ชะตา 'เฟซบุ๊กโฟน' อยู่ในตลาดหุ้นพร้อมประวัติมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก(Mark Zuckerberg)


ถ้าคุณได้ติดตามสถานการณ์ในตลาดหุ้นนิวยอร์กตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า ราคาหุ้นเฟซบุ๊ก ที่บรรดาเซียนตลาดหุ้นและไอทีทั้งหลายต่างฟันธง (ก่อนจะนำเข้าขายในตลาดหุ้น) ว่าจะเป็นหุ้นดาวรุ่งพุ่งแรง สร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำให้แก่นายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่เพิ่งแต่งงานกับหวานใจ พริสซิลลา จาง หลังจากวันประกาศตัวนำหุ้นไอพีโอเข้าขายในตลาดที่นิวยอร์กได้เพียง 1 วัน

แต่ดูเหมือนว่ากราฟราคาหุ้นของเว็บไซต์โซเชียลมีเดียอันดับหนึ่งของโลก (ณ เวลานี้) จะอ่อนแรง มีแต่ดิ่งหัวลง หรือจะเชิดหัวขึ้นก็เพียงช่วงสั้นๆ ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า อาจมีกระบวนการ "ลับ ลวง พราง" กดราคาหุ้นของเฟซบุ๊ก เพื่อที่จะช้อนซื้อในช่วงที่หุ้นมีราคาตกต่ำสุดๆ แล้วเข้าครอบครองสิทธิการบริหารงานแทนนายซัคเคอร์เบิร์กอย่างนิ่มๆ ซึ่งกรณีเช่นนี้ฝรั่งมังค่าเขาเรียกว่า "Hostile Takeover" หรือ การเข้าครอบครองกิจการโดยไม่เป็นมิตร
ใช่ว่าเรื่องเช่นนี้นายซัคเคอร์เบิร์กจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะเทรนเนอร์ อย่างบริษัท เมอร์ริล ลินช์ วาณิชธนกิจที่เคยเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในช่วง 30 ปีที่แล้ว ก็ได้เตือนหนุ่มน้อยวัย 28 ปี ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มมหาเศรษฐีโลก (แม้จะหล่นจากท็อป 40 เศรษฐีอันดับต้นของโลกจากการจัดอันดับของบลูมเบิร์กเมื่อวันอังคารนี้เอง) จากการครอบครองสินทรัพย์ประมาณ 14,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วก็ตาม แต่ก็เชื่อว่านายซัคเคอร์เบิร์กต้องมี "ไม้เด็ด" ที่ยังซ่อนไว้รับมือกับนักลงทุนเจ้าเล่ห์พวกนี้อยู่เช่นเดียวกัน
มิเช่นนั้นมหาเศรษฐีหนุ่มรายนี้คงไม่แพลมเรื่อง "สมาร์ทโฟน" ภายใต้แบรนด์ "เฟซบุ๊ก" ที่มีข่าวว่าจะออกตัวแรงล้อฟรีในปีหน้าให้สาวกเฟซบุ๊กกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลกได้จับจองเป็นเจ้าของกันอย่างแน่นอน
หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส รายงานว่า เฟซบุ๊ก ได้ว่าจ้างวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของบริษัทแอปเปิลไว้มากกว่า 5 คนแล้ว โดยคนเหล่านี้เคยมีส่วนร่วมผลิตไอโฟน และยังจ้างวิศวกรอีกคนที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาไอแพดด้วย และเตรียมปล่อยสมาร์ทโฟนที่ผลิตขึ้นเองออกสู่ตลาดในปีหน้า 


