เลดี้กาก้ากับเดอะ บอร์น ดิส เวย์ บอลล์ ทัวร์(LADY GAGA THE BORN THIS WAY BALL)





การรอคอยสิ้นสุดลง เมื่อศิลปินที่คนไทยอยากดูโชว์มากที่สุด นั่นคือ เลดี้ กาก้า มาแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทยในเดือนพฤษภาคม

หลังจากที่มีข่าวลือกันต่างนานาว่า เลดี้ กาก้า จะมาเมืองไทยในปีนี้หรือไม่?


ในที่สุด ในงาน “บีอีซี-เทโร โชว์ เคส”(BEC-Tero Show Case) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ณ อาคารมาลีนนท์ ทาวเวอร์ 2 ได้มีการเปิดเผยว่า ศิลปินสาวอเมริกันผู้นี้จะมาเปิดคอนเสิร์ตที่เมืองไทยอย่างแน่นอน

คอนเสิร์ตนี้จะจัดขึ้นที่สนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานซึ่งรับคนดูได้ 3-4 หมื่นคน ในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ส่วนวันที่จัดแน่นอน ทางบริษัท บีอีซี เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ผู้จัดงานบอกว่า ยังไม่ระบุชัดเจนต้องดูเรื่องรูปแบบเวทีก่อน

คอนเสิร์ตครั้งนี้เป็นหนึ่งในโปรแกรมทัวร์คอนเสิร์ตเวิลด์ทัวร์ครั้งที่ 3 ของเลดี้ กาก้า ซึ่งใช้ชื่อว่า “เดอะ บอร์น ดิส เวย์ บอลล์ ทัวร์” (The Born This Way Ball Tour ) โดยในเพจของเลดี้ กาก้า เริ่มประกาศทัวร์นี้ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ทัวร์ครั้งนี้ เลดี กาก้าได้ประกาศว่า จะจัดขึ้นทั้งหมด 110 รอบ โดยเริ่มที่ทวีปเอเชียและออสเตรเลียก่อน...

ในเพจของเธอได้ประกาศโชว์ 11 รอบแรก ของ “เดอะ บอร์น ดิส เวย์ บอลล์ ทัวร์” โดยประเดิมที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ในเป็นสถานที่แรกในวันที่ 27 เมษายน 2555

จากนั้นเธอจะไปทัวร์ที่ฮ่องกง(1 รอบ), โตเกียว ญี่ปุ่น(1 รอบ), สิงคโปร์(1 รอบ) และออสเตรเลีย อีก 7 รอบ โดยกินเวลาระหว่างช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

โดยที่ในตารางทัวร์กลับไม่มีประเทศไทยอยู่ในโปรแกรม!

แต่หลังจากที่ทาง “บีอีซี” ประกาศว่าจะมีทัวร์คอนเสิร์ตชนิดช็อกทีมจัดงาน เพราะมีเพียงผู้บริหาร “บีอีซีฯ” ที่รับรู้การดีลครั้งนี้ หลังจากที่เป็นความลับและสับขาหลอกกันมาหลายเดือน

จึงเป็นการเซอร์ไพรซ์แฟนเพลงครั้งใหญ่ของ “บีอีซีฯ” ที่มีความฝันที่จะเห็นเลดี กาก้ามาเมืองไทย 

ก่อนที่จะมีคอนเสิร์ตรอบนี้ กระแสข่าวลือร่อนทั่วอินเตอร์เน็ตว่า บัตรคอนเสิร์ตของเลดี้ กาก้า ราคาแพงกระฉูดถึงหลักหมื่น แต่ในตอนนี้ “บีอีซี-เทโร” บริษัทที่จัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ ออกมายืนยันในงานแถลงข่าวคอนเสิร์ตครั้งนี้อย่างเป็นทางการว่า บัตรคอนเสิร์ต  ตั้งราคาไว้ที่ 1,500/2,500/3,500/4,500 และ ราคาสูงสุด 7,000 บาท ซื้อได้ที่ไทยทิ้กเก็ตเมเจอร์ทุกสาขา โดยเริ่มเปิดขายบัตรในวันที่ 17 มีนาคม 2555 นี้

งานแถลงข่าวคอนเสิร์ตครั้งนี้ “บีอีซี-เทโร” ได้จัดขึ้นที่ลานปาร์ค พารากอน ในยามเย็นของวันที่ 1 มีนาคม 2555 โดยในงานนี้ได้เปิดตัวสปอนเซอร์สำหรับคอนเสิร์ตเลดี้ กาก้า ได้แก่ รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า, สิงห์ คอร์เปอเรชั่น และ เมืองไทยประกันชีวิต ทั้งยังมี กิจกรรมพิเศษมากมาย เช่น ขบวนคาราวานรถจักรยานยนต์แฟนคลับกว่า 100 คัน ที่จะไปสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้คนบริเวณ ถ.ราชประสงค์และสยามสแควร์, การแสดงจากกลุ่มแดนเซอร์ 100 ชีวิตที่จะมาเต้นเพลงของเลดี้ กาก้า กลางปาร์คพารากอน

นางทิพวดี สุขุม ผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมและคอนเสิร์ตต่างประเทศ ของสิงห์ คอร์เปอเรชั่น ได้เปิดเผยว่า ทางสิงห์รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ ที่ผ่านมาสิงห์ คอร์เปอเรชั่นได้จับมือกับ “บีอีซี-เทโร” ในการจัดคอนเสิร์ตต่างประเทศอยู่เสมอมา และในครั้งนี้ก็ได้ร่วมมือกันอีกครั้ง และกว่าที่จะได้เลดี้ กาก้ามาแสดงคอนเสิร์ตที่เมืองไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดีลกันอยู่หลายปีทีเดียวจนกว่าจะมาถึงวันนี้

 นายวชิรพล เขมนิพิฐพนธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส ของเมืองไทยประกันชีวิต ในฐานะหนึ่งในสปอนเซอร์ที่จัดงานครั้งนี้ เล่าให้ฟังว่า บ้านเราไม่ได้มีคอนเสิร์ตต่างประเทศใหญ่ๆอย่างนี้มาหลายปีแล้ว ครั้งสุดท้ายที่ตอนจำได้ คือ คอนเสิร์ตของไมเคิล แจ๊คสัน เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว พอเลดี้ กาก้า มาไทยรอบนี้ ในรูปแบบคอนเสิร์ตใหญ่ จึงไม่อยากให้แฟนเพลงชาวไทยพลาดกัน

 และอีกหนึ่งสปอนเซอร์ของงานนี้ นั่นก็คือ รถจักรยานยนต์ยามาฮ่า นางสรวงสุดา มนัสบุญเพิ่มพูล ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายโฆษณาและส่งเสริมการตลาดของยามาฮ่า ได้เสริมว่า รู้สึกดีใจมาก และภูมิใจที่เรียกว่า คอนเสิร์ตแห่งทศวรรษ เพราะว่านานแล้วที่ไม่มีคอนเสิร์ตใหญ่ที่หยุดโลกได้ขนาดนี้ ยามาฮ่าทำไลฟ์ไสตล์มาร์เก็ตติ้งอยู่แล้ว อะไรที่สุดๆ อะไรที่มันแตกต่าง เราก็ชอบ ก็ยินดีสนับสนุน

อนึ่ง คอนเสิร์ต เลดี้ กาก้า ในครั้งนี้ ตัวศิลปินเอง ได้บอกผ่านสื่อว่า ตนเองและทีมงานเตรียมการอยู่หลายเดือนในการจัดทัวร์คอนเสิร์ตครั้งนี้ รับรองว่า โชว์สุดสุดยอดอลังการแน่นอน โดยจะจัดคอนเสิร์ตในรูปแบบที่เรียกว่า “อิเล็กโทร-เมทัลป๊อป-โอเปร่า” ที่รวมรูปแบบการโชว์หลายชนิดเข้าไว้ด้วยกัน

คอเพลงของเลดี้ กาก้า ห้ามพลาด และหากอยากเช็คข้อมูล คลิกดูได้ที่เว็บไซต์ของไทยทิ้กเก็ตเมเจอร์ มาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ครั้งนี้กัน!


นีล ทอมป์สัน
นีล ทอมป์สัน รองกรรมการผู้จัดการของ “บีอีซี” ได้ออกมาเปิดเผยว่า

“การจัดคอนเสิร์ตเลดี้ กาก้า คุยกันเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสได้มา เพราะเขาแคร์ฟูลในการจัดโชว์มาก แต่ในที่สุด เขาก็มาเมืองไทย เพราะเพราะทางเรา สนิทกับเอเจนซี่และโปรโมเตอร์ของเลดี้ กาก้า ซึ่งเป็นเจ้าเดียวกันกับโรลลิ่ง สโตน และไมเคิล แจ็คสัน ทำงานกับเขามานานแล้ว คราวนี้คงได้ดูโชว์ของเธอแบบฟูลสเกลในช่วงเดือนพฤษภาคมอย่างแน่นอน”
ส่วนนายรักษิต รักการดี ผอ.ฝ่ายคอนเสิร์ตและกิจกรรมพิเศษของ “บีอีซีฯ” ซึ่งดูแลในเรื่องการจัดคอนเสิร์ตต่างประเทศ ได้เสริมประเด็นว่า

ก่อนหน้านี้ เลดี้ กาก้าก็เคยจะวางแผนมาโชว์ที่เมืองไทยเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว

“ทางเราดีลกับเลดี้ กาก้านานแล้วครับ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นปี 2008 เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเขาเริ่มเข้าวงการใหม่ๆ จริงๆ คุยตั้งแต่ตอนที่เขายังไม่ดัง เขาจะมาทัวร์เมืองไทยในตอนนั้น ไม่มีใครสนใจเขาเลย ก็ไม่มีใครตอบรับอะไร แล้วก็ไม่ได้มา จนกระทั่ง เขาทำเวิลด์ทัวร์ครั้งที่สอง ในช่วงปี 2009-2011 แล้วเราก็คุย ก็ได้ยินเสียงแฟนคลับคนไทยเรียกร้องบอกให้มา ตอนนั้นเลดี้ กาก้า จิ้มเลยว่าอยากมาเมืองไหน ก็มีเมืองไทยที่เขาอยากมาด้วย”
ส่วนในเพจของ เลดี้ กาก้า ซึ่งมีคนกดไลค์ถึง 47 ล้านกว่าคน ได้ประกาศรอบการแสดงซึ่งเธอจะไปทัวร์คอนเสิร์ต “เดอะ บอร์น ดิส เวย์ บอลล์ ทัวร์” ซึ่งไม่ปรากฏชื่อของ กรุงเทพฯ ประเทศไทย อยู่ในนั้น

รักษิตอธิบายว่า...

