รู้จักภัยน้ำท่วม และวิธีการรับมือน้ำท่วมพร้อมวิธีทำเสื้อชูชีพและเรือจากขวดพลาสติกและวิธีการวางกระสอบทรายให้ถูกต้อง




          เมื่อย่างเข้าสู่ปลายเดือนพฤษภาคม สายน้ำแห่งความชุ่มฉ่ำ จะค่อย ๆ ไหลรินลงมาจากก้อนเมฆบนท้องฟ้า นั่นหมายความว่า กำลังเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งสายฝนจะตกโปรยปรายลงมาให้ชุ่มฉ่ำ พืชผลทางการเกษตร ดอกไม้ ใบหญ้า จะได้สัมผัสกับน้ำฝนอย่างเต็มที่ เหล่าพายุต่าง ๆ แห่แหนพัดผ่านอยู่เนือง ๆ จนกว่าจะหมดฤดูในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งก่อนที่น้ำฝนจะเทลงมาในฤดูฝนนั้น เกษตรกรในแถบที่ราบสูงของไทย ต้องเผชิญกับความแห้งแล้งแสนสาหัส ถึงขนาดที่ต้องพึ่งพาโครงการฝนหลวง เพื่อให้ผลผลิตการเกษตรยังคงออกดอกออกผลอยู่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในปีนี้ ความดีใจของเกษตรกรกลับเปลี่ยนแปลงเป็นความทุกข์ใจอีกครั้ง เพราะฝนที่ยังคงตกอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ได้เปลี่ยนให้แผ่นดินที่แห้งแล้ง ต้องเผชิญกับน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมสูงจนทะลักเข้าสู่ที่พักอาศัย

          อุทกภัย หรือ ที่เราเรียกติดปากว่า น้ำท่วม คือ มหันตภัยร้ายที่เกิดขึ้นโดยเงื้อมมือของธรรมชาติ และเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยน้ำท่วมออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้



          1. น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องจากฝนที่ตกติดต่อกันหลายชั่วโมง จนผืนดินไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทัน น้ำฝนที่เทลงมาจึงไหลลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในที่ราบสูง และไหลลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า จนทำให้น้ำทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย

          2. น้ำท่วมขัง และน้ำล้นตลิ่ง เพราะฝนที่ตกอย่างหนักทำให้พื้นที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ มีน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายน้ำออกได้ อีกทั้งน้ำในแม่น้ำลำคลองยังมีปริมาณมากจนล้นตลิ่ง และอาจทะลักเข้าถึงบ้านเรือนได้

          ในประเทศไทย เคยเกิดเหตุน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในแถบภาคเหนือ และภาคอีสาน ไม่เว้นแม้แต่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครเอง ก็เคยประสบภัยน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน





ย้อนรอยน้ำท่วม


          จ.ลพบุรี ที่ราบสูงตอนกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี เพราะมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำสายสำคัญ อย่างแม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ปัญหาน้ำท่วมจึงมีให้เห็นเป็นประจำอยู่ทุกปี แม้จะมี เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คอยกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำอยู่ก็ตาม ในปี 2553 นี่ก็เช่นกัน จ.ลพบุรี ประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก ต้องปิดโรงเรียน และระดมหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายครัวเรือน

          จ.ลำปาง หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ อ.แจ้ห่ม ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำ ที่มีแม่น้ำแม่สอย และแม่น้ำวัง ไหลผ่านมาบรรจบกัน อีกทั้งสภาพภูมิศาสตร์ จ.ลำปาง ยังเป็นพื้นดินต่ำ มีภูเขาล้อมรอบ จนถูกเรียกว่า อ่างลำปาง โดยล่าสุดน้ำป่าไหลหลากและน้ำจากแม่น้ำก็ไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนใน อ.แจ้ห่ม และบริเวณรอบ ได้รับความเสียหาย มีระดับน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร มีผู้ประสบภัยนับ 1,000 หลังคาเรือน

