ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส(Nine Entertain Awards) 2012


เป็นงานประกาศผลรางวัลแก่บุคคลในวงการบันเทิง ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ซึ่งจัดโดย กองบรรณาธิการข่าวศิลปวัฒนธรรมและบันเทิง สำนักข่าวไทย โดยงานนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย รวมถึงมีการถ่ายทอดงานทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ด้วยเช่นกัน

ทราบผลกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานประกาศรางวัล "ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส 2012" โดยในปีนี้จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ สนามหลวง ภายใต้คอนเซ็ปต์ "หน้าม่านคุณภาพ หลังม่านคุณธรรม” ซึ่งภายในงานนอกจากจะมีบรรดาสื่อมวลชน แฟนคลับ ที่มาร่วมงานเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีเหล่าดาราที่ตบเท้ามาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง อาทิ พลอย – เฌอมาลย์, บี้ – สุกฤษฏิ์, นัท มีเรีย, โดม - ปกรณ์ ลัม, ปีเตอร์ – นพชัย, กัน เดอะสตาร์, ตูมตาม เดอะสตาร์ และดาราดังอีกมากมาย

          วันนี้เราเก็บภาพบรรยากาศ พร้อมผลการประกาศรางวัลมาฝากกันด้วยดังนี้...

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลบันเทิงเทิดธรรม ได้แก่ พ่ออี๊ด - สุประวัติ ปัทมสูตร

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลครอบครัวแห่งปี ได้แก่ ครอบครัวสุโกศล

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลทีมสร้างสรรค์แห่งปี ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่องอุโมงค์ผาเมือง

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลภาพยนตร์แห่งปี ได้แก่ ฝนตกขึ้นฟ้า

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี ได้แก่ มงกุฏดอกส้ม

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลศิลปินเดี่ยวแห่งปี ได้แก่ เต้น - นรารักษ์

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลศิลปินกลุ่มแห่งปี ได้แก่ สล็อตแมชชีน

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลเพลงแห่งปี ได้แก่ หน่วง ศิลปิน Room39

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี ได้แก่ นก - จริยา แอนโฟเน่

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลนักแสดงชายแห่งปี ได้แก่ ปีเตอร์-นพชัย ชัยนาม

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

          รางวัลขวัญใจมหาชน ได้แก่ บี้ เดอะสตาร์ (คว้ารางวัลนี้ถึง 4 ปีซ้อน)

          รางวัลพิธีกรแห่งปี ได้แก่ น้าเน็ก - เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

          รางวัลบุคคลเบื้องหลังแห่งปี ได้แก่ คุณแดง - สุรางค์ เปรมปรีดิ์

ภาพบรรยากาศภายในงาน...ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012 

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012

ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2012


ประวัติ

การจัดการประกาศผลรางวัล “ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์” เกิดจากความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งปัจจุบันสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อบันเทิงมีบทบาท และอิทธิพลทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อการดำเนินชีวิต และวิธีคิดของประชาชนมากกว่าในอดีต เพราะประชาชนสามารถเข้าถึง หรือบริโภคสื่อได้หลากหลายช่องทาง และรวดเร็วยิ่งขึ้น กอปรกับการดำเนินงาน ของสื่อมีการแข่งขันสูงขึ้น ช่วงชิงความสด ใหม่ ทันเหตุการณ์ และไม่ยึดติดกับกรอบหรือขนบเดิมๆ จนกระทั่งบางครั้ง อาจขาดการตรวจสอบ ที่รอบคอบเพียงพอ สิ่งที่ตามมาคือ การนำเสนอข่าวสาร และสาระบันเทิงของสื่อมวลชน กลายเป็นดาบสองคมที่ให้ทั้งคุณและโทษ แก่ผู้บริโภค กล่าวคือ ขณะที่สื่อทำหน้าที่ให้ความรู้ และความบันเทิงแก่ประชาชนอยู่นั้น ในนาทีเดียวกัน สื่อก็อาจยัดเยียดแนวความคิด และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือปลูกฝังค่านิยมผิดๆ แก่ประชาชนได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กและเยาวชน ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และผู้ที่ไม่รู้เท่าทันสื่อมวลชน

[แก้]สีสันและเอกลักษณ์ของงาน

เอกลักษณ์และสีสันของงานประกาศผลรางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ คือ การที่ไม่มีการแบ่งแยกค่ายสังกัดหรือสถานีโทรทัศน์ต่างๆโดยเปิดโอกาสให้บุคคลในวงการบันเทิงทุกคนได้มีโอกาสรับรางวัลอันทรงเกียรติ โดยหน้างาน บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ก่อนที่จะเริ่มงานภายในหอประชุม จะมีแฟชั่นของบุคคลในวงการบันเทิงทั้ง ดารา นักร้อง รวมถึงคนเบื้องหลังในวงการบันเทิง บนพรมม่วง (Purple Carpet) โดยในงานประกาศผลรางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2552 นี้ ได้มีศิลปินกลุ่มจากประเทศเกาหลี วง ทูพีเอ็ม (2PM) มาสร้างสีสันและร่วมแสดงโชว์พิเศษบนเวทีด้วย

[แก้]เพลงประจำการประกาศผลรางวัล

เพลงประจำการประกาศผลรางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ หรือ เพลงธีม คือ เพลงด้วยหัวใจ ซึ่งในปีแรกของการจัดการประกาศผลรางวัล ผู้ขับร้องเพลงนี้คือ แก้ม – วิชญาณี เปียกลิ่น และในครั้งที่ 2 ขับร้องโดย อ๊อฟ – ปองศักดิ์ รัตนพงษ์ ครั้งที่ 3 ขับร้องโดย เจนนิเฟอร์ คิ้ม ครั้งที่ 4 ขับร้องโดย คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู

[แก้]ประติมากรรมรางวัล

จากแนวความคิดที่ บมจ.อสมท ต้องการมอบ รางวัลไนน์ เอนเทอร์เทน อวอร์ดส์ ให้แก่คนบันเทิงที่มี ความประพฤติดี มีน้ำใจต่อผู้อื่น และบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชน และประชาชนทั่วไป ศิลปิน (นายวิจิตร อภิชาติเกรียงไกร) จึงได้ออกแบบประติมากรรม รางวัลนี้ บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดเป็นงานประติมากรรมสำริด รูปบุคคลยืนโค้งคำนับ รับเสียงปรบมือ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
  • ดาว หมายถึง สัญลักษณ์ของงาน (ไนน์เอ็นเตอร์เทน) และ หมายถึงความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและความคิดฝัน
  • ลักษณะท่าทางโค้งคำนับ หมายถึง การนอบน้อม สำนึกในบุณคุณ ของประชาชน เป็นคนดีมีคุณธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน
  • ทรงผมปลิว หมายถึง บุคคลที่เป็นนักแสดง จะมีความเคลื่อนไหว พลังของการแสดงส่งผ่าน ให้เกิดลมที่ผ่านตัว ทำให้ผมปลิวไปด้านหลัง และอาจหมายถึงเสียงปรบมือ ของประชาชน ที่แปรเปลี่ยนเป็นพลัง เกิดแรงปะทะ ทำให้ผมปลิว
  • ชุดทักซิโด หมายถึง นักแสดงที่ยืนอยู่บนเวทีอันทรงเกียรติ
  • ฐานสูง หมายถึง นักแสดงหรือผู้ที่สร้างสรรค์สื่อบันเทิง ย่อมเป็นที่สนใจของประชาชน เสมือนกับยืนอยู่บนที่สูง เป็นที่จับตามองของผู้อื่น จึงต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดี การที่ยืนอยู่บนที่สูง จึงเป็นสิ่งย้ำเตือนให้ตระหนักว่า เป็นบุคคลที่อยู่ในสายตาของประชาชน ควรทำในสิ่งที่ถูกต้อง

[แก้]ประเภทรางวัล

รางวัลในงานประกาศผลไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ แบ่งออกเป็น 13 สาขา ดังนี้
  • รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม
  • รางวัลนักร้องชายแห่งปี
  • รางวัลนักร้องหญิงแห่งปี
  • รางวัลนักแสดงชายแห่งปี
  • รางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี
  • รางวัลละครโทรทัศน์แห่งปี
  • รางวัลภาพยนตร์แห่งปี
  • รางวัลเพลงแห่งปี
  • รางวัลครอบครัวบันเทิงแห่งปี
  • รางวัลคนเบื้องหลังหญิงแห่งปี
  • รางวัลคนเบื้องหลังชายแห่งปี
  • รางวัลพิธีกรแห่งปี
  • รางวัลขวัญใจมหาชน
ต่อมาในปี 2552 ซึ่งงานประกาศผลไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ได้มีการปรับเปลี่ยนรางวัลโดยนำเอารางวัล คนเบื้องหลังชายและหญิงแห่งปี มารวมกันเป็นรางวัลเดียว เป็นรางวัลบุคคลเบื้องหลังแห่งปี และเพิ่มรางวัล ทีมสร้างสรรค์แห่งปี ขึ้นมา
และในปี 2554 ซึ่งงานประกาศผลไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ได้มีการปรับเปลี่ยนรางวัลโดยนำเอารางวัล นักร้องชายและหญิงแห่งปี มารวมกันเป็นรางวัลเดียว เป็นรางวัล นักร้องเดี่ยวแห่งปี และเพิ่มรางวัล นักร้องกลุ่มแห่งปี ขึ้นมา

[แก้]รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลเกียรติยศ ที่ทรงคุณค่าที่สุดของวงการบันเทิง รางวัล “บันเทิงเทิดธรรม” เพื่อเชิดชูเกียรติคนบันเทิงที่มีคุณภาพและคุณธรรม ในโอกาสที่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จะจัดงานประกาศผลรางวัลบันเทิงยอดเยี่ยมแห่งปี “ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด” จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อขอพระราชทานถ้วยรางวัลเกียรติยศ “บันเทิงเทิดธรรม” เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติ และเป็นขวัญกำลังใจ แก่ศิลปินนักแสดงที่มีความประพฤติดี ยึดมั่นในคุณธรรม และสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ เป็นเกียรติประวัติแก่วงการบันเทิงสืบต่อไป

[แก้]รายชื่อผู้ได้รับรางวัล

[แก้]ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 1 (Nine Entertain Awards 2008) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

[แก้]ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 2 (Nine Entertain Awards 2009) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

[แก้]ไนน์ เอ็นเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 3 (Nine Entertain Awards 2010) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

[แก้]ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 4 (Nine Entertain Awards 2011) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

[แก้]ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5

งานประกาศผลรางวัล ไนน์ เอนเตอร์เทน อวอร์ดส์ ครั้งที่ 5 (Nine Entertain Awards 2012) จัดขึ้น เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2555 ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ และมีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ด้วยเช่นกัน

[แก้]ดูเพิ่ม


Credit : กระปุกดอทคอม,th.wikipedia.org,Youtube.com
เรียบเรียง : ruengdd.com,เรื่องดีดี.com