“11โชว์แรกในเพจกาก้า ไม่มีประเทศไทย เพราะมันอยู่ที่ว่า เขาอยากประกาศเอง หรือให้เราประกาศก่อน คือบางทีศิลปินก็เลือกถามเราว่าอยากให้ใครประกาศก่อน ซึ่งตรงนี้เราปิดไว้ก่อน ในงาน บีอีซี-เทโร โชว์ เคส นี่เป็นครั้งแรกที่ประกาศเป็นทางการว่ามาเมืองไทย วันที่ยังไม่แน่ชัดว่าวันไหน แต่จัดในเดือนพฤษภาคมอย่างแน่นอน”
สเกลคอนเสิร์ตที่จัด รักษิตบอกว่า เป็นคอนเสิร์ตที่ใหญ่ในรอบสิบปี

“เมืองไทย ไม่ได้มีทัวร์ใหญ่อย่างเลดี้ กาก้า มาทัวร์หลายสิบปีแล้ว สเกลคอนเสิร์ตแบบนี้ที่ทัวร์ก็จะมีพวก วง U2 หรือว่า Take That ซึ่งเมืองไทย คอนเสิร์ตสเกลนี้ ที่ใกล้เคียงที่สุดก็เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คือทัวร์ของไมเคิล แจ็คสัน”

“เราก็หวังจะให้เกิดปรากฏการณ์แรงๆแบบโชว์อื่น เพราะว่า เลดี กาก้า เป็นเบอร์หนึ่ง ณ เวลานี้ ไม่มีใครคิดว่าเขาจะมาเมืองไทย แล้วหวังว่าแฟนจะมา เราจัดสนามกีฬาราชมังคลาฯ น่าจะรับได้ 3-4 หมื่นที่ แต่ผมว่าแฟนเพลงของเลดี้ กาก้า มีเป็นล้าน ส่วนราคาบัตรยังอยู่ระหว่างการพูดคุยกันอยู่ กำลังทำแบบเวที ทำให้เรากำหนดราคาค่อนข้างจะยาก ดูข้อมูลรายละเอียดโชว์จากเพจหรือทวิตเตอร์ของเลดี้ กาก้าเองได้เลย”
ในตอนนี้ บรรดา “ลิตเติ้ล มอนสเตอร์” ผู้เป็นแฟนเพลงของเลดี้ กาก้า ก็วอร์มอัพไปกับการฟังเพลง Bad Romance หรือ Born This Way ของเธอไปก่อน

หากโชคดี มีตั๋วคอนเสิร์ต(ซึ่งคงจะแข่งขันกันจองน่าดู) ...พฤษภาคมนี้ เจอกัน

ประวัติเลดี้กาก้า

สเตฟานี โจแอนน์ แอนเจลินา เจอร์มาน็อตตา (อังกฤษStefani Joanne Angelina Germanotta[4]) หรือที่รู้จักในนาม เลดี้ กาก้า(อังกฤษLady GaGa) เป็นศิลปินเพลงป็อบชาวอเมริกันเชื้อสายอิตาลี เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 เริ่มแสดงดนตรีครั้งแรกกับวงร็อกในนิวยอร์ก ฝั่งตะวันออกทางใต้ ในปี ค.ศ. 2003 เข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะทิสช์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ต่อมาได้รับการเข้าสังกัดค่ายอินเตอร์สโคป และต่อสัญญากับค่ายสตรีมไลน์ ในเครืออินเตอร์สโคปในปี ค.ศ. 2007 เธอเคยเขียนเพลงให้กับศิลปินร่วมสังกัด ความสามารถด้านพลังเสียงของเธอไปเข้าตา Akon และได้เซ็นสัญญากับ คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน
The Fame อัลบั้มแรกของเธอ ได้วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2008 สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรแคนาดา ออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ และสามารถติดชาร์ต 1 ใน 10 อันดับแรกในอีกหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถทำสถิติขึ้นชาร์ตบิลบอร์ด 200 ในอันดับที่ 2 และขึ้นอันดับหนึ่งในชาร์ตอัลบั้มเพลงแดนซ์/อิเล็กทรอนิกส์ ของบิลบอร์ด และอีกสองเพลงเปิดตัว คือ Just Dance และ Poker face ที่กาก้าร่วมแต่งและผลิตกับเรดวัน ก็เป็นที่นิยมและขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในหลายประเทศ รวมถึงชาร์ตอันดับต้น ๆ ของบิลบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม The Fame ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่มากถึง 6 สาขารางวัล และได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิกส์/เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม และรางวัลเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยมจากเพลง Poker Face ต้น ค.ศ. 2009 เธอออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในชื่อ The Fame Ball Tour และในปลายปีเดียวกัน เธอได้ประกาศวางจำหน่ายอัลบั้มเสริม The Fame Monster เป็นอัลบั้มต่อจากอัลบั้มเปิดตัว The Fame อัลบั้มนี้ทำให้เธอได้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 6 สาขารางวัล สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งด้วยซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม คือ Bad Romance และได้ออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สอง The Fame Monster Ball Tour ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ซึ่งขณะนี้กาก้ากำลังอยู่ในระหว่างการทัวร์คอนเสิร์ตและทำสตูดิโออัลบั้มที่สอง Born This Wayอัลบั้มใหม่ของเธอนี้ จะวางจำหน่ายในต้น ค.ศ. 2011[5]
กาก้าได้รับแรงบันดาลใจจากเพลงแนวแกลมร็อก โดยมีศิลปินอย่างเดวิด โบวี และวงควีน รวมทั้งนักร้องเพลงป็อป เช่น มาดอนนาและไมเคิล แจ็กสัน อีกทั้งแฟชั่น ก็เป็นอีกหนึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนเพลงและการแสดงของเธอ กาก้าอยู่ในอันดับที่ 73 ของศิลปินยุคคริสต์ทศวรรษที่ 2000 โดยการจัดลำดับของบิลบอร์ด ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ยอดขายอัลบั้มของเธอทะลุ 15 ล้านสำเนา และ 51 ล้านซิงเกิลทั่วโลก[6] นิตยสารไทม์ส จัดลำดับให้เลดี้ กาก้า อยู่ในรายชื่อไทม์ส 100 ที่รวบรวมบุคคลทรงอิทธิพลต่อโลกประจำ ค.ศ. 2010 และใน 100 อันดับบุคคลที่มีชื่อเสียงที่มีอิทธิพลต่อโลก ส่วนนิตยสารฟอบส์ ได้จัดอันดับให้เธออยู่ในอันดับที่ 7 ของผู้หญิงทรงอำนาจที่สุดในโลกประจำ ค.ศ. 2010[7][8][9][10] เลดี้ กาก้า มีผลงานอัลบั้ม ที่ทำยอดขายสูงสุดในโลกประจำปี 2010 [11] ภายใน 2 ปี เธอมียอดขายอัลบั้มมากกว่า 55 ล้านชุด [12] และในปี ค.ศ.2011 นิตยสารโรลลิงสโตน ให้เลดี้ กาก้าเป็นราชินีราชินีเพลงป็อป คนใหม่แห่งยุค หลังจากที่เธอมีแฟนคลับที่ติตามผ่านทางทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กมากที่สุดในโลก ปัจจุบันกาก้าไม่ได้ครองแชมป์ผู้ที่มีคนติดตามทางเฟสบุ๊คมากที่สุดแล้ว หลังจากนักร้องสาวรีฮันน่าครองแชมป์ปัจจุบัน

1986 - 2004: วัยเด็ก


การแสดงที่สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อค.ศ. 2008
โจแอนน์ สเตฟานี แองเจลินา เจอร์มาน็อตต้า เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1986 ในครอบครัวอิตาเลียน-อเมริกัน ที่ยองเกอร์ส นครนิวยอร์ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เขตแมนแฮตตัน กาก้าเป็นลูกสาวคนโตของโจเซฟ เจอร์มาน็อตต้า นักลงทุนทางอินเทอร์เน็ต กับ​ซินเธีย (สกุลเดิม บิสเซตต์) เธอมีน้องสาวหนึ่งคนชื่อ "นาตาลี" กาก้าเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุได้ 4 ปี เมื่ออายุ 11 ปี เธอได้เข้าเรียนที่โรงเรียนคอนแวนต์แซเครดฮาร์ต โรงเรียนเอกชนคอนแวนต์คาทอลิกในอัปเปอร์อีสต์ไซด์ แมนแฮตตัน[13] เนื่องจากครอบครัวกาก้าไม่ได้มีฐานะร่ำรวย เธอจึงถูกต่อต้านจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน เธอพูดถึงพ่อกับแม่ว่า "ท่านทั้งสองมาจากชนชั้นแรงงาน ดังนั้นจึงทำงานทุกอย่างเพื่อพวกเรา แม่กับพ่อทำงานในสายงานโทรคมนาคม ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 2 ทุ่ม จึงได้กลับบ้าน"[14][15]
ด้วยความต้องการเล่นละครเพลงในสมัยมัธยมศึกษาตอนปลาย เธอจึงได้รับโอกาสให้แสดงในเรื่อง Guys & Dolls โดยรับบทเป็น เอดิเลด และได้แสดงซีรี่ยส์เรื่อง A Funny Thing Happened on the Way to the Forum โดยรับบทเป็น ฟิลเลีย กาก้าเล่าถึงชีวิตการเป็นนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายว่า "เป็นสิ่งที่อุทิศตัวมากที่สุด ตั้งใจเรียนมากที่สุด และเคร่งครัดในกฎระเบียบมาก แต่ก็ไม่มั่นคงนัก" ตามที่เธอให้สัมภาษณ์ว่า "ฉันเคยถูกล้อเลียนว่าเป็นคนก้าวร้าวและบ้าระห่ำ ดังนั้นจึงเริ่มที่ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น แต่ฉันรู้สึกว่าไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับโรงเรียนได้ รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นคนประหลาด"[16] แต่เพื่อนร่วมชั้นเรียนของเธอตอนนั้นกลับแย้งว่ากาก้าเป็นนักเรียนดี มีแค่เพื่อนกลุ่มเล็ก ๆ หน้าตาคล้ายเด็กชาย แต่มีน้ำเสียงดี ร้องเพลงเพราะ[17][18] ด้วยบุคลิกของเธอที่มีอารมณ์ลึกซึ้งและเป็นอิสระอย่างศิลปินคนถนัดมือซ้าย กาก้าให้สัมภาษณ์กับนิตยสารแอลว่า เธอถนัดมือซ้ายจริง[19]
เมื่ออายุได้ 17 ปี เธอได้รับสิทธิให้เข้าเรียนก่อนเกณฑ์ในโรงเรียนศิลปะทิสช์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และพักอยู่ในหอพักของมหาลัยบนถนนที่สิบเอ็ด ที่นั่น เธอได้เรียนวิชาดนตรีและพัฒนาทักษะการเขียนเพลงของตัวเอง จากการแต่งร้อยแก้วและบทวิเคราะห์ที่มุ่งประเด็นไปในด้านศิลปะ ศาสนา ประเด็นต่าง ๆ ในสังคม และการเมือง เธอรู้สึกว่าตัวเองมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเพื่อนในชั้นเรียน ดังนั้นในภาคเรียนที่สอง ในชั้นปีที่ 2 เธอตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อมองหาโอกาสในอาชีพทางดนตรี[13][20] พ่อของเธอยินยอมที่จะออกค่าเช่าอพาร์ตเมนต์ให้เป็นเวลา 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า หากไม่ประสบความสำเร็จ จะต้องกลับเข้าเรียนใหม่[21] เธอจึงย้ายออกจากบ้านไปเช่าอพาร์ตเมนต์ย่านดาวน์ทาวน์ราคาถูกที่ไม่มีลิฟต์และเริ่มทำงานที่คลับแถวนั้นตอนอายุแค่ 18 ปี[16]