ทั้งยังมีรายงานออกมาว่า เฟซบุ๊กได้จูบปากกับ เอชทีซี ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติไต้หวัน ในการพัฒนาสมาร์ทโฟนที่ใช้ชื่อในการพัฒนาว่า "บัฟฟี่" ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าเฟซบุ๊ก "เอาจริง" กับการทำตลาดสมาร์ทโฟนอย่างแน่นอน และยิ่งวิศวกรรายหนึ่งของบริษัทแอปเปิล เคยคุยกับนายซัคเคอร์เบิร์ก และได้ยินจากปากของมหาเศรษฐีหนุ่มรายนี้ว่า หากเฟซบุ๊กไม่ผลิตสมาร์ทโฟนของตัวเองในอนาคตอันใกล้ เฟซบุ๊กจะกลายเป็นเพียงแอพพลิเคชั่นหนึ่งในสมาร์ทโฟนของผู้ผลิตอื่นๆ
ขณะเดียวกันนักวิเคราะห์บางคนบอกว่า การผลิตแท็บเล็ตน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าสำหรับเฟซบุ๊ก เพราะตลาดยังไม่มีการแข่งขันสูงมากเหมือนสมาร์ทโฟน แต่ก็มีปัญหาว่า วัยรุ่นยังไม่นิยมใช้แท็บเล็ตเท่ากับสมาร์ทโฟน
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้เชื่อได้ในระดับหนึ่งว่า เฟซบุ๊กต้องการสร้างสมาร์ทโฟนของตนเองขึ้นมา และมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการ (โอเอส) ของตนเอง แม้จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและต้องแข่งขันกับเจ้าตลาดสมาร์ทโฟน ทั้ง แอปเปิล อิงค์ เจ้าของ ไอโฟน และ กูเกิล ที่ส่งโอเอส แอนดรอยด์ ไปสู่ความสำเร็จด้วยการเปิดให้นักพัฒนานำโอเอสแอนดรอยด์ไปต่อยอดพัฒนากันอย่างเปิดเผย ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแทบทุกค่ายในโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ เว้นแต่ แอปเปิล อิงค์ กับ โนเกีย ที่แม้จะผิดหวังกับโอเอสซิมเบียนของตนเอง แต่ก็ไม่สนใจแอนดรอยด์ กลับไปจับมือเป็นพันธมิตรกับไมโครซอฟท์ เจ้าของโอเอส วินโดว์ส ผลิตวินโดว์สโฟนขึ้นมาแทน
เชื่อได้ว่าสาวกเฟซบุ๊กจำนวนไม่น้อยยินดีที่จะเปลี่ยนใจไปใช้สมาร์ทโฟนของเฟซบุ๊ก เฉพาะที่ประเทศอังกฤษก็มีผลสำรวจออกมาแล้วว่า บรรดาผู้ใช้สมาร์ทโฟน 1 ใน 3 ของประเทศยินดีจะเปลี่ยนค่ายเทใจให้เจ้าโทรศัพท์ที่มีชื่อเล่นว่า "บัฟฟี่" จากเฟซบุ๊ก
นักวิเคราะห์ชี้ว่า จุดเป็นจุดตายของสมาร์ทโฟนของเฟซบุ๊กอยู่ที่การผลิตแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานขอสาวกเฟซบุ๊กได้อย่างตรงใจ และสะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งเฟซบุ๊กก็เริ่มชิมลางกับการส่งแอพพลิเคชั่นที่แยกการทำงานของกล้อง และการสนทนา (แชท) ออกจากกันให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนได้ดาวน์โหลดกันได้ที่แอพสโตร์ของเฟซบุ๊กกันแล้ว
แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดน่าจะอยู่ที่ "ราคา" ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจในอังกฤษ 57% ระบุว่าหากเฟซบุ๊กโฟนมีราคาถูกกว่าไอโฟนก็จะทำให้เปลี่ยนใจไปคบหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตรงจุดนี้ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่เฟซบุ๊กจะทำราคาสมาร์ทโฟนของบริษัทออกมาในราคาถูกกว่าคู่แข่ง เพราะเฟซบุ๊กมีจุดแข็งอยู่ที่การ "แฝง" โฆษณาในแอพพลิเคชั่นต่างๆอยู่แล้วและเป็นตัวสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่เฟซบุ๊กมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือของธุรกิจเฟซบุ๊กจะมีหัวเลี้ยวหัวต่ออยู่การนำนาวาเฟซบุ๊กฝ่าดงนักลงทุนที่ทำตัวเป็นจระเข้ ฝูงปลาปิรันย่า ที่คอยทึ้งเนื้อเถือหนังกดต่ำราคาหุ้นเฟซบุ๊กลงต่ำสุดๆ เพื่อ "ฮุบ" กิจการเฟซบุ๊กเข้าปากได้อย่างง่ายดาย ให้ได้เสียก่อน

ประวัติมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก

มาร์ก เอลเลียต ซักเคอร์เบิร์ก (อังกฤษMark Elliot Zuckerberg) เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก เขาร่วมก่อตั้งเฟสบุ๊กร่วมกับเพื่อนอีก 3 คน ขณะกำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด นิตยสารไทม์ ได้ให้เขาเป็นบุคคลแห่งปี ค.ศ. 2010