          จ.เชียงราย คือจังหวัดใหญ่ทางภาคเหนือ ที่แม้จะอยู่เหนือสุดของประเทศไทย แต่ก็ยังต้องประสบภัยน้ำท่วมอย่างหนักในปีนี้ เนื่องจากฝนที่ตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากทะลักล้นเข้าสู่บ้านเรือน ใน 5 อำเภอ ที่ได้รับความเดือดร้อนหนัก คือ อ.ดอยหลวง, อ.พญาเม็งราย, อ.แม่จัน , อ.แม่ฟ้าหลวง และ อ.เวียงเชียงรุ้ง อีกทั้งล่าสุดอ่างเก็บน้ำห้วยพลู ก็ยังแตกออกจนเป็นเหตุให้น้ำทะลักและดินทรุดตัวลง รวมถึงถนนขาดออกจากกันอีกด้วย

          กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย ก็เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาแล้วเช่นกัน โดยเฉพาะในปี 2538 น้ำท่วมขังอยู่นานราว 2 เดือน คนเมืองหลวงต่างต้องใช้ชีวิตท่ามกลางน้ำท่วมขัง ถือเป็นภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้สาเหตุมาจากกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต่ำและกำลังทรุดตัวลงอยู่เรื่อย ๆ ประกอบกับน้ำทะเลที่ค่อย ๆ หนุนสูงขึ้นทุกปี

          นี่เป็นเพียงตัวอย่างบางจังหวัดของประเทศไทย ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก และยังคงมีอีกหลายจังหวัดที่ยังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากที่ประชาชนจะต้องรับรู้ไว้ เพื่อรับมือกับปัญหาน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้

วิธีรับมือน้ำท่วม    

          1. หมั่นติดตามข่าวสาร และประกาศเตือนทุกช่องทาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เสาสัญญาณ เป็นต้น

          2. เตรียมข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ไฟฉาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อเอาตัวรอดในยามน้ำท่วม

          3. เตรียมกระสอบทรายไว้เพื่อทำผนังกั้นน้ำ (แต่ห้ามวางไว้พิงกำแพง เพราะจะเพิ่มแรงดันให้น้ำทะลักเข้ามาได้ง่าย)

          4. หมั่นทำความสะอาดพื้น ไม่ให้มีของอันตรายหากเกิดน้ำท่วมสูง

          5. เก็บของมีค่า และสัตว์เลี้ยง รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า ไปไว้ชั้นบนของบ้าน

          6. เตรียมเบอร์ติดต่อ หน่วยงานของรัฐ เผื่อต้องการความช่วยเหลือ

          7. ชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์สื่อสารให้พร้อม

          8. หากเกิดน้ำท่วมให้หนีขึ้นที่สูง และปิดวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

          9. พยายามหาส่วนแห้งเพื่อหลบภัย และป้องกันไฟดูด

          10. ห้ามรับประทานน้ำที่ท่วมสูง หากขาดแคลนน้ำดื่ม ให้ต้มก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคระบาด

          11. หากน้ำท่วมไม่สูงมาก ให้ระวังการใช้รถใช้ถนน และดูแลเด็กเล็กไม่ให้ออกจากบ้าน

          12. ระวังสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ หากถูกกัดให้ล้างแผลด้วยน้ำต้มสุกและเช็ดแอลกอฮอล์รอบแผล จากนั้นหาทางไปโรงพยาบาลทันที



หน่วยงานให้ความช่วยเหลือน้ำท่วมและหมายเลขสอบถามข้อมูลน้ำท่วมต่าง ๆ


1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช

          - หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ

          - ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา" เลขบัญชี  301-0-86149-4

2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา

          - สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7

3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             086-251-2188 begin_of_the_skype_highlighting            086-251-2188      end_of_the_skype_highlighting       ตลอด 24 ชั่วโมง

          - ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1

4. กรมอุตุนิยมวิทยา

          - เว็บไซต์ tmd.go.th

          - สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4,             02-399-4394 begin_of_the_skype_highlighting            02-399-4394      end_of_the_skype_highlighting      

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร.            044-255-252 begin_of_the_skype_highlighting            044-255-252      end_of_the_skype_highlighting      

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร.            038-655-075 begin_of_the_skype_highlighting            038-655-075      end_of_the_skype_highlighting                  038-655-477 begin_of_the_skype_highlighting            038-655-477      end_of_the_skype_highlighting      

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร.            076-216-549 begin_of_the_skype_highlighting            076-216-549      end_of_the_skype_highlighting      

          - สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร.            077-511-421 begin_of_the_skype_highlighting            077-511-421      end_of_the_skype_highlighting      

5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          - เว็บไซต์ disaster.go.th

          - สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784

          - ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่ 

6. กรุงเทพมหานคร

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-354-6858 begin_of_the_skype_highlighting            02-354-6858      end_of_the_skype_highlighting      

7. สภากาชาดไทย

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603


          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาด 


ไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงาน 


การคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร             02-250-0120 begin_of_the_skype_highlighting            02-250-0120      end_of_the_skype_highlighting       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมาย 


เลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร             02-252-7976 begin_of_the_skype_highlighting            02-252-7976      end_of_the_skype_highlighting      

          - สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์  02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ  หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป

          รายการชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย (สภากาชาดไทย) 1 ชุด ประกอบด้วย

          1.  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  จำนวน  30 ซอง

          2.  ปลากระป๋อง  จำนวน  6  กระป๋อง

          3.  ผักกาดดอง  จำนวน  6  กระป๋อง

          4.  ปลาราดพริก  จำนวน  6  กระป๋อง

          5.  ข้าวหอมมะลิกระป๋อง 150 กรัม  จำนวน  6 กระป๋อง

          6.  น้ำพริก  จำนวน  2  กระปุก

          7.  ไก่ทอดกระเทียม  จำนวน  2  กระป๋อง

          8.  เครื่องดื่มช็อคโกแลตผง 3 in 1 (1X6 ซอง)  จำนวน  2  ถุง

          9.  ข้าวสาร (5 กิโลกรัม)  จำนวน  1  ถุง

          10.  โลชั่นกันยุง  จำนวน  1  ขวด

          11.  เทียนไข (1X2 เล่ม)  จำนวน  1  กล่อง

          12.  ไฟแช็ค  จำนวน  1  อัน

          13.  กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน  จำนวน  1  ชุด

          14.  ยาสามัญประจำบ้าน  จำนวน  1  ชุด

          15.  ยาแก้น้ำกัดเท้า  จำนวน  1  หลอด

          16.  เกลือไอโอดีน  จำนวน  1  ถุง

          17.  ถุงขยะสีดำ ขนาดเล็ก  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

          18.  ถุงขยะสีดำ ขนาดใหญ่  จำนวน  1  แพ็ค (6 ใบ)

8. กองบัญชาการ กองทัพไทย

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร 6) ตลอดเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-575-1500 begin_of_the_skype_highlighting            02-575-1500      end_of_the_skype_highlighting      

9. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-338-3333 begin_of_the_skype_highlighting            02-338-3333      end_of_the_skype_highlighting       และ            02-338-3000 begin_of_the_skype_highlighting            02-338-3000      end_of_the_skype_highlighting       กด 3

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซีคอนสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป เพื่อโครงการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม" เลขที่บัญชี            095-2-71929-7 begin_of_the_skype_highlighting            095-2-71929-7      end_of_the_skype_highlighting       

10. สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 + ครอบครัวข่าวช่อง 3


          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์สี่ ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 และสามารถช่วยบรรจุหีบห่อได้ที่หน้าอาคารได้เลย แผนที่คลิกที่นี่
          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" เลขที่บัญชี             014-3-00368-9 begin_of_the_skype_highlighting            014-3-00368-9      end_of_the_skype_highlighting      


11. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ หน้าสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5 สนามเป้า  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 021-2-69426-9


12. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ตึกอสมท. ถ.พระราม9 เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์            02-201-6000 begin_of_the_skype_highlighting            02-201-6000      end_of_the_skype_highlighting       ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)‎ 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี             015-0-12345-0 begin_of_the_skype_highlighting            015-0-12345-0      end_of_the_skype_highlighting       สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-0700-4

13. กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 NBT

          - สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ จะเป็นสื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" โดยยกเลิกผังรายการเดิมทั้งหมด 

          - สำหรับการรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-275-2053 begin_of_the_skype_highlighting            02-275-2053      end_of_the_skype_highlighting       แผนที่คลิกที่นี่ 


14. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย 

          - สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7,            02-791-1113 begin_of_the_skype_highlighting            02-791-1113      end_of_the_skype_highlighting       หรือ people@thaipbs.or.th สามารถไปบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง, ข้าวของเครื่องใช้ ได้ที่ ตึกชินวัตร3  แผนที่คลิกที่นี่