[แก้]2005 - 2007: เริ่มต้นสู่อาชีพศิลปิน

กาก้าเซ็นสัญญาครั้งแรกกับค่ายเดฟแจม เมื่ออายุ 19 ปี แต่ 3 เดือนต่อมา ต้นสังกัดกลับถอนสัญญา ไม่นานหลังจากนั้น ผู้บริหารค่ายเดฟแจมได้แนะนำเธอให้รู้จักกับเรดวัน นักแต่งเพลงและโปรดิวเซอร์ที่เคยร่วมงานกับผู้บริหารคนนี้
เพลงแรกที่กาก้าร่วมแต่งกับเรดวัน คือ Boys Boys Boys ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลง Girls Girls Girls ของ เมิทลีย์ ครือ และเพลง T.N.T. ของวง เอซี/ดีซี ที่ผสมผสานกัน เธอย้ายไปอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ในฝั่งตะวันออกทางใต้ และได้บันทึกเสียงหลายเพลงกับนักร้องฮิปฮอป แกรนด์มาสเตอร์ เมลล์ เมล เพื่อประกอบหนังสือเสียงสำหรับเด็ก The Portal in the Park ของ คริกเก็ต แคซีย์ เธอเริ่มตั้งวงร็อกในชื่อ สเตฟานี เจอร์มาน็อตต้า ซึ่งเป็นชื่อของเธอเอง ร่วมกับเพื่อน ๆ ที่มหาวิทยาลัย[22] พวกเขาได้บันทึกอีพีเพลงบัลลาดที่แต่งเองในสตูดิโอใต้ร้านเหล้าแถบนิวเจอร์ซีย์ ต่อมาได้เล่นประจำที่คลับแถวดาวน์ทาวน์ ในฝั่งตะวันออกทางใต้[16] หลังจากนั้นกาก้าเริ่มเสพโคเคนเมื่อครั้งการแสดงนีโอ-เบอร์เลสก์ พ่อของเธอไม่เข้าใจเหตุผลที่ลูกสาวเสพยาและไม่อาจทนเห็นเธอในสภาพเช่นนั้นได้ จึงพาตัวเธอไปบำบัดจนสามารถเลิกได้[14]
ต่อมาโปรดิวเซอร์เพลง ร็อบ ฟูซารี เป็นคนช่วยเธอแต่งเพลงขึ้นอีกหลายเพลง โดยเขาเปรียบเทียบเสียงร้องของเธอว่าคล้ายกับเสียงของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี[14][23] ฟูซารีเป็นคนที่คิดชื่อในวงการให้เธอว่าเลดี้ กาก้า หลังจากได้ฟังเพลงเรดิโอ-กาก้า ของวงควีน ซึ่งตอนนั้นกาก้ากำลังอยู่ในระหว่างคิดหาชื่อเพื่อใช้ในการแสดง เมื่อฟูซารีส่งความถึงเธอว่า "Lady Gaga" สเตฟานีจึงตัดสินใจใช้ชื่อนี้[23] และเป็นที่รู้จักทั่วไปหลังจากนั้น

กาก้าร่วมแสดงบนเวทีอเมริกันลอลลาพาลูซ่า ค.ศ. 2007 กับเลดี้สตาร์ไลต์
อย่างไรก็ดี หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เรื่องที่ฟูซารีอ้างถึงที่มาของชื่อ "เลดี้ กาก้า" นั้นไม่เป็นความจริง และจริง ๆ แล้ว ชื่อ "เลดี้ กาก้า" ได้มาจากการพบกันทางธุรกิจกับเลดี้สตาร์ไลต์ ศิลปินแสดงสด ในค.ศ. 2007[24] และกาก้าได้ร่วมงานกับเธอนับแต่นั้นมา สตาร์ไลต์เป็นยังเป็นผู้สร้างสรรค์แฟชั่นบนเวทีการแสดงเองด้วย[25] ทั้งคู่เริ่มงานแสดงที่คลับในดาวน์ทาวน์นิวยอร์ก ชื่อ เมอร์คิวรี่เลานจ์ และเดอะบิตเทอร์เอนด์ รวมไปถึง เดอะร็อกวูดมิวสิกฮอล ด้วยความสามารถในศิลปะการแสดงสดและจำอวดของพวกเธอที่เป็นที่กล่าวขานแล้ว ทำให้เป็นที่รู้จักในชื่อ "การแสดงเบ็ดเตล็ดของเลดี้ กาก้าและสตาร์ไลต์" โดยถูกยกย่องว่าเป็น "การแสดงป็อป-เบอร์เลสก์ชุดสุดท้าย" การแสดงของกาก้าและสตาร์ไลต์มีกลิ่นอายของยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ในเดือนสิงหาคมค.ศ. 2007 ทั้งสองได้รับเชิญให้ขึ้นแสดงสดบนเวทีในเทศกาลดนตรีอเมริกันลอลลาพาลูซา ค.ศ. 2007[26][27] การแสดงของพวกเธอในครั้งนั้นได้รับการตอบรับดีมาก และได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก ด้วยความสนใจในการทดลองแนวเพลงอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ กาก้าค้นพบความสามารถทางดนตรีในตัวเองเมื่อตอนที่เริ่มผสมทำนองดนตรีป็อปกับเพลงแนวแกลมร็อกของเดวิด โบวี ลงในเพลงที่แต่งเอง[28]

กาก้าขณะแสดงที่ผับใต้ดินนิวยอร์ก
ฟูซารีนำเพลงที่เขาและกาก้าได้แต่งร่วมกัน ส่งให้เพื่อนของเขาที่เป็นโปรดิวเซอร์และผู้บริหารค่ายเพลง ชื่อ วินเซนต์ เฮอร์เบิร์ต เฮอร์เบิร์ตเซ็นสัญญากับกาก้าทันที ภายใต้สังกัดสตรีมไลน์เรคอดส์ ในเครืออินเตอร์สโคป[29] ในช่วงของการก่อตั้งค่ายเพลงค.ศ. 2007 เธอยกย่องเฮอร์เบิร์ตว่าเป็นผู้ชายที่เห็นความสามารถของเธอ และกล่าวว่า "ฉันรับรู้ว่า เราได้สร้างประวัติศาสตร์ป็อปอีกครั้ง และกำลังจะทำให้มันก้าวเดินต่อไป" กาก้าได้ทำงานเป็นนักแต่งเพลงหน้าใหม่ในค่ายเฟมัสมิวสิกพับลิชชิง แต่ต่อมาตกอยู่ภายใต้ความครอบครองของบริษัทโซนี่/เอทีวีมิวสิกพับลิชชิง[29] ดังนั้นเธอจึงถูกว่าจ้างให้แต่งเพลงให้กับบริทนีย์ สเปียร์ส และนักร้องร่วมค่ายอย่าง นิว คิดส์ออนเดอะบล็อก เฟอร์กี้ และวงพุสซี่แคทดอล[30] ระหว่าการเขียนเพลงให้กับอินเตอร์สโคป เอคอน นักร้องและนักแต่งเพลง ได้เห็นความสามารถในเสียงทรงพลังของเธอ เมื่อได้ร้องเดโมเป็นตัวอย่างสำหรับเพลงในแทร็กของเอคอน หลังจากนั้นเอคอนได้ขอร้องประธานบริษัทอินเตอร์สโคป-เกฟเฟน-เอแอนด์เอ็ม และจิมมี ไอโอวีนซีอีโอของบริษัท ให้เขาร่วมกับบริษัทได้ปั้นกาก้าให้เป็นนักร้องร่วมกัน และให้เธอเซ็นสัญญากับเขาภายใต้ค่าย คอนไลฟ์ดิสทริบิวชัน เอคอนเรียกเธอว่า "แฟรนไชส์เพลเยอร์" กาก้ายังคงร่วมงานกับเรดวันต่อไปในสตูดิโอ เพื่อร่วมกันทำอัลบั้มแรกของเธอ พร้อมทั้งเตรียมเพลงใหม่ "Just Dance" และ "Poker Face" นอกจากนั้นเธอยังได้ร่วมงานกับค่ายเชอร์รี่ทรี สังกัดอินเตอร์สโคป ที่ก่อตั้งขึ้นโดยโปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลง มาร์ติน เคียร์เซนบาอัม ทั้งสองได้แต่งเพลงด้วยกันถึง 4 เพลง หนึ่งในนั้นมีเพลงดังอย่าง Eh, Eh (Nothing else I can Say)[31]