ชีวิตส่วนตัว

มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเกิดที่ ไวต์เพลนส์ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาเติบโตที่เมืองด็อบส์ เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก โดยบิดาเป็นทันตแพทย์ คือ เอ็ดเวิร์ด ซักเคอร์เบิร์ก และมารดาจิตแพทย์ คือ คาเรน ซักเคอร์เบิร์ก เขามีพี่น้องสี่คน ในวัยเด็กซักเคอร์เบิร์กถูกเลี้ยงดูอย่างชาวยิว ถึงแม้เขาอธิบายว่าเขาเป็นอเทวนิยม[8]
ที่โรงเรียนอาร์ดสลีย์ไฮสคูล เขาได้มีความสามารถด้านการศึกษาคลาสสิก ก่อนที่เขาจะย้ายไปเรียนระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนฟิลิปส์เอกเซกเตอร์อคาเดมี ที่นี่ซักเคอร์เบิร์กได้รับรางวัลทางวิทยาศาสตร์ (คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และฟิสิกส์) และศึกษาด้านศิลปะคลาสสิค เขายังเรียนภาษาต่างประเทศ โดยเขาสามารถอ่าน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาฮิบรู ภาษาละติน และภาษากรีกโบราณ เขายังเป็นกัปตันทีมฟันดาบ[9][10][11]
ในงานสังสรรค์ในช่วงชั้นปีที่ 2 ซักเคอร์เบิร์กพบกับพริสซิลลา ชาน ที่ต่อมาเป็นเพื่อนหญิงของเขา[2] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2010 ชานซึ่งศึกษาแพทย์ ได้ย้ายมาอยู่บ้านเช่าของซักเคอร์เบิร์กในแพโลอัลโต[2]
ซักเคอร์เบิร์กสามารถมองเห็นสีฟ้าได้ดีที่สุด เพราะเขาเป็นโรคตาบอดสีซึ่งมองสีแดงและสีเขียวได้ไม่ชัดเจน นอกจากนี้สีฟ้ายังเป็นสีหลักในเว็บไซด์เฟซบุ๊กอีกด้วย[12]

[แก้]พัฒนาซอฟต์แวร์

[แก้]ช่วงแรก

ซักเคอร์เบิร์ก ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กในชั้นประถมปลาย พ่อเขาสอนให้ใช้โปรแกรมพื้นฐานของอาตาริในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และต่อมายังจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ชื่อ เดวิด นิวแมน มาสอนเป็นการส่วนตัว นิวแมนเรียกเขาว่า "เด็กอัจฉริยะ" และกล่าวต่อว่า "ยากที่จะล้ำหน้าเกินเขา" ซักเกอร์เบิร์กยังเรียนคอร์สที่วิทยาลัยเมอร์ซี ใกล้กับบ้านของเขาขณะที่เรียนระดับไฮสคูลอยู่[2] เขามีความสนุกกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือด้านการสื่อสารและเกม ตัวอย่างเช่น มีโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งพ่อของเขาที่เป็นทันตแพทย์ เขาสร้างโปรแกรมที่ชื่อ "ซักเน็ต" ที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารได้ระหว่างบ้านกับสำนักงานทันตแพทย์ โดยใช้ระบบปิงหากัน ถือว่าเป็นเมสเซนเจอร์รุ่นดึกดำบรรพ์ของเอโอแอล ซึ่งออกมาภายหลัง[2]
ในช่วงระหว่างเรียนไฮสคูล ภายใต้การทำงานกับบริษัท อินเทลลิเจนต์มีเดียกรุ๊ป เขาได้สร้างโปรแกรมเล่นดนตรีที่เรียกว่า ไซแนปส์มีเดียเพลเยอร์ (Synapse Media Player) ใช้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้ใช้ โดยได้โพสต์ลงที่ สแลชด็อต[13] ได้รับคะแนน 3 เต็ม 5 จาก พีซีแม็กกาซีน[14] ไมโครซอฟท์และเอโอแอลพยายามจะซื้อไซแนมป์และรับซักเคอร์เบิร์กเข้าทำงาน แต่เขาเลือกที่จะสมัครเรียนที่ฮาวาร์ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002