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี             020-2-69333-2 begin_of_the_skype_highlighting            020-2-69333-2      end_of_the_skype_highlighting      



15. จส. 100

          - สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์            044-242-047 begin_of_the_skype_highlighting            044-242-047      end_of_the_skype_highlighting       ต่อ 21,             044-212-200 begin_of_the_skype_highlighting            044-212-200      end_of_the_skype_highlighting                  037-211-098 begin_of_the_skype_highlighting            037-211-098      end_of_the_skype_highlighting                  036-461-422 begin_of_the_skype_highlighting            036-461-422      end_of_the_skype_highlighting      ,            036-211-105 begin_of_the_skype_highlighting            036-211-105      end_of_the_skype_highlighting       ต่อ24

16. มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" บัญชีเลขที่บัญชี 111-3-90911-5 บริจาคผ่าน ATM / สาขา SCB ไม่เสียค่าโอน

17. ธนาคารออมสิน

          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 0-2888888888-1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว

18. โรงแรมดุสิตธานี

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม ได้ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันพุธที่ 20 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น.

19. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน

          - รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-465-6165 begin_of_the_skype_highlighting            02-465-6165      end_of_the_skype_highlighting      

20. การรถไฟแห่งประเทศไทย

          - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690

21. ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 

          - ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1669

22. บริษัทขนส่ง

          - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

23. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1 


          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1 






24. มูลนิธิซีเมนต์ไทย

          - สามารถบริจาคอาหาร ผ้าอนามัย กางเกงในกระดาษ กระดาษทิชชู ถุงขยะ เทียนไข และไฟแช็ค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์             02-586-3415 begin_of_the_skype_highlighting            02-586-3415      end_of_the_skype_highlighting      

25. จุดรับบริจาคของคนเสื้อแดงกลุ่ม Red Cyber

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าแฟชั่นมอลล์ (จอดรถข้างหน้าได้เลย) และบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5 ที่สถานีเอเชียอัพเดท

26. DTAC

          - สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ DTAC อาคารจามจุรีแสควร์ ถึงวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2553



27. มูลนิธิกระจกเงา

          - สามารถไปบริจาคข้าว สาร, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม และยารักษาโรค ช่วยเหลือพี่-น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ)  8/12 ซ.วิภาวดี44  ถ.วิภาวดีรังสิต  แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900


          - สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" เลขที่บัญชี    000-0-01369-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์              087-274-9769 begin_of_the_skype_highlighting            087-274-9769      end_of_the_skype_highlighting       (เอ), 02-941-4194-5 ต่อ 102 (เอ,สุกี้)
28. กรมทางหลวง

          - สายด่วนกรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

          - สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์             02-354-6530 begin_of_the_skype_highlighting            02-354-6530      end_of_the_skype_highlighting      , 02-354 -6668-76 ต่อ 2014 ,2031

          - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง หมายเลขโทรศัพท์             02-354-6551 begin_of_the_skype_highlighting            02-354-6551      end_of_the_skype_highlighting      

          - ตำรวจทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1193

29 . องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

          - สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1490 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในบริจาคสิ่งของ


ข้อแนะนำเกี่ยวกับไฟฟ้าในกรณีที่มีน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง


เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมทุกขณะและมีข้อแนะนำประชาชนเกี่ยวกับไฟฟ้า กรณีเกิดน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ดังนี้
- ก่อนน้ำท่วมเข้าภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน ให้รีบขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงหรือที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึง
- กรณีเป็นบ้านสองชั้นและมีสวิตช์แยกแต่ละชั้น หากน้ำกำลังจะท่วมชั้นล่าง ให้ปลดสวิตช์ตัดกระแสไฟฟ้าเฉพาะชั้นล่าง
- กรณีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานและมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้าน ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชั้นบน โดยให้เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าปลดสวิตช์ที่ชั้นล่างให้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคหรือช่างไฟฟ้าเพื่อแยกวงจรชั้นบนและชั้นล่าง
- กรณีบ้านชั้นเดียว ให้งดใช้ไฟฟ้าโดยเด็ดขาด งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิตช์ไฟด้านในและด้านนอกอาคารที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะตัวเปียกหรือยืนแช่น้ำ แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นอาจอยู่เหนือระดับน้ำ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ *** ปลั๊กไฟที่น้ำท่วมห้ามใช้งานเด็ดขาด ***
- ควรอยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือระบบจำหน่ายในพื้นที่น้ำท่วมอย่างน้อย 1 - 2 เมตร เพื่อความปลอดภัย หากพบเห็นสายไฟฟ้าขาดหรือเสาไฟฟ้าล้มหรือสายไฟฟ้าขาดแช่น้ำ อย่าเข้าใกล้หรือสัมผัส ให้รีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการแก้ไข
- พบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด อย่าใช้มือเปล่าแตะต้องตัวผู้ที่ติดอยู่กับกระแสไฟฟ้าหรือตัวนำที่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายเป็นอันขาด เพื่อป้องกันมิให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดจนได้รับอันตรายไปด้วย
* ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ผ้า ไม้แห้ง เชือกแห้ง สายยางหรือพลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนา แล้วผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบอันตรายให้หลุดออกมาโดยเร็ว หรือใช้ผ้าคล้องหรือให้ผู้มีความรู้ด้านไฟฟ้าปลดสวิตช์ จากนั้น ปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนนำส่งโรงพยาบาล
* หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูง ให้หลีกเลี่ยงและรีบแจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่หรือสายด่วน กฟภ. โทร.1129 โดยเร็วที่สุด
* อย่าลงไปในน้ำ กรณีมีกระแสไฟฟ้าอยู่ในบริเวณน้ำท่วมขัง หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือแจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินการตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จึงค่อยช่วนผู้ประสบอันตราย
*** การช่วยผู้ประสบอันตรายจากไฟฟ้า จำเป็นต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว รอบคอบและระมัดระวังเป็นพิเศษ ***
สอบถามข้อมูล แจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องหรือขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับไฟฟ้าได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สายด่วน กฟภ. โทร.1129 PEA Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง
ที่มาข้อมูลและภาพ :
- แผนกส่งเสริมและเผยแพร่ความปลอดภัย กองมาตรฐานความปลอดภัย ฝ่ายมาตรฐานและความปลอดภัย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค






ขณะนี้หลายพื้นที่ของประเทศไทยกำลังถูกภัยน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก หลากหลายพื้นที่ จะทำให้เกิดความเดือดร้อนต่างๆนานา ข้าวของเสียหาย รวมไปถึงสถานที่ต่างๆ โบราณสถานที่มีความสำคัญก็ถูกน้ำท่วม ทำลายไปอย่างน่าเสีย หลายครั้งเราก็จะเห็นการกั้นน้ำไม่ให้น้ำไหลผ่าน หรือไม่ให้น้ำเข้าท่วมโดยการใช้กระสอบทรายกั้นน้ำเอาไว้ แต่วิธีการวางที่ถูกต้องมันควรจะเป็นอย่างไร จึงจะไม่พังและสามารถกั้นน้ำได้จริง เราต้องมาดู วิธีการวางกระทรอบทรายให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันแนวกั้นพัง ในระหวางที่น้ำท่วมกันนะครับ

วิธีการวางกระทรอบทรายให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันแนวกั้นพัง ในระหวางที่น้ำท่วมกัน