[แก้]2008 - 2010: อัลบั้ม The Fame และ The Fame Monster

ในปี 2008 กาก้าได้ย้ายไปอยู่ที่ลอสแองเจลลีส,แคลิฟอร์เนีย และได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับต้นสังกัดที่นั่น และเร่งทำอัลบั้มเปิดตัว The Fame ให้เสร็จ โดยผสมผสานแนวเพลงที่แตกต่างกันลงในอัลบั้ม โดยใช้จังหวะมือจากกลองเมทัลของเออร์บานแทร็ค [23] สอดคล้องกับสรุปผลการวิจารณ์ดนตรีโดยเมต้าคริติค ให้คะแนนอัลบั้ม The Fame 71คะแนนจาก 100 เต็ม [32] อัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในออสเตรีย, สหราชอาณาจักร, แคนาดา และไอร์แลนด์ ติดท็อปชาร์ต 5 อันดับแรกที่ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
อัลบั้ม The Fame ทำยอดขายได้มากกว่า 12ล้านก็อปปี้ทั่วโลก ด้วยเพลงเปิดตัวอัลบั้ม Just Dance ที่แตะชาร์ตอันดับ 1 ในกว่า 6 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย, แคนาดา, เนเธอร์แลนด์, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา [33] [34] ต่อมาถูกเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ในสาขาเพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม [35] เพลงที่สอง Poker Face นับเป็นความประสบสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกครั้ง เมื่อเพลงนี้ขึ้นท็อปชาร์ตอันดับ 1 ในเกือบทุกตลาดเพลงหลักในโลก รวมทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา เพลง Poker Face ได้รับรางวัล "เพลงแดนซ์ยอดเยี่ยม" ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี่ครั้งที่ 52 รวมถึงได้รับการเสนอให้เข้าชิงรางวัลในสาขา "เพลงแห่งปี" "บันทึกเสียงแห่งปี" และ รางวัลใหญ่ "อัลบั้มแห่งปี" ด้วย แต่ได้รับรางวัลในสาขาอัลบั้มเพลงอิเล็กทรอนิก-แดนซ์ยอดเยี่ยม แม้ว่าการทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของเลดี้กาก้าจะเป็นเพียงการแสดงเปิดเวทีให้กับนักร้องร่วมสังกัด นิว คิดส์ ออน เดอะ บล็อก [36] ในที่สุดเธอตัดสินใจออกเดินสายทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของตัวเอง The Fame Ball Tour ที่เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2009 และได้รับคำชื่นชมพอควร [37]
กาก้าขึ้นปกนิตยสารโรลลิ่งสโตน ฉบับเดือนพฤษภาคม 2009 ในสภาพก่งนู้ด สวมเพียงชุดฟองน้ำพลาสติดที่ปกปิดอวัยวะสงวนเท่านั้น ในคอลัมน์ Hot 100 เธอได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเริ่มต้นสู่เส้นทางอาชีพสายดนตรี และได้พบรักกับมือกลองวงเฮฟวี่เมทัลขณะเล่นดนตรีอยู่ที่ไนท์คลับในนิวยอร์ก เธอเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างเขากับเธอและสุดท้ายก็เลิกรากันไป เธอบอกว่าเขาเป็นเบื้องหลังแรงบันดาลใจในการทำอัลบั้ม The Fame [38] ต่อมากาก้าได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วีดีโอมิวสิกประจำปี 2009 ทั้งหมด 9 สาขารางวัล แต่ได้รับรางวัลในสาขาศิลปินหน้าใหม่แห่งปี ส่วนเพลง Paparazzi ได้ชิงสองรางวัลคือ รางวัลการกำกับศิลป์ยอดเยี่ยมและรางวัลเทคนิคพิเศษในวีดีโอยอดเยี่ยม ในเดือนตุลาคมเธอได้รับรางวัลดาวรุ่งแห่งปี 2009 จากนิตยสารบิลบอร์ด[39]

เดือนเดียวกันกับที่เธอร่วมงานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. [40] [41] เธอประกาศวางจำหน่ายอัลบั้ม The Fame Monster เพลงทั้ง 8 แทร็คกล่าวถึงด้านมืดของความมีชื่อเสียงโด่งดังที่จากประสบการณ์ในช่วงที่เธอทัวร์คอนเสิร์ตระหว่างปี 2008-2009 และถ่ายทอดผ่านคำ"Monster" (ปีศาจ) ทัวร์คอนเสิร์ตครั้งที่สองของเธอ "The Fame Monster Ball Tour" จัดขึ้นเพื่อโปรโมตอัลบั้มนี้ และเริ่มทัวร์ในเดือนพฤศจิกายน 2009 [42] [43] "Bad Romance" เป็นเพลงเปิดตัวอัลบั้ม และติดชาร์ตอันดับหนึ่งใน 18 ประเทศทั่วโลก และติดชาร์ตอันดับ 1 สองครั้ง ในสหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เดือนธันวาคม [44] กาก้าได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ณ โรงละครแบล็กพลู ประเทศอังกฤษ ในการแสดงรอยัลวาไรตี้ ประจำปี 2009 และได้ใช้เพลง "Speechless"แสดงสดต่อหน้าพระพักตร์ด้วย เธอสวมชุดผ้ายางลาเท็กซ์เลียนแบบฉลองพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1ที่หลายคนเห็นว่าไม่เหมาะสม [45]
กาก้าได้ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน 10 บุคคลน่าชื่นชมมากที่สุดแห่งปี 2009 โดยบาร์บารา วอลเทอร์ส ระหว่างรายการวอลเตอร์ส แอนนวล เอบีซี สเปเชียล ในระหว่างให้สัมภาษณ์ในรายการเธอเลี่ยงที่จะตอบคำถามในข้อกล่าวหาที่ว่าเธอเป็นกะเทยแท้ ที่มีสองเพศในตัวเองตามข่าวลือ และตอบกลับไปว่า "ตอนแรกๆ เรื่องนี้แปลกประหลาดแต่แล้วทุกคนก็คิดว่ามันก็เป็นแค่เรื่องธรรมดาทั่วไปนั่นแหละ แต่ฉันเองเชื่อว่า ตัวเองมีภาพลักษณ์ของกะเทยอยู่จริง และฉันก็รักพวกกะเทยด้วย"[46]
เดือนมกราคม 2010 เธอได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทโพลารอยด์ ให้เป็นหัวหน้าทีมครีเอทีฟและให้เริ่มต้นสร้างสรรค์แฟชั่นเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพ [47] เดือนกุมภาพันธ์ ซิงเกิลที่สองในอัลบั้ม The Fame Monster คือ "Telephone" ได้นักร้องหญิงอาร์แอนด์บี คือ บียอนเซ่มาร่วมฟีเจอร์ริ่งด้วย กลายเป็นเพลงลำดับสี่ของเธอที่สามารถขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งในสหราชอาณาจักรได้ [48]
มีนาคม 2010 ร็อบ ฟูซารีฟ้องร้องบริษัทต้นสังกัดของเลดี้กาก้า เมอร์เมด มิวสิก แอลแอลซี ให้ข้อหาว่าได้รับส่วนแบ่งไม่เป็นธรรม ซึ่งเขาควรจะได้รับ 20% จากยอดขายอัลบั้มของเธอ ชาร์ลส์ ออร์ทเนอร์ ทนายความของกาก้าฟ้องกลับฟูซารีว่าสัญญาที่กาก้าได้ทำกับฟูซารีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ขอออกความเห็นใดๆ ต่อสื่อมวลชน ท้ายที่สุดในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน [49] ศาลฎีกาสูงสูดนครนิวยอร์ก ยกฟ้องคำร้องของร็อบ ฟูซารี [50] [51]
เดือนเมษายนปีเดียวกัน มีรายงานว่ามิวสิกวีดีโอของเธอมียอดคนดูมากกว่าพันล้านครั้งบนเว็บไซต์ Youtube และกลายเป็นศิลปินคนแรกที่มียอดดูในหลักพันล้าน [52] เดือนเดียวกันกาก้าได้รับการเสนอชื่อจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็นหนึ่งใน100 ของบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกแห่งปี 2009 ระหว่างให้สัมภาษณ์กับไทมส์นั้น เธอพูดเปรยๆ ว่า กำลังป่วยด้วยโรคลูปัส ซึ่งเป็นโรคเนื้อเยื่อติดเชื้อรุนแรงในร่างกาย [53] สองเดือนต่อมาเธอให้สัมภาษณ์ผ่านรายการทอล์กโชว์ของลาร์รี่ คิง ว่า เธอไม่ได้ป่วยด้วยโรคลูปัสแต่เล่าถึงผลการตรวจร่างกาย "พบว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น" เพราะโรคลูปัสเป็นกรรมพันธุ์ในตระกูลของเธอ และป้าของเธอเพิ่งเสียชีวิตไปด้วยโรคนี้
ปลายปี 2010 อัลบั้ม The Fame Monster ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลแกรมมี่ ในสาขาอัลบั้มเพลงป็อบยอดเยี่ยมและอัลบั้มแห่งปี[54]
กาก้าและเอลตัน จอห์น มีแผนจะปล่อยเพลงดูเอ็ตที่ร้องร่วมกันในชื่อ "Hello Hello" เพื่อใช้ประกอบภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นของดิสนีย์ "Gnomeo and Juliet" ซึ่งกำลังจะเข้าฉายเร็วๆ นี้ [55] และเดือนกันยายน 2010 กาก้าได้เซ็นสัญญาทางธุรกิจกับโคตี้ อินคอร์ปเปเรชั่น เพื่อผลิตน้ำหอมร่วมกันที่มีชื่อ "มอนสเตอร์" และจะออกวางจำหน่ายในปี 2012

[แก้]2011 - ปัจจุบัน: Born this way

เดือนมีนาคม 2010 กาก้าเปิดเผยว่า ได้เริ่มทำสตูดิโออัลบั้มใหม่ และเขียนธีมหลักของอัลบั้มเสร็จแล้ว สามเดือนต่อมา เธอประกาศว่าสตูดิโออัลบั้มที่สองใกล้เสร็จสมบูรณ์ "มันเร็วมาก ฉันทำงานนี้เป็นเดือนๆ และรู้สึกได้ว่ามันเสร็จแล้ว ศิลปินบางคน อาจใช้เวลานานเป็นปี แต่ไม่ใช่ฉัน ฉันเขียนเพลงทุกๆ วัน"[56]

ร้องเพลง You and I ที่จตุรัสไทมแควร์นิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา สิงหาคม 2010
กาก้าประกาศชื่ออัลบั้มใหม่ที่จะออกวางจำหน่ายในปี 2011 นี้ว่า "Born This Way"[57] [58] ในระหว่างขึ้นรับรางวัลวีดีโอแห่งปีบนเวทีเอ็มวีมิวสิกวีดีโออวอร์ดส์ ประจำปี 2010 [59] โดยกาก้าได้นำเพลงจากอัลบั้มใหม่มาใช้ร้องสดในทัวร์คอนเสิร์ตของเธอ คือ Born this way และอีกเพลงคือ You and I ซึ่งเธอร้องเพลงนี้บนเวทีเทศกาลดนตรีลอลลาพาลูซา 2010 เพลง Born this way จะเป็นซิงเกิลเปิดตัวอัลบั้ม ที่จะจำหน่ายในวันที่ 13 กุมภาพันธํ 2011 เธอกล่าวถึงอัลบั้มนี้ว่า "จะเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในทศวรรษนี้" "เป็นสิ่งพาให้เรานอนดึกและรู้สึกสะพรึงกลัว" "เด็กเลวเดินเข้าโบสถ์" และ "ความสนุกสนานขึ้นไปอีกระดับ" กาก้าอธิบายถึงเพลงใหม่ของตัวเองว่า "เป็นอะไรที่ลึกซึ้งกว่าผมปลอม ลิปสติก หรือ เสื้อผ้าที่เห็น"[60]
ไฟล์:Lady-Gaga-in-Hussein-Chalayan-at-the-2011-Grammy-Awards-Show.jpg
กาก้าโชว์ร้องเพลงborn this way ในงาน grammy awards 2011
  1. Born This Way
  2. Judas
  3. The Edge Of Glory
  4. Yoü And I
  5. Marry The Night