[แก้]ฮาวาร์ด

ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่ฮาวาร์ด เขามีกิตติศัพท์ด้านความอัจฉริยะในการเขียนโปรแกรมแล้ว เขาศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และจิตวิทยา และเป็นสมาชิก อัลฟาเอปซิลอนไพ สมาคมยิวในมหาวิทยาลัย[2][15] พอเรียนชั้นปีที่ 2 เขาสร้างโปรแกรมจากห้องพักของเขาที่ชื่อ "คอร์สแมตช์" ที่ให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเรื่องการเลือกเรียนวิชา จากการตัดสินใจของนักเรียนคนอื่น และยังช่วยให้พวกเขาร่วมก่อกลุ่มการเรียน ต่อจากนั้นไม่นาน เขาสร้างโปรแกรมที่แตกต่างกันไปเรียนว่า "เฟซแมช" ที่ให้ผู้ใช้เลือกหน้าผู้ใช้ที่หน้าตาดีที่สุดในบรรดารูปที่ให้มา เพื่อนร่วมห้องของเขาเวลานั้นที่ชื่อ อารี ฮาซิต กล่าวว่า "เขาสร้างเว็บไซต์นี้เพื่อความสนุก"
"เรามีหนังสือ ที่เรียกว่า เฟซบุ๊กส์ ที่รวบรวมรายชื่อและภาพของทุกคนที่อยู่ในหอพัก ในตอนแรกเขาสร้างเว็บไซต์ที่ วางรูป 2 รูป หรือรูปของผู้ชาย 2 คน และผู้หญิง 2 คน ผู้เยี่ยมเยือนเว็บไซต์จะเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน และรวบรวมจัดอันดับเป็นผลโหวต"[16]
เว็บไซต์เปิดในช่วงวันหยุด แต่พอถึงเช้าวันจันทร์ เว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยมหาวิทยาลัย เว็บไซต์ได้รับความนิยมในช่วงเวลาอันสั้น จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ของฮาวาร์ดล่ม นักศึกษาจะถูกห้ามใช้เข้าเว็บไซต์ นอกจากนั้นมีนักศึกษาหลายคนร้องเรียนเรื่องภาพที่ใช้ไม่ได้รับอนุญาต เขาออกขอโทษต่อสาธารณะ หนังสือพิมพ์นักเรียนจะพาดหัวเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเขาว่า "ไม่เหมาะสม"
อย่างไรก็ตาม นักเรียนก็ได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล รายชื่อ รวมถึงรูป ในส่วนหนึ่งของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ฮาซิตเพื่อนร่วมห้องเขากล่าวว่า "มาร์กได้ยินคำร้องเหล่านี้และตัดสินใจว่า ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่ทำอะไรเลยก็ตาม เขาก็จะสร้างเว็บไซต์ที่ดีกว่าที่มหาวิทยาลัยจะทำ