จากการศึกษาวิธีการวางกระทรอบทรายให้ถูกต้องเพื่อป้องกันแนวกั้นพัง ในระหวางที่น้ำท่วมกัน นั้น มหาวิทยาลัยนอร์ธ ดาโกตา สเตท (North Dakota State University) สหรัฐฯ ได้ระบุไว้ว่าการวางกระสอบทรายที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้คันกั้นน้ำพังทรายลงได้ โดยกระสอบทรายที่นำมาใช้นั้นควรเติมทรายให้มีปริมาตรครึ่งหนึ่งของขนาด กระสอบทรายและให้มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 15-18 กิโลกรัม และไม่หนักมากเพื่อสะดวกต่อการขนย้าย
ส่วนทำเลสำหรับวางกระสอบทรายควรเป็นทำเลที่ช่วยให้เราวางแนวกั้นได้สั้นและ เตี้ยที่สุด ซึ่งช่วยประหยัดการใช้กระสอบทรายได้ และต้องระวังสิ่งกีดขวางที่จะทำลายคันกั้นน้ำ อีกทั้งอย่าทำแนวกั้นพิงผนังสิ่งกอ่สร้าง เพราะจะเกิดแรงจากแนวกระสอบทรายกระทำต่อผนังสิ่งก่อสร้างได้ และควรทิ้งระยะห่างระหว่างคั้นกั้นน้ำกับสิ่งก่อสร้างประมาณ 2.5 เมตร เพื่อให้เราสังเกตเห็นการรั่วซึมของคันกั้นน้ำ และยังเป็นพื้นที่ให้เราวิดน้ำที่รั่วซึมออกมาหรือใช้เพื่อกิจกรรมอื่นๆ
ในขณะที่กระสอบทรายเกิดการเสียดสีกัน มันจะช่วยป้องกันการลื่นไถลของคันกั้นน้ำ ดังนั้น เราต้องทำให้เกิดการยึดกันอย่างดีระหว่างพื้นดินและคันกั้นน้ำ ระวังอย่าให้มีการไหลของน้ำใต้แนวคันกั้นน้ำ และเราต้องทำการเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการลื่นไถล โดยถ้าคันกั้นน้ำสูงกว่า 1 เมตร ให้ขุดคูตรงแนววางกระสอบทราบเพื่อให้เกิดความมั่นคงระหว่างแนวกระสอบทรายและ พื้นดิน โดยคูดังกล่าวนั้นควรลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 45- 60 เซนติเมตร หรือเป็นความลึกประมาณความหนาของกระสอบทราย 1 กระสอบ และกว้างเท่ากระสอบทราย 2 กระสอบ

ความสูงของ การวางแนวกระสอบทราย ที่ป้องกันแนวกั้นพัง

แนวกระสอบทรายควรสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 30 เซนติมตร โดยความกว้างของฐานคันกั้นน้ำนั้นควรมากกว่าความสูงของคันกั้นน้ำ 3 เท่า เช่น คันกั้นน้ำสูง 1 เมตร ฐานควรกว้าง 3 เมตร เป็นต้น ทั้งนี้ จากการคำนวณเมื่อใช้กระสอบทรายที่หนา 10 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร และยาว 35 เซนติเมตรนั้น ทุกความยาว 30 เซนติเมตรของแนวกั้นจะใช้กระสอบทราย 1 กระสอบ และทุกๆ ความสูงของแนวกั้น 30 เซนติเมตรต้องใช้กระสอบทราย 3 กระสอบ และทุกๆ ความกว้างของแนวกั้น 80 เซนติเมตรต้องใช้กระสอบทราย 3 กระสอบ