[แก้]ความเป็นศิลปิน

[แก้]แนวเพลงและแรงบันดาลใจ

เลดี้กาก้าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปินแกลมร็อก เช่น เดวิด โบวี และวงควีน รวมถึงนักร้องเพลงป็อบเช่น มาดอนนาบริทนีย์ สเปียร์ส ไคลี มิโนกและไมเคิล แจ๊กสัน เพลงเรดิโอ-กาก้า ของวงควีนนั้นเป็นแรงบันดาลใจของชื่อที่เธอใช้ในวงการ[61][62][63]
เมื่อพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่างตัวเธอกับมาดอนนา กาก้ายืนยันว่าไม่อยากได้แค่เพียงคำทักท้วง แต่เธอมีเป้าหมายของตัวเองที่จะปฏิวัติดนตรีป็อบ การเปลี่ยนแปลงป็อบครั้งก่อนเกิดขึ้นโดยมาดอนนาเมื่อ 25 ปีที่แล้วและครั้งนี้จะเป็นของเธอ ส่วนนักร้องนักแสดงเกรซ โจนส์ ก็เป็นอีกแรงบันดาลใจของเธอ รวมทั้งเด็บบี้ แฮร์รี่ นักร้องนำแห่งวงบลอนดี้[63][64][65][66]
เสียงร้องของกาก้าถูกนำไปเปรียบเทียบกับเสียงของมาดอนนาและเกว็น สเตฟานี บ่อยครั้ง ในขณะที่โครงสร้างทางดนตรีของเธอคล้ายคลึงกับเพลงคลาสสิคป็อบยุค 1980 และเพลงยูโรป็อบในยุค 90[67] ในการวิเคราะห์อัลบั้มเปิดตัว The Fame หนังสือพิมพ์เดอะซันเดย์ไทมส์ กล่าวว่า เป็นการผสมผสานทางดนตรี, แฟชั่น, ศิลปะ และเทคโนโลยี เลดี้กาก้าได้ปลุกกระแสความเป็นมาดอนนา, ไคลี มิโนกและเพลงฮอลลาแบ็คเกิร์ลของเกว็น สเตฟานีในปี 2001 หรือ เกรซ​ โจนส์ เช่นเดียวกับซาร่าห์ รอดแมน นักวิจารณ์แห่งหนังสือพิมพ์เดอะบอสตันโกลบวิจารณ์ว่า "เธอได้แรงบันดาลใจจากมาดอนนารวมถึงเกว็น สเตฟานี และแฝงความเป็นเด็กสาวของเธอเอง แต่มีเสียงร้องที่ทรงพลังและจังหวะเร้าอารมณ์ แม้ว่าเนื้อร้องจะขาดสาระไปบ้าง เธอได้พาคุณเข้าไปสู่โลกแห่งความสุขโดยแทบไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรมากเลย"[68][69] ไซมอน เรโนลดส์ เขียนไว้ว่า "ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเลดี้กาก้ามาจากอิเล็กโทรแคลช ยกเว้นดนตรีซึ่งไม่ได้มาจากยุค 1980 และเป็นเพลงป็อบที่คุ้นหูโดยผ่านโปรแกรมออโต้ทูนส์กับจังหวะอาร์แอนด์บี
กาก้ายังระบุว่า แฟชั่นก็คือแรงบันดาลใจหลักของ เธอชื่นชมโดนาเทลลา เวอร์ซาส ว่าเป็นต้นแบบความคิด[70] และเธอมีทีมครีเอทีฟประจำตัวที่ชื่อ เฮ้าส์ ออฟ กาก้า ที่จัดการบริหารด้วยตัวเอง ทีมเฮ้าส์ออฟกาก้าออกแบบและสร้างสรรค์เสื้อผ้า ทรงผม และการแสดงบนเวทีให้แก่เธอ ซินเธีย ผู้เป็นแม่มีอิทธิต่อความหลงใหลในแฟชั่นต่อกาก้า ที่ยืนหยัดว่า "พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อรักษาความงาม" สำนักโกลบอล แลงกวิจ มอนิเตอร์ ระบุว่า เลดี้กาก้าเป็นคำค้นหาแฟชั่นในอันดับต้นๆ ของ เครื่องหมายการค้า "No Pant" ไม่มีขา (กางเกง) ในอันดับที่สาม[21] นิตยสารเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จัดอันดับให้เครื่องแต่งกายของเธอเป็นหนึ่งในสิ่งสุดยอดแห่งปลายศตวรรษ 2000 แม้จะเป็นชุดที่ทำจากหุ่นมือกบตัวเขียว หรือชุดฟองน้ำพลาสติกที่ปกปิดเพียงอวัยวะเพศ การแต่งกายแบบพิสดารจากคนทั่วไปทำให้เธอสามารถนำศิลปะการแสดงสดเข้าสู่สื่อกระแสหลักได้[71][72]
จากคำวิจารณ์ต่อดนตรีของเธอ, อิทธิพลทางแฟชั่น และภาพลักษณ์ของเธอที่ผสมผสานกันทำให้เธอมีสถานะเป็นนางแบบ, ผู้นำแฟชั่น และแฟชั่นไอคอน ทั้งได้รับการยอมรับและถูกปฏิเสธ อัลบั้ม The Fame อัลบั้มแรกของเธอได้รับคำวิจารณ์ในทางบวกและให้ตำแหน่งเธอในฐานะที่ทำเพลงป็อบอันมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร และสิ่งจำเป็นที่จะขับเคลื่อนวัฒนธรรมใหม่ๆ ความสนใจในตัวเธอกลายประเด็นทางสังคมที่สำคัญ ความสามารถทางศิลปะในตัวเธอ และถูกมองว่าเป็น "ผู้เพิ่มความนับถือในตัวเอง" ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่กาก้ามีต่อแฟนเพลงที่ได้รับการยกย่อง เธอได้ทำให้อุตสาหกรรมแฟชั่นกลับมาคึกคักอีกครั้งในช่วงเศรษฐกิจกำลังซบเซา[73][74][75] [76][77][78]
การแสดงสดของเธอได้รับการชื่นชมว่า "เป็นความสนุกสนานและแปลกใหม่ที่สุด" โดยอ้างถึงการแสดงในงานแจกรางวัลเอ็มทีวี วีดีโอ มิวสิก 2009 ในเพลง Paparazzi เธอสวมเสื้อซึ่งระเบิดออกมาเป็นเลือด ได้รับคำวิจารณ์จากเอ็มทีวีว่า "ชวนให้ผู้ชมตาค้าง"[79] และยังใช้ธีม "โชกเลือด" นี้ ในทัวร์คอนเสิร์ต เดอะ เฟม มอนสเตอร์ บอล ด้วย ในฉากหนึ่งของการแสดงที่เมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษกาก้าสวมชุดรัดรูปสีดำและจู่ๆก็ถูกทำร้ายจากชายลึกลับที่เพิ่งกระโดดขึ้นเวที (ที่จริงแล้วเป็นแดนเซอร์ของเธอเอง) ใช้มีดปาดคอเธอ ทำให้ "เลือดปลอม" ไหลท่วมตัวเธอ สร้างความตกใจให้กับผู้ชมโดยไม่รู้ว่านี้คือการแสดง ครอบครัวและแฟนเพลงที่เข้าชมการแสดงในรอบนี้รู้สึกไม่พอใจต่อการแสดงนี้ ที่ยังรู้สึกสะเทือนใจต่อเหตุการณ์คนขับแท็กซี่ใช้อาวุธปืนยิงชาวเมืองคัมเบรียถึง 12 คน ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นบนเกาะอังกฤษไม่กี่เดือนก่อนนี้[80][81][82]
เดือนกันยายน 2010 เลดี้กาก้ากลับไปรับรางวัลในงานเอ็มทีวี วีดีโอมิวสิกวีดีโอ 2010 ที่แอลเอ ด้วยชุดเดรสยาวสุดล้ำสไตล์โกธิค และรองเท้าส้นสูง 12 นิ้วลายพิมพ์หนังงูเหลือมและที่ยิ่งฮือฮากว่านั้นเมื่อเธอเปลี่ยนชุด "เนื้อสด" เพื่อขึ้นรับรางวัลวีดีโอแห่งปี เป็นชุดตัดจากเนื้อวัวสด รวมทั้งแอคเซสซอรี่ต่างๆ หมวก กระเป๋า และรองเท้าบูท ฝีมือการตัดเย็บของแฟรงค์ เฟอร์นันเดซ ดีไซเนอร์ชาวอาร์เจนตินา สร้างความคิดเห็นเป็นสองฝ่ายทั้งปลุกความสนใจจากสื่อมวลชนทั่วโลกและสร้างความไม่พอใจให้กับองค์การพิทักษ์สัตว์ (PETA) อย่างไรก็ดี[83]กาก้าออกมาย้ำว่าไม่ได้ตั้งใจจะดูหมิ่นเหยียดหยามมใครหรือองค์การใดทั้งสิ้น และปรารถนาให้ชุดของเธอสื่อความหมายไปในทางสิทธิความเป็นมนุษย์และสิทธิเพื่อเพศที่สาม [84][85]
เธอเรียกแฟนเพลงของตัวเองว่า "ลิตเทิล มอนสเตอร์ -เจ้าปีศาจตัวน้อย" นั่นก่อให้เกิดกระแสวิจารณ์อย่างมาก เพราะเป็นธรรมดาของธุรกิจดนตรีและภาพลักษณ์ที่มีมูลค่ามหาศาล ในขณะที่หลายคนเชื่อว่า คำนี้ใช้แบ่งแยกตัวเองและขัดต่อวัฒนธรรมของคนทั่วไป คิตตี้ เอ็มไพร์ แสดงความเห็นต่อคำว่า ลิตเทิล มอนสเตอร์ ลงหน้าหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษว่า "ทำให้ผู้ชมได้รับประสบการณ์ที่ผิดๆ โดยขาดการไตร่ตรองตั้งแต่แรก หัวใจหลักของการแสดงของเธอคือการอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัวและโดนสังคมต่อต้าน และที่กล่าวว่า คอนเสิร์ตมอนสเตอร์ บอล ทัวร์ที่พวกเราทั้งหมดจะถูกปลดปล่อยนั้น ช่างเป็นเรื่องที่ไร้สาระทีเดียว ผู้คนมากมายที่ยอมเสียเงินให้กับธุรกิจดนตรีอันเจ้าเล่ห์ของกาก้า ไม่ได้จำกัดแต่เพียงพวกข้ามเพศ คนบ้าแฟชั่น และมนุษย์ราตรี ตามที่เธอหวังไว้ตามแรงบันดาลใจเท่านั้น แต่ตัวเธอเองกลับดูเหมือนจะจริงใจต่อแฟนๆ มากกว่า"[86]
เดือนกันยายน 2010 คามิลล์ แพ็กเลีย เขียนหนังสือชื่อ Lady Gaga and the death of sex มีเนื้อหาโจมตีกาก้าอย่างรุนแรงว่า ว่าเป็น "นักเลียนแบบที่ไร้เพศ" และไม่ได้เป็นผู้นำเทรนด์แฟชั่นแปลกประหลาดอย่างหลายๆ คนเข้าใจ จึงควรเรียกเธอใหม่ว่า "นักเลียนแบบจอมขโมยมากกว่าผู้ริเริ่มการแสดงยั่วยวนทางกามารมณ์ต้อง ห้าม"[87]