เฟซบุ๊ก

เฟซบุ๊ก (อังกฤษFacebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) [1] จากข้อมูลเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ 500 ล้านบัญชี[2][3][N 1] ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
เฟซบุ๊กก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัยของเขาและเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน, ดิสติน มอสโควิตซ์ และคริส ฮิวส์[4] เดิมทีสมาชิกของเว็บไซต์จะจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักเรียนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ต่อมาขยับขยายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแถบบอสตัน, กลุ่มไอวีลีก, และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้วค่อย ๆ เพิ่มนักเรียนจากมหาวิทยาลับอื่น จนกระทั่งเปิดให้กับนักเรียนระดับไฮสคูล จนในที่สุดทุกคนก็สามารถเข้าสมัครได้โดยอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน
จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซ[5] เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ[6] และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา[7]
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 จากเฟซบุ๊กมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 584,628,480 สมาชิกทั้วโลก โดยเป็นสมาชิกจากประเทศไทยรวม 6,914,800 สมาชิก
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ได้เริ่มเขียนเว็บไซต์ เฟซแมช ขึ้นมาก่อนที่จะเป็นเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยเป็นเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนเว็บ ฮอตออร์น็อต ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด[9] และจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อ The Harvard Crimson เฟซแมชใช้ภาพที่ได้จาก เฟซบุ๊ก หนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีรูปนักศึกษา จากบ้าน 9 หลัง โดยจะมีรูป 2 รูปให้คนเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน[10]
มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก
เพื่อทำให้ได้สำเร็จ ซักเคอร์เบิร์กได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา และเฟซแมชได้ทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 450 คน และดูรูปภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชั่วโมงแรกที่ออนไลน์[10] และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น เฟซบุ๊ก[11]
เว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด ซักเคอร์เบิร์กถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังถูกไล่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อกล่าวหาก็ยกเลิกไป[12] ต่อมาซักเคอร์เบิร์กได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัปโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น[11] เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน
ในเทอมต่อมาซักเคอร์เบิร์กเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimson เกี่ยวกับเรื่อง เฟซแมช[13] และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเกอร์เบิร์กได้เปิดตัวเว็บไซต์ "เดอะเฟซบุก" ในยูอาร์แอล thefacebook.com[14]
6 วันหลังจากเปิดเว็บไซต์ รุ่นพี่ 3 คน คือ แคเมรอน วิงก์เลวอส, ไทเลอร์ วิงก์เลวอส และดิฟยา นาเรนดรา ได้ฟ้องร้องซักเกอร์เบิร์กที่หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่า เขาได้ช่วยที่จะช่วยสร้างเครือข่ายสังคมที่ชื่อว่า HarvardConnection.com ขณะที่เขาใช้แนวคิดพวกเขาในการสร้างเว็บไซต์เพื่อแข่งขัน[15]ทั้ง 3 คนได้บ่นในหนังสือพิมพ์ Harvard Crimson โดยทางหนังสือพิมพ์เริ่มทำการสอบสวน ต่อมาทั้ง 3 คนได้ยื่นฟ้องทางกฎหมายต่อซักเกอร์เบิร์กในภายหลัง[16]
แต่เดิม สมาชิกจะจำกัดเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และภายในเดือนแรก มากกว่าครึ่งหนึ่งของนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ได้ลงทะเบียนใช้บริการ[17] เอ็ดวาร์โด ซาเวริน (ดูแลเรื่องธุรกิจ), ดิสติน มอสโควิตซ์ (โปรแกรเมอร์), แอนดรูว์ แม็กคอลลัม (กราฟิก) และคริส ฮิวส์ ที่ต่อมาได้ร่วมกับซักเกอร์เบิร์กเพื่อประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ขยับขยายสู่มหาวิทยาลัยอื่นอย่าง สแตนฟอร์ดโคลัมเบีย, และเยล[18] และยังคงขยับขยายต่อสู่กลุ่มไอวีลีกทั้งหมด และมหาวิทยาลัยบอสตันมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเอ็มไอที และสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาไปทีละน้อย[19][20]
เฟซบุ๊กได้เป็นบริษัทในฤดูร้อนปี ค.ศ. 2004 และได้นักธุรกิจ ฌอน พาร์กเกอร์ ที่ได้เคยแนะนำซักเกอร์เบิร์กอย่างเป็นกันเอง ก็ได้ก้าวมาเป็นประธานของบริษัท.[21] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 เฟซบุ๊กได้ย้ายฐานปฏิบัติงานมาอยู่ที่ แพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย[18] และได้รับเงินทุนในเดือนนั้นจากผู้ร่วมก่อตั้ง เพย์พาล ที่ชื่อ ปีเตอร์ ธีล[22] บริษัทได้เปลี่ยนชื่อ โดยลดคำว่า เดอะ ออกไป และซื้อโดเมนเนมใหม่ในชื่อ เฟซบุ๊ก.คอม ในปี ค.ศ. 2005 ด้วยเงิน 2 แสนเหรียญสหรัฐ[23]
เฟซบุ๊กได้เปิดตัวในรูปแบบของโรงเรียนไฮสคูล ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ที่ซักเกอร์เบิร์กเรียกว่า ก้าวต่อไปที่มีเหตุผล[24] ณ เวลานั้นในเครือข่ายไฮสคูล ต้องการการรับเชิญเท่านั้นเพื่อร่วมเว็บไซต์[25] ต่อมาเฟซบุ๊กได้ขยับขยายให้กับลูกจ้างบริษัทที่คัดสรรอย่าง แอปเปิล และ ไมโครซอฟท์[26] เฟซบุ๊กได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2006 ให้ทุกคนได้ใช้กัน โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปี และมีอีเมล์ที่แท้จริง[27][28]
ในวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2007 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าได้ซื้อหุ้นของเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 1.6% ด้วยเงิน 240 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เฟซบุกมีมูลค่าราว 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ[29] และทำให้ไมโครซอฟท์มีสิทธิ์ที่จะแขวนป้ายโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้[30] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008 เฟซบุกประกาศว่าจะตั้งสำนักงานใหญ่ระดับนานาชาติในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[31]
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กได้กล่าวว่า สถานะการเงินเริ่มเป็นตัวเลขบวกเป็นครั้งแรก [32] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 จากข้อมูลของ เซคันด์มาร์เก็ต ระบุว่าเฟซบุกมีมูลค่า 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ (แซงหน้าอีเบย์ไปเล็กน้อย) และถือเป็นบริษัทเว็บไซต์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับ 3 รองจากกูเกิลและแอมะซอน[33] สถิติผู้เข้าชมในเฟซบุ๊กหลังปี ค.ศ. 2009 ผู้ชมเฟซบุ๊กมากกว่ากูเกิลในปลายสัปดาห์ของสัปดาห์ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010 [34]

[แก้]ข้อพิพาทและการวิจารณ์

เฟซบุ๊กประสบกับข้อพิพาทหลายเรื่อง เฟซบุ๊กถูกปิดกั้นการเข้าถึงเป็นช่วง ๆ ในหลายประเทศ อย่างเช่นใน ประเทศจีน,[35] เวียดนาม[36] อิหร่าน[37] อุซเบกิสถาน[38] ปากีสถาน[39] ซีเรีย[40] และบังคลาเทศ[41] ในเหตุผลที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น เนื้อหาการต่อต้านอิสลามและการแบ่งแยกทางศาสนาในเฟซบุ๊ก และยังถูกห้ามใช้จากหลายประเทศ และยังถูกห้ามใช้ในสถานที่ทำงานหลายที่เพื่อป้องกันพนักงานเสียเวลาในการทำงาน[42] และนโยบายความเป็นส่วนตัวก็เป็นประเด็น และความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ก็มีการไกล่เกลี่ยกันหลายต่อหลายครั้ง เฟซบุ๊กได้ลงมือแก้ปัญหาคดีความที่เกี่ยวกับซอร์ซโคดและทรัพย์สินทางปัญญา[43]