สูตรการคำนวณหาจำนวนกระสอบทรายที่ต้องใช้ ในการวางแนวกระสอบทราย ป้องกันแนวกั้นพัง

เราสามารถใช้สูตรต่อไปนี้เพื่อคำนวณหาจำนวนกระสอบทรายที่ต้องใช้ทุกๆ ความยาว 1 ฟุต (เมื่อวัดความสูงเป็นหน่วยฟุต) ดังนี้ครับ
จำนวนกระสอบทราย = {(3 x ความสูงคันกั้นน้ำ) + (9 x ความสูงคันกั้นน้ำx ความสูงคันกั้นน้ำ)} / 2       << สูตรคำนวณหากระสอบทราย
ตัวอย่างเช่น
เมื่อใช้กระสอบทรายหนา 10 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร และยาว 35 เซนติเมตร สร้างคันกั้นน้ำสูง 3 ฟุต (ทุกๆ ความยาว 1 ฟุต ฐานกว้าง 3 ฟุต)
ต้องใช้กระสอบทราย = {(3X3) + (9X3X3)} /2 = 45 กระสอบ
หรือ ตัวอย่างที่ได้คำนวณแล้วทุกความยาวแนวคันกั้นน้ำ 100 ฟุต จะใช้จำนวนกระสอบทราย ดังนี้
คันกั้นน้ำสูง 1 ฟุต ใช้กระสอบทราย 600 กระสอบ
คันกั้นน้ำสูง 2 ฟุต ใช้กระสอบทราย 2,100 กระสอบ
คันกั้นน้ำสูง 3 ฟุต ใช้กระสอบทราย 4,500 กระสอบ
คันกั้นน้ำสูง 4 ฟุต ใช้กระสอบทราย 7,800 กระสอบ
เมื่อทราบจำนวนกระสอบทรายที่ต้องใช้แล้วก็มาถึงการวางกระสอบทราย ทั้งนี้ ต้องให้คันกั้นน้ำขนานไปกับทิศทางการไหลของน้ำ และวิธีวางกระสอบทรายคือวางกระสอบทรายทับบริเวณที่ไม่ได้เติมทรายของ อีกกระสอบทรายให้สนิทเป็นแนวเช่นนี้ไปเรื่อยๆ และให้ปากกระสอบหันในทิศทางตรงข้ามกับกระแสน้ำ แล้วขึ้นไปเดินบนกระสอบทรายในชั้นที่วางเสร็จเพื่อให้แนวกั้นน้ำหนาแน่นและ มั่นคง ส่วนชั้นต่อมาให้วางกระสอบทับรอยต่อของกระสอบชั้นล่างและใหเชั้นล่างเหลือ พื้นที่โผล่ออกมาประมาณครึ่งกระสอบ
หลังจากเรียงกระสอบสอบทรายจนได้เป็นคันกั้นน้ำแล้ว ให้หาแผ่นพลาสติกมาวางทับแนวกั้นน้ำแล้วใช้กระสอบทรายวางทับที่ปลาย แผ่นพลาสติกทั้งสองด้าน และอย่าให้แผ่นพลาสติกตึงเกินไป เพราะแรงกระแทกของน้ำจะทำลายแนวกั้นได้ นอกจากนี้ยังต้องระวังไม่ให้พลาสติกเป็นรูหรือถูกเจาะจากของมีคมด้วย
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางแนวกระสอบทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วางกระสอบทรายซ้อนทับแบบสับหว่าง และขุดตรงกลางฐานล่างให้ลึกประมาณความหนา 1 กระสอบ และกว้างประมาณ 2 กระสอบ เพื่อความมั่นคง
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางกระสอบทรายให้ทับอีกกระสอบในส่วนที่ไม่ได้เติมทราย แล้วให้หันด้านปากกระสอบทรายไปในทิศตรงข้ามการไหลของกระแสน้ำ

วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
การวางแนวกระสอบทราย เปรียบเทียบสัดส่วนความสูงและความกว้่างของฐานแนวคันกั้นน้ำ
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางกระสอบทรายชั้นบนทับชั้นล่าง ให้ฐานล่างโผล่ออกมาประมาณครึ่งกระสอบ
วิธีวางแนวกระสอยทราย ไม่ให้พัง
วิธีวางแนวกระสอบทราย ไม่ให้พัง เติมทรายลงกระสอบประมาณครึ่งกระสอบ

อยากให้นำความรู้ วิธีการวางกระทรอบทรายให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันแนวกั้นพัง ในระหวางที่น้ำท่วมกัน ไปประยุกต์ใช้ในการทำแนวกันน้ำนะครับ จะทำให้แนวกันน้ำไม่พังง่ายและมีความคงทนแข็งแรงครับ จะได้น้ำไม่ทะลักเข้าไปสู่พื้นที่ที่เราไม่ต้องการให้น้ำเข้าไปได้ครับ

หวังว่าอุทกภัยน้ำท่วมคงจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะครับ และขอให้ทุกคนปลอดภัยจากภัยพิบัตินี้นะครับ เพราะมันสร้างความเสียหายอย่างมากมายเลยครับ และล่าสุดได้เปิดเจอหนังสือพิมพ์ ได้พาดหัวข่าวเอาไว้ว่า “สุขุมพันธ์ วอนอย่าตกใจ! กรุงเทพฯจมแน่” ซึ่งเราทุกคนที่อยู่กรุงเทพก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นนะครับ จงมีสติและหาวิธีแก้ปัญหาให้ได้ครับ ขอให้ทุกคนปลอดภัยครับ

กรุงเทพฯจมแน่ !

วิธีทำเสื้อชูชีพด้วยตัวเองและวิธีทำเรือจากขวดพลาสติก


อ้างอิงข้อมูลจาก : www.manager.co.th,กระปุกดอทคอม,
ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 8ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือสภากาชาดไทย,imarm.com
เรียบเรียง : http://www.ruengdd.com/