[แก้]ภาพลักษณ์ในสังคม


เลดี้กาก้าในงานเปิดตัวหูฟังดร.เดร
การแต่งตัวสไตล์ประหลาดพิสดารของเลดี้กาก้าตรงข้ามกับสไตล์ในช่วงแรกๆ ที่เพิ่งเริ่มเข้าวงการใหม่ๆ ดังที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์กโพสต์ อธิบายไว้ "เหมือนผู้ลี้ภัยจากละครเรื่องเจอร์ซีย์ ชอร์ ในผมพองฟูมหึมาน้ำตาลเข้ม, การแต่งดวงตาที่เข้มๆ ดำขลับ และชุดรัดติ้วที่เปิดเผยเนื้อหนังมากไป กาก้ามีผมสีน้ำตาลเข้มโดยกำเนิด เธอฟอกผมให้เป็นสีบลอนด์ เพราะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเอมี ไวน์เฮาส์ ศิลปินเพลงโซล เธอมักเรียกแฟนเพลงของตัวเองว่า ลิตเทิล มอนสเตอร์ และสักลายคำๆ นี้ลงบนแขนข้างที่ถือไมโครโฟน เพื่อแสดงถึงการอุทิศตัวเพื่อแฟนเพลง เธอมีรอยสักที่สังเกตเห็นได้ 6 แห่งด้วยกัน เช่น สัญลักษณ์สันติภาพของจอห์น เลนนอน ฮีโรในดวงใจ และคำคมในรูปตัวเขียนขยุกขยิกแบบดอยชท์ ของเรนเนอร์ มาเรีย ริลค์ กวีและนักปราชญ์ชาวเยอรมันที่ชื่นชอบ เธอบอกว่าคำคมที่พูดถึงความสันโดษนี้ความหมายต่อตัวเธอ [88]
ปลายปี 2008 แฟชั่นของกาก้าถูกนำไปเปรียบเทียบกับนักร้องซุเปอร์สตาร์ คริสตินา อากีเลรา ทั้งๆ ที่ไม่ความเหมือนกันเลยในสไตล์ของพวกเธอทั้งทรงผม และการแต่งหน้า อากิเลราให้สัมภาษณ์ในภายหลังว่า "แทบไม่ได้ระวัง (กาก้า) เลยและไม่รู้ด้วยว่าหล่อนเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงกันแน่"[89] กาก้ายอมรับการเปรียบเทียบนี้ว่าทำให้เธอได้เป็นที่รู้จักทั่วไป เธอขอบคุณอากีเลราว่าทำให้เธอได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในอเมริกาหลังจากการเปรียบเทียบนี้ มันทำให้เธอเป็นที่รู้จักในวงการ [90]
การเปรียบเทียบนี้ยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปี 2010 เมื่ออากีเลราปล่อยมิวสิกวีดีโอของเธอ "Not Myself Tonight" นักวิจารณ์สังเกตเห็นความคล้ายคลึงกันหลายจุดทั้งเพลงและมิวสิกวีดีโอว่าเหมือนกับเพลงและมิวสิกวีดีโอ Bad Romance ของกาก้า[91] และเปรียบเทียบความคล้ายคลึกในสไตล์การแต่งตัวของกาก้ากับแฟชั่นไอคอนอย่าง เดล บอสซิโอแห่งวงมิสซิง เพอร์สัน บางคนวิจารณ์ภาพลักษณ์ของทั้งด้วยความเคารพว่า เหมือนกันอย่างแปลกประหลาด ถึงแม้ว่า แฟนเพลงของบอสซิโอจะบอกว่า เธอเป็นผู้ริเริ่มสไตล์นี้เมื่อกว่า 30 ปีก่อนแล้ว"[92]
เลดี้กาก้ามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและสังคมยุคใหม่ จนทำให้มหาวิทยาลัยเซาธ์แคโรไลนา ได้เปิดสอนหลักสูตรใหม่ในสาขาวิชา "เลดี้กาก้าและสังคมวิทยาความโด่งดัง"โดย มีจุดประสงค์เพื่อเปิดเผยประเด็นทางสังคมในมุมมองความมีชื่อเสียงโด่งดังของกาก้าที่เกี่ยวข้องกับเพลง วีดีโอ แฟชั่น และความพยายามทางศิลปะของเธอ [93] [94]

[แก้]กิจกรรมการกุศล

[แก้]เกย์ไอคอน

กาก้ายกความสำเร็จที่ได้รับในช่วงแรกๆ ของการเป็นศิลปินกระแสหลักให้แก่แฟนเพลงชาวเกย์ และถูกยกย่องให้เป็นขวัญใจชาวเกย์ ก่อนหน้าปี 2009 เป็นเรื่องยากมากที่ดีเจจะยอมเปิดเพลงของเธอออกอากาศบนคลื่นวิทยุในอเมริกา เธอระบุว่า "จุดเปลี่ยนของฉันคือกลุ่มชาวเกย์, ฉันมีแฟนเพลงชาวเกย์มากมายที่ชื่นชอบในตัวฉัน พวกเขายกย่องฉันและยังคงสนับสนุนฉัน ซึ่งฉันจะต้องสนับสนุนพวกเขา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะมีฐานแฟนเพลงเป็นของตัวเอง [95] เธอขอบคุณบริษัทฟลายไลฟ์ บริษัทการตลาดของกลุ่ม LGBT ที่ตั้งอยู่ในแมนแฮตตันและได้ร่วมงานกับบริษัทอินเทอร์สโคป ต้นสังกัดของเธอ ในปกอัลบั้ม The Fame เธอเขียนบันทึกไว้ว่า
Cquote1.svg
"ฉันรักพวกคุณ (กลุ่มชาวเกย์) มาก, คุณคือแรงดลใจของอัลบั้มนี้ให้ดำเนินต่อไป การสนับสนุนและความสดใสของพวกคุณมีหมายความต่อฉันราวกับโลกทั้งใบ ฉันจะยืนหยัดต่อสู้เพื่อการชาวเกย์จนถึงที่สุดพร้อมกับทีมงานที่ไม่น่าเชื่อ'"'
Cquote2.svg
[96] การแสดงครั้งแรกของเธอที่ได้ถ่ายทอดสดครั้งแรก เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2008 ในงานมอบรางวัลนิวนาวเน็กซ์อวอร์ดที่เธอได้ร้องเพลง Just Dance บนเวทีนี้และออกอากาศโดยสถานีโทรทัศน์ในเครือข่ายLGBT[97] เดือนมิถุนายนในปีเดียวกันเธอขึ้นร้องเพลงในเทศกาลซานฟรานซิสโกไพรด์ [98]


เลดี้กาก้ากล่าวปราศรัยในงานชุมนุมเพื่อความเท่าเทียม National Equlity March
หลังจากที่อัลบั้ม The Fame ของเธอออกวางจำหน่ายแล้ว เธอเปิดเผยว่าเพลงโป๊กเกอร์เฟซนั้นพูดถึงความเป็นคนรักสองเพศในตัวเธอ เมื่อเธอได้เป็นแขกรับเชิญในรายการดิ เอลเลน ดิเจอเนอเรส เลดี้กาก้าได้กล่าวยกย่องดิเจอเนอเรสว่าเป็น "แรงบันดาลใจสำหรับสตรีและชาวเกย์ [99] ในงานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียม National Equality March ที่เนชั่นแนลมอล เธอประกาศว่า งานอีเวนท์นี้เป็นงานสำคัญที่สุดในอาชีพของเธอ" และกล่าวอวยพรด้วยความปิติยินดีว่า "Bless God and bless gays" เช่นเดียวกับที่ขึ้นกล่าวคำขอบคุณบนเวทีมอบรางวัลเอ็มทีวีมิวสิกวีดีโอ 2009 ในเพื่อขึ้นรับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยมเมื่อหลายเดือนก่อน [100] ณ งานชุมนุมรวมพลังเพื่อความเท่าเทียมนั้น กาก้าได้แสดงเพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน จากนั้นเธอได้ประกาศว่า "ฉันจะไม่ร้องเพลงของตัวเองสักเพลงเดียวในคืนนี้ เพราะคำคืนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับฉันแต่เกี่ยวกับพวกคุณ" แล้วเธอเปลี่ยนเนื้อร้องเดิมของเพลงให้เป็นเพลงที่สะท้อนการเสียชีวิตของแมทธิว เชพเพิร์ด นักศึกษาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ถูกฆาตกรรมเนื่องจากลักษณะทางเพศของเขาเอง [101]