[แก้]บริษัท

รายได้ส่วนมากของเฟซบุ๊กมาจากการโฆษณา โดยไมโครซอฟท์เป็นผู้ร่วมหุ้นพิเศษในด้านการบริการแบนเนอร์โฆษณา[44] และเฟซบุ๊กให้มีการโฆษณาเฉพาะที่อยู่ในรายการลูกค้าของไมโครซอฟท์ และจากข้อมูลของคอมสกอร์ บริษัทสำรวจการตลาดทางอินเทอร์เน็ต ระบุว่า เฟซบุ๊กได้รวบรวมข้อมูลเข้าเว็บไซต์มากกว่า กูเกิลและไมโครซอฟท์ แต่น้อยกว่า ยาฮู![45] ในปี ค.ศ. 2010 ทีมระบบความปลอดภัยได้เพิ่มประโยชน์จากการต่อต้านภัยคุกคามและก่อการร้ายจากผู้ใช้[46] เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เฟซบุ๊กได้เปิดตัว เฟซบุ๊กบีคอน เป็นการพยายามในการโฆษณาให้เหล่าเพื่อน โดยใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เพื่อนซื้อ แต่เฟซบุ๊กบีคอนก็เกิดความล้มเหลว
โดยปกติแล้ว เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (clickthrough rate) ต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่ ๆ อื่น ที่ในแบนเนอร์โฆษณา เฟซบุ๊กจะมีอัตราการคลิ๊ก 1 ต่อ 5 เทียบกับเว็บไซต์อื่น[47] นั่นหมายถึงว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่น้อยกว่า ที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะกดคลิกโฆษณา ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้กูเกิลคลิกโฆษณาแรกในการค้นหาเฉลี่ย 8% (80,000 คลิกในทุก 1 ล้านการค้นหา) [48] แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะคลิกโฆษณาในอัตรา 0.04% (400 คลิกในทุก 1 ล้านหน้า) [49]
แซราห์ สมิท ผู้จัดการบริการงานขายออนไลน์ของเฟซบุ๊ก ยืนยันว่า การรณรงค์โฆษณาประสบความสำเร็จ สามารถมีอัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณา (CTR) ต่ำอยู่ราว 0.05% ถึง 0.04% แต่อัตราการคลิกโฆษณาต่อการการแสดงโฆษณาสำหรับโฆษณามีแนวโน้มจะตกลงภายใน 2 อาทิตย์[50] เมื่อเปรียบเทียบ CTR กับมายสเปซแล้ว มียอดประมาณ 0.1% ซึ่งเป็น 2.5 เท่าของเฟซบุ๊ก และต่ำกว่านี้เมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่น คำอธิบายเรื่อง CTR สำหรับโฆษณาที่ต่ำในเฟซบุ๊กเนื่องจาก ข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กเป็นผู้รอบรู้ทางเทคโนโลยีและใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันและซ้อนโฆษณา ผู้ใช้มักเป็นคนหนุ่มสาวกว่าและชอบที่จะหลีกเลี่ยงข้อความโฆษณา ที่ในมายสเปซแล้วผู้ใช้จะเข้าถึเนื้อหามากกว่า ในขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กจะใช้เวลาในการสื่อสารกับเพื่อน เป็นเหตุให้พวกเขาไปสนใจโฆษณา[51]
ในหน้าของตราสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในบางบริษัทมีรายงานว่า มี CTR สูงถึง 6.49% ในหน้าวอล[52] อินโวลเวอร์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการตลาดสังคม ประกาศว่า ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 ว่าสามารถบรรลุเป้า CTR ที่ 0.7% ในเฟซบุ๊ก (เป็น 10 เท่าของ CTR การโฆษณาในเฟซบุ๊ก) กับลูกค้าคือ เซเรนาซอฟต์แวร์ ถือเป็นลูกค้ารายแรกของอินโวเวอร์ ที่สามารถมีผู้ชม 1.1 ล้านครั้งจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ 8,000 คน[53] จากการศึกษาพบว่า วิดีโอโฆษณาในเฟซบุ๊กนั้น ผู้ใช้ 40% ดูวิดีโอทั้งหมดของวิดีโอ ขณะที่ค่าเฉลี่ยมาตรฐานอยู่ที่ 25% ของโฆษณาแบบแบนเนอร์ในวิดีโอ[54]
เฟซบุ๊กมีลูกจ้างมากกว่า 1,700 คน และมีสำนักงานใน 12 ประเทศ[55] โดยมาร์ก ซักเคอร์เบิร์กถือหุ้นของบริษัท 24% แอ็กเซล พาร์ตเนอร์ถือหุ้น 10% ดิจิตอลสกายเทคโนโลยีส์ถือหุ้น 10%[56]ดัสติน มอสโควิตซ์ถือหุ้น 6% เอ็ดวาร์โด ซาเวรินถือหุ้น 5% ฌอน พาร์กเกอร์ถือหุ้น 4% ปีเตอร์ ธีลถือหุ้น 3% เกรย์ล็อกพาร์ตเนอร์สและเมริเทคแคพิทอลพาร์ตเนอร์ส ถือหุ้นระหว่าง 1 ถึง 2% แต่ละบริษัท ไมโครซอฟท์ถือหุ้น 1.3% ลิ คา-ชิงถือหุ้น 0.75% อินเตอร์พับลิกกรุปถือหุ้นน้อยกว่า 0.5% นอกจากนั้นยังมีลูกจ้างปัจจุบันและอดีตลูกจ้างรวมถึงผู้มีชื่อเสียงอื่นถือหุ้นอีกน้อยกว่า 1% เช่น แมต โคห์เลอร์, เจฟฟ์ รอทส์ไชลด์, วุฒิสมาชิกรัฐแคลิฟอร์เนีย บาร์บารา บอกเซอร์, คริส ฮิวส์ และโอเวน แวน แนตตา ขณะที่รีด ฮอฟแมนและมาร์ก พินคัสเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และที่เหลืออีก 30% ถือหุ้นโดยลูกจ้าง ผู้มีชื่อเสียงไม่เปิดเผยชื่ออีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงนักลงทุนอื่น[57] แอดัม ดี'แองเจโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีและเพื่อนของซักเคอร์เบิร์กได้ลาออกไปในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 มีรายงานอ้างว่าเขาและซักเคอร์เบิร์กเริ่มไม่ลงรอยกัน และเป็นเหตุให้เขาไม่มีความสนใจในการเป็นหุ้นส่วนของบริษัท[58]

