะไม่ถูกคุณผี คุณคน จะป้องกันสรรพอันตรายที่บุคคลทั้งหลายทำมาด้วยวิชาการต่าง ๆ
๓. จะไม่ตายด้วยพิษของสัตว์พิษ อย่างนี้เป็นต้น

และบุคคลทั้งหลาย ถ้าได้รับยันต์เกราะเพชรไปแล้ว ถ้าบูชาไว้ด้วยดี ใครก็ตามจะกลั่นแกล้งบุคคลที่ได้รับยันต์เกราะเพชรไปแล้ว ท่านห้ามไม่ให้โกรธตอบ ให้ทำเฉยแล้วบุคคลนั้นจะได้รับผลกรรมที่ตัวทำนั้น หมายความว่า เราไม่ต้องทำตอบ เมื่อเขาแกล้งเราด้วยวิธีใด ก็วิธีนั้นแหละจะลงโทษเขา ถ้าเขาคิดจะฆ่าเรา เขาก็ตายเอง ถ้าเขาจะกลั่นแกล้งเราให้ย่อยยับ เขาก็ย่อยยับเอง ถ้าเขาจะทำให้เราลำบาก เขาก็ลำบากเอง อันนี้เป็นวิธีการอันหนึ่งที่ไม่ใช่ทำให้เขาลำบาก ถ้าเขาทำ ผลนั้นเขาจะพึงได้รับเอง เราไม่บาป

แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า
๑. ห้ามดื่มสุราเมรัยเด็ดขาด
๒. ห้ามทุจริตโดยการลักขโมย ฉ้อโกง อย่างนี้เป็นต้น

ถ้าใครประพฤติปฏิบัติในศีล ๒ ประการได้ ยันต์เกราะเพชรก็จะคุ้มครองบุคคลผู้นั้น ถ้าใครรักษาศีลไม่ได้ ยันต์เกราะเพชรจะไม่คุ้มครอง อันนี้เป็นความจริง


ทีนี้วิธีเป่ายันต์ ท่านเป่าทีละศาลา คือ นั่งกันเต็มศาลาแล้วท่านให้จุดธูปเทียนบูชารับศีลแล้วก็ภาวนา ว่า "พุทโธ" ท่านที่นั่งภาวนาบางคนมีอาการหนักศีรษะบ้าง เหมือนไรไต่อยู่ที่ศีรษะบ้าง มีอาการร้อนหู ร้อนหน้าบ้าง อย่างนี้เรียกว่า ยันต์เกราะเพชรเข้าถึงตัว อาการอย่างนี้จะทรงอยู่ ๒-๓ วัน ก็จะหาย ทั้งนี้เพราะยันต์เกราะเพชรจะค่อย ๆ ซึมเ้ข้าไปทีละนิด จนกระทั่งทั่วร่างกาย แล้วอาการนี้จึงจะหาย

ถ้าหากว่ายันต์เกราะเพชรยังไหลไม่ทั่วร่างกายเพียงใด ความรู้สึกหนัก หรือร้อนหน้าร้อนตา หรือคล้ายไรไต่ตามหน้าตาก็จะยังปรากฏอยู่

การเป่ายันต์เกราะเพชรแต่ละคราว ต้องเป่าเฉพาะวันเสาร์ ๕ คือ วันเสาร์ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำ จะเป็นเดือนอะไรก็ได้

การเป่ายันต์์เกราะเพชรของท่านไม่มีค่าครู ไม่มีค่าวิชา ไม่มีค่าป่วยการ คือ หลวงพ่อทำอะไรทุกอย่างไม่หวังผลตอบแทน ทำเพื่อเมตตาสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะวันเป่ายันต์เกราะเพชรของท่านถือเป็น วันไหว้ครู ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายจะต้องมาพร้อมกันเวลาในเพล ก่อนเพล หรือหลังเที่ยง ตั้งแต่เช้าประมาณ ๒ โมงเช้า จะรวบรวมสรรพสิ่งทั้งหลายที่บรรดาศิษยานุศิษย์นำมาเป็นการคารวะครูแล้วก็ทำ พิธีไหว้ครูเสร็จภายในเพล

ตอนนั้นใครจะลงตะกรุดพิสมร ผ้ายันต์ ก็เขียนเอาไป ใครชอบใจยันต์อะไร ชอบตะกรุดอะไรก็เขียนลงไป เอาไปวางในสถานที่ท่านไหว้ครู

เมื่ออัญเชิญครูเสร็จ ท่านก็จะปลุกเสกของเหล่านั้นเสร็จไปด้วยกัน แล้วต่างคนต่างนำกลับ อันนี้ก็ไม่มีค่าครูเหมือนกัน ไม่มีค่าป่วยการ

บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายท่านก็ไม่บังคับว่าใครจะมาหรือไม่มา มาแล้วจะนำของอะไรมา หรืือไม่นำมาท่านไม่บังคับ สิ่งของสิ่งใดจำเป็นในการไหว้ครู ท่านจะนำทำของท่านเสร็จครบถ้วนบริบูรณ์ ถือว่าเป็นกิจของท่าน ถ้าบรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งหลายจะร่วมในการไหว้ครูก็เป็นสิทธิของศิษย์ที่มี คารวะในครูบาอาจารย์ 

เวลาไหว้ครู ท่านเลี้ยงอาหารด้วย เวลาเป่ายันต์คนเป็นหมื่น ท่านก็เลี้ยงอาหารหุงข้าวเลี้ยง หุงด้วยกะทะ ข้าวต้มข้าวแกง ตามที่ท่านจะทำได้ เรียกว่า บุคคลใด ใครจะกินอย่างไรท่านไม่รู้ ท่านรู้แต่เพียงว่ามีอาหารให้บริโภค เพราะท่านถือตามแบบพระว่า พระจะต้องทำตนเป็นคนเลี้ยงง่าย ถ้าใครเป็นคนกินยากที่มนุษย์ธรรมดากินไม่ได้ ก็ไปหากินเอาเอง ท่านทำอาหารตามที่มนุษย์ธรรมดากินได้ คือ เอาชาวบ้านมาทำครัว มาต้มมาแกง

ยันต์เกราะเพชรของท่าน เป่าคราวหนึ่งเป็นพันคน ศาลาของท่านจุคนประมาณ ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ คนในแต่ละคราว แต่ก็ต้องทำเป็นรุ่น ๆ อย่างน้อยที่สุดก็ ๕ - ๖ รุ่นต่อ ๑ คราว ต่อหนึ่งวาระ (หมายถึง เสาร์ ๕ ครั้งหนึ่ง)

นี่เราจะเห็นได้ว่าคนที่รับยันต์เกราะเพ
ชรของหลวงพ่อปานนะ ครั้งหนึ่งก็ไม่น้อยกว่าหมื่นคน


ขอบคุณที่มา : ตำราพระบูรพาจารย์
(คัดลอกอีกที จากหนังสือ สมบัติพ่อให้ พิมพ์ครั้งที่ ๒ หน้า ๑๓๘ - ๑๔๐)


ท่านที่ต้องการไป สามารถจองทริปเป่ายันต์เกราะเพชร ณ วัดท่าขนุน

ได้ที่ลิงค์นี้ครับ
http://goo.gl/AvYfz


ภาพบรรยากาศในช่วงเช้ามืด พระอาจารย์นำพระขรรค์โสฬสขึ้นตั้งบูชา และตรวจความพร้อมของเครื่องบวงสรวง








พระปิดตามหาเศรษฐีเงินล้าน รุ่น ๒ เนื้อเงินและเนื้อนวโลหะ มีแค่อย่างละ ๑๐๐ องค์ เท่านั้น 










ภาพพระพุทธรูปนาคปรก ๙ เศียร ฉลอง ๒,๖๐๐ ปี พุทธชยันตี และพระขรรค์โสฬส ๘๔ พรรษาธรรมิกราช



เวลา ๗.๓๐ น.เริ่มพิธีบวงสรวงไหว้ครูประจำปีและพุทธาภิเษกวัตถุมงคล




























รับวัตถุมงคลคืนหลังพิธีพุทธาภิเษก


รำถวาย


รำอวยพร

รำฉุยฉายยอพระกลิ่น

เดี่ยวจะเข้

ระบำดอกบัว


มวยไชยา

โห..มันกะเล่นพี่คืนต่อหน้าประชาชี..!


เวลา ๑๐.๐๐ น. เริ่มพิธีรับยันต์เกราะเพชรในช่วงเช้า






























คณะเว็บพลังจิตขอถ่ายภาพหมู่กับพระอาจารย์ไว้เป็นที่ระลึกก่อนเดินทางกลับกทม.
เวลา ๑๓.๐๐ น. เริ่มพิธีรับยันต์เกราะเพชรในช่วงบ่าย















พิธีไหว้ครูพุทธาภิเษก เป่ายันต์เกราะเพชร วัดท่าขนุน - อุทยานประวัติศาสตร์สงคราม ๙ ทัพ จ. กาญจนบุรี วันที่ ๑๖ มี.ค. ๕๖ (ฤกษ์เสาร์ห้าและอมฤตโชค)

สามารถจองทริปเป่ายันต์เกราะเพชร ณ วัดท่าขนุน ที่ลิงค์นี้ครับ
http://goo.gl/AvYfz




Credit :Palungjit.com,watthakhanun.com,Youtube.com
เรียบเรียง : Ruengdd.com