เลดี้กาก้ากล่าวปราศรัยเพื่อผลักดันนโยบาย Don't ask Don't tell ที่เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐเมน
เดือนกันยายน 2010 เธอกล่าวในที่ชุมนุมเพื่อต่อต้านกองทัพอเมริกัน ด้วยนโยบาย ห้ามถาม ห้ามบอกที่ไม่ให้บุคคลห้ามบอกว่าตนเป็นเลสเบี้ยนเกย์ หรือคนรักสองเพศเมื่อเข้าสมัครเป็นทหารเข้ากองทัพอเมริกา[102] และได้เผยแพร่วีดีโอที่กระตุ้นให้แฟนเพลงของเธอพยายามติดต่อสมาชิกวุฒิสภาเพื่อผลักดันให้นโยบายนี้ให้เป็นผล บรรณาธิการแห่งนิตยสาร ดิ แอดโวเคต ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า เลดี้กาก้าได้กลายเป็น “ผู้สนับสนุนที่ดุเดือดสำหรับชาวเกย์และเลสเบี้ยนตัวจริง”[103]

[แก้]ผลงาน

[แก้]สตูดิโออัลบั้ม

[แก้]ทัวร์คอนเสิร์ต

ไฟล์:Monsterballtourgaga.png
โปสเตอร์ทัวร์คอนเสิร์ต The Monster Ball Tour

[แก้]อ้างอิง

  1. ^ Birchmeier, Jason. "Lady GaGa: Biography". Allmusichttp://www.allmusic.com/album/the-fame-r1421208. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-02.
  2. ^ Nick Levine (2008-12-31). "Ones To Watch In 2009: Lady GaGa"Digital Spy. Digital Spy.co.ukhttp://www.digitalspy.co.uk/music/a139140/ones-to-watch-in-2009-lady-gaga.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-08.
  3. ^ Adrian Thrills (2009-01-09). "Why the world is going gaga for electro-pop diva Stefani"Daily Mail. Mail Online.http://www.dailymail.co.uk/tvshowbiz/article-1110125/Why-world-going-gaga-electro-pop-diva-Stefani.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-12.
  4. ^ "BBC Sound of 2009: Lady GaGa"BBC. 2008-12-05http://news.bbc.co.uk/2/hi/entertainment/7766439.stm. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-09.
  5. ^ Kreps, Daniel. "Lady Gaga Names Her New Album 'Born This Way'", Rolling StoneJann Wenner, 2010-09-13. สืบค้นวันที่ 2010-11-11
  6. ^ "Artists of the Decade: Lady Gaga"Billboard. Nielsen Business Media, Inc. 2009-12-21http://www.billboard.com/#/charts-decade-end/artists-of-the-decade?year=2009&begin=71&order=position. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-05-21.
  7. ^ "Spotted: Lady Gaga Celebrates Success In Los Angeles", MTV News, 2010-08-12. สืบค้นวันที่ 2010-08-18
  8. ^ Pomerantz, Dorothy; Rose, Lacey. "The World's Most Powerful Celebrities"Forbeshttp://www.forbes.com/2010/06/22/oprah-winfrey-lady-gaga-twilight-business-entertainment-celeb-100-10-intro.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-29.
  9. ^ Pomerantz, Dorothy; Rose, Lacey. "The Celebrity 100: #4 Lady Gaga"Forbeshttp://www.forbes.com/lists/2010/53/celeb-100-10_Lady-Gaga_8UOG.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-29.
  10. ^ Johnson, Jamey. "Lady Gaga, Beyonce Among Forbes' 100 Most Powerful Women", 'MTV'MTV Networks. สืบค้นวันที่ 2010-11-03
  11. ^ http://www.mediatraffic.de/albums-2010.htm
  12. ^ http://livemusiconpc.blogspot.com/2011/06/american-pop-singer-lady-gaga.html
  13. 13.0 13.1 "Biography of Lady Gaga". LadyGaga.comhttp://www.ladygaga.com/bio/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-09.
  14. 14.0 14.1 14.2 Hattie, Collins. "Lady GaGa: the future of pop?", The Sunday TimesNews International, 2008-12-14. สืบค้นวันที่ 2009-12-06
  15. ^ Sturges, Fiona. "Lady Gaga: How the world went crazy for the new queen of pop", The IndependentIndependent News & Media, 2009-05-16. สืบค้นวันที่ 2009-05-26
  16. 16.0 16.1 16.2 Grigoriadis, Vanessa. "Growing Up Gaga", New YorkNew York Media Holdings, 2010-03-28, หน้า 7. สืบค้นวันที่ 2010-03-29
  17. ^ Bream, Jon. "Don't Gag on Gaga", Star TribuneThe Star Tribune Company, 2009-03-21. สืบค้นวันที่ 2010-01-23
  18. ^ Poppell, Seth. "Lady Gaga was surprisingly normal", In Touch WeeklyBauer Media Group, 2009-12-22. สืบค้นวันที่ 2010-01-23
  19. ^ Zee, Joe. "Lady Gaga – An Exclusive Interview with ELLE's January Cover Girl", ElleHachette Filipacchi Médias, 2009-12-01. สืบค้นวันที่ 2010-05-05
  20. ^ Florino, Rick (2009-01-30). "Interview: Lady GaGa"Artistdirect. Artistdirect, Inc..http://www.artistdirect.com/nad/news/article/0,,4931544,00.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-02-18.
  21. 21.0 21.1 Harris, Chris. "Lady GaGa Brings Her Artistic Vision Of Pop Music To New Album", MTVMTV Networks, 2008-06-09. สืบค้นวันที่ 2009-05-07
  22. ^ Musto, Michael. "Lady Gaga Did a Children's Book In 2007!", The Village Voice, 2010-01-19. สืบค้นวันที่ 2010-01-19
  23. 23.0 23.1 23.2 Reporter, Staff. "Lady GaGa Profile"Contactmusic.comhttp://www.contactmusic.com/info/lady_gaga. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-02-20.
  24. ^ Callahan, Maureen. "Who's that lady?", New York PostNews Corporation, 2010-01-22. สืบค้นวันที่ 2010-03-26
  25. ^ Cassis, Christine. "Meet the woman who inspired Lady Gaga", Thaindian News, 2010-02-22. สืบค้นวันที่ 2010-02-03
  26. ^ Hobart, Erika. "Lady GaGa: Some Like it Pop", Seattle WeeklyVillage Voice Media, 2008-11-18. สืบค้นวันที่ 2009-01-10
  27. ^ Lee, Ann. "Just Who Is Lady GaGa?", MetroAssociated Newspapers, 2009-01-06. สืบค้นวันที่ 2009-02-26
  28. ^ Thrills, Adrian. "Why the world is going gaga for electro-pop diva Stefani", Daily MailAssociated Newspapers, 2009-01-09. สืบค้นวันที่ 2009-01-12
  29. 29.0 29.1 Haus of GaGa. Transmission Gaga-vision: Episode 26. Lady Gaga Official website. สืบข้อมูลเมื่อ 2009-12-17.
  30. ^ Harding, Cortney. "Lady Gaga: The Billboard Cover Story", BillboardNielsen Business Media, Inc, 2009-08-15. สืบค้นวันที่ 2010-05-06
  31. ^ Cowing, Emma. "Lady GaGa: Totally Ga-Ga", The ScotsmanJohnston Press, 2009-01-20. สืบค้นวันที่ 2009-02-20
  32. ^ "Lady Gaga: The Fame"Metacritichttp://www.metacritic.com/music/the-fame. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-09.
  33. ^ Williams, John. "Lady GaGa's 'Fame' rises to No. 1", Jam!Canadian Online Explorer, 2009-01-14. สืบค้นวันที่ 2009-01-14
  34. ^ "Lady Gaga – The Fame – World Charts". aCharts.ushttp://acharts.us/album/37558. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-08.
  35. ^ "The 51st Annual Grammy Awards Nominations List"National Academy of Recording Arts and Sciences.http://www2.grammy.com/grammy_awards/51st_show/list.aspx. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-01-02.
  36. ^ Reporter, Staff. "International Pop Star Lady Gaga Set to Tour With New Kids on the Block", ReutersThomson Reuters, 2009-01-08. สืบค้นวันที่ 2009-01-08
  37. ^ Menze, Jill. "Lady Gaga / May 2, 2009 / New York (Terminal 5)", BillboardNielsen Business Media, Inc, 2009-05-29. สืบค้นวันที่ 2009-05-05
  38. ^ Hiatt, Brian (2009-05-30). "The Rise of Lady Gaga". Rolling Stone (New York: Jann Wenner1080 (ฉบับที่ 43). ISSN 0035-791X.
  39. ^ Caulfield, Keith. "Beyonce Accepts Billboard's Woman Of the Year Award, Lady Gaga Is Rising Star", BillboardNielsen Business Media, Inc, 2009-10-03. สืบค้นวันที่ 2009-10-06
  40. ^ Brand, Fowler. "Kanye Who? Lady Gaga Teams Up With President Obama", E! Entertainment TelevisionE! Online, 2009-10-12. สืบค้นวันที่ 2009-12-12
  41. ^ Zak, Dan. "For Gay Activists, The Lady Is a Champ", The Washington Post, 2009-10-12. สืบค้นวันที่ 2009-12-12
  42. ^ Herrera, Monica. "Lady Gaga Unveils 'The Monster Ball'", BillboardNielsen Business Media, Inc, 2009-10-15. สืบค้นวันที่ 2009-10-15
  43. ^ Release, Press. "Lady Gaga Returns With 8 New Songs on 'The Fame Monster'", PR Newswire, 2009-10-08. สืบค้นวันที่ 2009-10-09
  44. ^ "Lady Gaga – Bad Romance – World Charts". acharts.ushttp://acharts.us/song/51422. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-04-17.
  45. ^ Lawter, Daniel. "Lady GaGa meets the Queen at Royal Variety Performance", Daily MirrorTrinity Mirror, 2009-12-08. สืบค้นวันที่ 2009-12-09
  46. ^ Walters, Barbara (2009-12-30). "Lady Gaga: 'I Love Androgyny'"ABC Newshttp://abcnews.go.com/video/playerIndex?id=9640579. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-05-03.
  47. ^ Eisinger, Amy. "Lady Gaga wears hat made entirely from her own hair", Daily NewsNews Corporation, 2010-01-08. สืบค้นวันที่ 2010-01-10
  48. ^ McCormick, Neil (2010-03-17). "Lady GaGa's Telephone video". The Daily Telegraph (London).http://www.telegraph.co.uk/culture/music/rockandpopfeatures/7466152/Lady-GaGas-Telephone-video.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-12-13.
  49. ^ Reporter, Staff. "Lady Gaga bites back at music producer", The Daily TelegraphTelegraph Media LLC, 2010-03-20. สืบค้นวันที่ 2010-03-20
  50. ^ Reporter, Staff. "Lady Gaga bites back at music producer", The Daily TelegraphTelegraph Media LLC, 2010-03-20. สืบค้นวันที่ 2010-03-20
  51. ^ "Lady Gaga and jilted producer drop legal dispute", ReutersThomson Reuters, 2010-09-10. สืบค้นวันที่ 2010-09-11