ก่อตั้งและเป้าหมาย

ซักเคอร์เบิร์กในงานเวิลด์เอโคโนมิกฟอรัม ที่สวิตเซอร์แลนด์ เดือนมกราคม 2009)
ซักเคอร์เบิร์กได้เปิดตัวเฟซบุ๊ก จากในห้องพักของเขาในมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 [17][18] แรงบันดาลใจแรก ๆ ของเฟซบุ๊กอาจมาจากที่โรงเรียนฟิลิปส์เอกเซกเตอร์อคาเดมี ที่เขาเรียนจบปี ค.ศ. 2002 โดยที่เผยในเว็บไซต์ของเขาคือ สารบัญรูปนักศึกษาของเขา ที่นักศึกษาหมายถึง "เดอะเฟซบุ๊ก" มีสารบัญภาพ ที่มีภาพนักศึกษาทำกิจกรรมในหลาย ๆ โรงเรียน โดยนักศึกษาสามารถเข้ามาให้ข้อมูล อย่างเช่น ชั้นปีที่ศึกษา เพื่อนใกล้ชิด หมายเลขโทรศัพท์[17]
โดยในขณะนั้น เฟซบุ๊ก เริ่มต้นเพียงแค่ "Harvard thing" จนกระทั่งซักเคอร์เบิร์กตัดสินใจที่จะกระจายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นๆได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมห้อง ดัสติน มอสโควิตซ์ โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยดาร์ตเมาท์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก มหาวิทยาลัยคอร์เนล มหาวิทยาลัยบราวน์ และมหาวิทยาลัยเยล จากนั้นก็เข้าสู่โรงเรียนอื่น ที่มีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[19][20][21]
ซักเคอร์เบิร์กได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองแพโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย กับมอสโควิตซ์และเพื่อนบางส่วน พวกเขาดัดแปลงบ้านเช่าเป็นสำนักงาน ในฤดูร้อนนั้น ซักเคอร์เบิร์กได้พบกับปีเตอร์ ทีล ที่ได้ให้ทุนกับบริษัท พวกเขาเริ่มก่อตั้งบริษัทแรกในกลางปี 2004 พวกเขาได้ปฏิเสธการเสนอขายเฟซบุ๊กกับบริษัทใหญ่ ๆ โดยในบทสัมภาษณ์ในปี 2007 ซักเคอร์เบิร์กอธิบายไว้ว่า
เขาพูดในนิตยสารไวร์ ในปี 2010 ว่า "สิ่งที่ผมใส่ใจมากเกี่ยวกับภารกิจนี้ ก็คือทำให้โลกเปิดกว้างขึ้น" ก่อนหน้านั้นในเดือนเมษายน 2009 ซักเคอร์เบิร์กได้สอบถามคำแนะนำจากผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินของเน็ตสเคป ปีเตอร์ เคอร์รี เกี่ยวกับยุทธวิธีสำหรับเฟซบุ๊ก[22]
เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ซักเคอร์เบิร์กรายงานว่า บริษัทมีผู้ใช้ 500 ล้านบัญชีรายชื่อ[23] และเมื่อถามว่า เฟซบุ๊ก จะสามารถทำเงิน หรือสร้างปรากฏการณ์เพิ่มขึ้น เขาอธิบายว่า:
ผมคิดว่า เราสามารถ... ถ้าคุณดูว่าโฆษณาที่มีในแต่ละหน้ากินไปขนาดไหน เมื่อเปรียบเทียบกับการค้นหาข้อมูล ของเรามีน้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อหน้าและยอดการค้นหาปกติจะมีโฆษณาราวร้อยละ 20 ... นี่เป็นสิ่งง่ายที่ทุกคนจะทำ แต่เราไม่ใช่อย่างนั้น เราทำเงินให้พอที่เราจะดำเนินงานได้ เติบโตในอัตราที่เราต้องการ
ในปี 2010 สตีเฟน เลวี ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Hackers: Heroes of the Computer Revolution ในปี ค.ศ. 1984 ได้เขียนเกี่ยวกับซักเคอร์เบิร์กไว้ว่า "เห็นชัดว่าเขาคิดว่าตัวเองเป็นแฮ็กเกอร์"[24] ซักเคอร์เบิร์กพูดว่า "มันโอเคที่จะสร้างสิ่งใหม่...ทำให้มันดียิ่งขึ้น"[24][25] เฟซบุ๊กเริ่มให้มี "แฮ็กคาธอน" ในทุก ๆ 6 ถึง 8 อาทิตย์ เปิดโอกาส 1 คืนให้ร่วมคิดและจบโครงการ 1 โครง[24] โดยบริษัทให้จัดหาเพลง อาหารและเบียร์ สำหรับงานแฮกคาธอน และจะมีเจ้าหน้าที่ของเฟซบุ๊ก รวมถึงซักเคอร์เบิร์ก เข้าร่วมด้วย[25] "แนวคิดคือคุณสามารถสร้างบางสิ่งให้ดีได้ใน 1 คืน" ซักเคอร์เบิร์กบอกเลวี "และเป็นบุคลิกของเฟซบุ๊กในปัจจุบัน...ซึ่งก็คือนิสัยส่วนตัวของผมด้วย"[24]
ในปี นิตยสาร วานิตีแฟร์ ได้ให้ซักเคอร์เบิร์กติดอันดับ 1 ในปี 2010 ของรายชื่อ "100 อันดับ บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในยุคข้อมูล"[26] ในปี 2010 ยังติดอันดับ 16 ของการสำรวจประจำปีของ นิวสเตตส์เม็น ในหัวข้อ "บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก 50 อันดับ"[27]