  52. ^ Kooch, Eileen. "Lady Gaga becomes a 'billion-hit' artist", BBCBBC Online, 2010-03-26. สืบค้นวันที่ 2010-04-19
  53. ^ "The 2010 TIME 100", TimeTime Inc., 2010-05-02. สืบค้นวันที่ 2010-05-06
  54. ^ http://www.usatoday.com/life/music/awards/grammys/2010-12-01-grammy-nominations-list_N.htm?loc=interstitialskip
  55. ^ Michaels, Sean (2010-10-25). "Elton John and Lady Gaga record duet". The Guardian (London).http://www.guardian.co.uk/music/2010/oct/25/elton-john-lady-gaga-duet. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-12-15.
  56. ^ Michaels, Sean. "Lady Gaga's new album 'finished'", The Guardian, 2010-06-23. สืบค้นวันที่ 2010-06-23
  57. ^ Vena, Jocelyn. "Lady Gaga to Release first Born This Way Single in February", MTV (MTV Networks), 2010-12-01. สืบค้นวันที่ 2010-12-01
  58. ^ Kreps, Daniel. "Lady Gaga Names Her New Album 'Born This Way'", Rolling StoneJann Wenner, 2010-09-13. สืบค้นวันที่ 2010-11-11
  59. ^ "Lady Gaga Announces New Album Name in VMA Speech", Entertainment Weekly, 2010-09-12. สืบค้นวันที่ 2010-09-13
  60. ^ Dinh, James. "Lady Gaga Says Born This Way Will Be 'Greatest Album Of This Decade'", MTV (MTV Networks), 2010-11-09. สืบค้นวันที่ 2010-11-30
  61. ^ Birchmeier, Jason (2008-04-20). [เลดี้ กาก้า ที่ ออลมิวสิก "Allmusic| Lady Gaga"]. AllmusicRovi Corporationเลดี้ กาก้า ที่ ออลมิวสิก. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-01-03.
  62. ^ Reporter, Staff. "Britney Spears/Lady Gaga collaboration in the works", The SunPop Crunch, 2010-02-10. สืบค้นวันที่ 2010-06-20
  63. 63.0 63.1 Dingwall, John. "The Fear Factor; Lady Gaga used tough times as inspiration for her new album", Daily Record, 2009-11-27, หน้า 48–49. สืบค้นวันที่ 2010-05-06
  64. ^ Thomson, Graeme. "Soundtrack of my life: Lady Gaga", The GuardianGuardian News and Media, 2009-09-06. สืบค้นวันที่ 2010-05-06
  65. ^ Symonds, Alexandra (2009-07-10). "Lady GaGa: "Grace Jones, Androgynous, Robo, Future Fashion Queen""Prefix.http://www.prefixmag.com/news/lady-gaga-grace-jones-androgynous-robo-future-fash/26057/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-07-11.
  66. ^ Smith, Liz. "Debbie Harry Would Love To Perform With Lady Gaga", Evening StandardDaily Mail and General Trust, 2009-10-25. สืบค้นวันที่ 2009-10-30
  67. ^ Simpson, Dave. "Lady Gaga: Academy, Manchester", The GuardianGuardian News and Media, 2009-07-01. สืบค้นวันที่ 2009-10-30
  68. ^ Rodman, Sarah. "Lady Gaga", The Boston Globe, 2008-10-27. สืบค้นวันที่ 2009-08-09
  69. ^ Sawdey, Evan (2009-01-12). "Lady GaGa The Fame"PopMattershttp://www.popmatters.com/pm/review/68939-lady-gaga-the-fame/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-04-30.
  70. ^ Garcia, Cathy. "Lady Gaga Burning Up Album Charts", The Korea TimesHankook Ilbo, 2009-03-08. สืบค้นวันที่ 2009-03-10
  71. ^ Geier, Thom (2009-12-11). "The 100 Greatest Movies.. Trends That Entertained Us Over The Past 10 Years". Entertainment Weekly (Time Inc.)1079/1080 (ฉบับที่ 74): 84. ISSN 10490434.
  72. ^ Buckner, Michael (2009-12-28). "The Year in Style | Lady Gaga"The New York Times.http://www.nytimes.com/slideshow/2009/12/24/style/YEARGAGA1227_index.html?ref=lady_gaga. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-17.
  73. ^ Lewis, Luke. "Lady Gaga Vs. Roisin Murphy – Spot The Difference", Yahoo!, 2009-08-09. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  74. ^ Lewis, Luke. "Lady Gaga Vs. Roisin Murphy – Spot The Difference", Yahoo!, 2009-08-09. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  75. ^ Browne, David (2010-01-09). "Is Lady GaGa a saviour of Pop?". Entertainment Weekly 1091 (ฉบับที่ 02). ISSN 10490434.
  76. ^ Andres, Joanna. "Heather Cassils: Lady Gaga's Prison Yard Girlfriend", Out, 2010-04-09. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  77. ^ "Lady Gaga Fashion – Vote on 15 of Lady Gaga's Outfits"Elle. 2009-12-01http://www.elle.com/Fashion/Fashion-Spotlight/Celebrity-Fashion-Lady-Gaga. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-18.
  78. ^ "Kylie Minogue thinks there's an element of her in Lady Gaga‎", Hollywood News, 2010-06-13. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  79. ^ Vena, Jocelyn. "Lady Gaga Lets It Bleed During Eye-Popping VMA Performance", MTV, 2009-09-13. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  80. ^ Roberts, Sorya. "Fans protest Lady Gaga's blood-spattered Monster Ball show in England after shooting spree", New York Daily News, 2010-06-03. สืบค้นวันที่ 2010-06-23
  81. ^ "Gaga's bloody stage show sparks fury", Hindustan Times, 2010-06-04. สืบค้นวันที่ 2010-06-23
  82. ^ Empire, Kitty. "Lady Gaga at MEN arena, Manchester", The Guardian, 2010-02-21. สืบค้นวันที่ 2010-06-18
  83. ^ Roberts, Laura (2010-14-09). "Lady Gaga's meat dress divides opinion"The Daily Telegraphhttp://www.telegraph.co.uk/culture/music/music-news/8001267/Lady-Gagas-meat-dress-divides-opinion.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-12.
  84. ^ Winterman, Denise; Kelly, Jon (2010-14-09). "Five interpretations of Lady Gaga's meat dress". BBC (BBC Online).http://www.bbc.co.uk/news/magazine-11297832. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-12.
  85. ^ Lee, Ann (2010-14-09). "Lady Gaga defends meat dress by claiming she's no 'piece of meat'"Metrohttp://www.metro.co.uk/music/840850-lady-gaga-defends-meat-dress-by-claiming-shes-no-piece-of-meat. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-12.
  86. ^ Fynes-Clinton, Jane. "Lady Gaga's grab for attention enough to make you gag", The Courier-Mail, 2010-09-15. สืบค้นวันที่ 2010-10-04
  87. ^ Paglia, Camille (2010-09-12). "Lady Gaga and the death of sex"The Sunday Timeshttp://www.shakenstir.co.uk/index.php/features/gaga-and-the-death-of-sex/features/20608/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-10-04.
  88. ^ Odell, Amy. "Lady Gaga dedicates her new 'Little Monsters' tattoo to her fans", Daily NewsNews Corporation, 2010-02-03. สืบค้นวันที่ 2010-04-02
  89. ^ Reporter, Daily Mail. "So who copied who? Lookalikes Lady GaGa and Christina Aguilera", Daily MailAssociated Newspapers, 2009-02-03. สืบค้นวันที่ 2009-02-06
  90. ^ Temple, Sonic. "GaGa: I'm thankful for Christina", OK!Northern & Shell, 2008-12-31. สืบค้นวันที่ 2009-01-08
  91. ^ Thrills, Adrian. "Christina Aguilera Copies Lady GaGa", Daily MailAssociated Newspapers, 2010-05-02. สืบค้นวันที่ 2010-05-10
  92. ^ Tarradell, Mario. "Dale Bozzio should be flattered...maybe", Dallas Morning News, 2009-12-14. สืบค้นวันที่ 2010-11-03
  93. ^ Vena, Jocelyn. "US College Offering Lady GaGa Degree", 'MTV'MTV Netweoks, 2010-10-30. สืบค้นวันที่ 2010-11-03
  94. ^ Deflem, Mathieu. "SOCY 398D – Lady Gaga and the Sociology of the Fame"University of South Carolina.http://www.cas.sc.edu/socy/faculty/deflem/gaga.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-03-11.
  95. ^ Vena, Jocelyn. "Lady Gaga On Success: 'The Turning Point For Me Was The Gay Community'", MTVMTV Networks, 2009-05-07. สืบค้นวันที่ 2009-08-11
  96. ^ แม่แบบ:Cite album-notes
  97. ^ "NewNowNext Awards". 2008-05-03http://www.logotv.com/video/franchise.jhtml?ctid=1956. เรียกข้อมูลเมื่อ 2009-08-11.
  98. ^ "2008 Main Stage Line-Up", San Francisco Pride, 2008-06-13. สืบค้นวันที่ 2009-08-11
  99. ^ "Lady GaGa's wacky headgear almost knocks out chat show host Ellen DeGeneres", Daily MailAssociated Newspapers, 2009-05-13. สืบค้นวันที่ 2009-08-11
  100. ^ Vena, Jocelyn. "Lady Gaga's Shocking 2009 VMA Fashion Choices", MTVMTV Networks, 2009-08-14. สืบค้นวันที่ 2009-08-19
  101. ^ Carter, Nicole (2009-12-10). "Lady Gaga performs her version of 'Imagine' at the Human Rights Campaign dinner in Washington D.C."Daily News. News Corporationhttp://www.nydailynews.com/gossip/2009/10/12/2009-10-12_lady_gaga_performs_her_version_of_imagine_at_the_human_rights_campaign_dinner_in.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-06-12.
  102. ^ Zezima, Katy. "Lady Gaga Goes Political in Maine", 2010-09-20. สืบค้นวันที่ 2010-09-21
  103. ^ "Gaga: We've Found Our Fierce Advocate"The Advocate. 2010-09-28.http://www.advocate.com/News/Daily_News/2010/09/21/Lady_Gaga_Weve_Found_Our_Fierce_Advocate/. เรียกข้อมูลเมื่อ 2010-09-21.

[แก้]ดูเพิ่ม

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่น ๆ เกี่ยวกับ:
เลดี้ กาก้า


ที่มา : ณัฐกร เวียงอินทร์ / Matichon.co.th,

pingbook.com,th.wikipedia.org,Youtube.com,pantip.com
เรียบเรียง : ruengdd.com,เรื่องดีดี.com