[แก้]การพูดถึงในสื่อ

[แก้]เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก

ดูบทความหลักที่ เดอะโซเชียลเน็ตเวิร์ก
ภาพยนตร์ที่สร้างมาจากชีวิตจริงของซักเคอร์เบิร์ก ในปีเริ่มก่อตั้งเฟซบุ๊กเรื่อง The Social Network ออกฉายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2010 นำแสดงโดยเจสซี ไอเซนเบิร์ก แสดงเป็นซักเคอร์เบิร์ หลังจากที่ชีวิตเขาปรากฏบนจอภาพยนตร์ เขาตอบรับว่า "ผมหวังว่าจะไม่มีใครสร้างหนังเกี่ยวกับผมขณะที่ผมยังมีชีวิตอยู่"[28] และเมื่อบทภาพยนตร์หลุดมาทางอินเทอร์เน็ต และนักแสดงนำไม่ใช่ตัวซักเคอร์เบิร์กในด้านบวก เขาก็ออกมาพูดว่า เขาต้องการให้เสนอตัวเขาในแบบ "คนดี"[29]
ภาพยนตร์ The Social Network ซึ่งอิงมาจากหนังสือเรื่อง The Accidental Billionaires โดยเบน เมซริช ซึ่งมีการประชาสัมพันธ์ไว้ว่า "สนุก น่าสนใจ มาก" มากกว่าการเป็น "รายงาน"[30] ผู้เขียนบทภาพยนตร์ แอรอน ซอร์คิน บอกกับนิตยสารนิวอยร์กว่า "ผมไม่ต้องการความถูกต้องแม่นยำ ผมต้องการเล่าเรื่อง"[31] จากบทในหนังของซอร์คิน ที่บรรยายว่าซักเคอร์เบิร์กสร้างเฟซบุ๊กขึ้นมาเพราะต้องการยกระดับชื่อเสียงของตนเพราะไม่สามารถเข้าไฟนอลคลับของฮาร์วาร์ด อย่างไรก็ตามซักเคอร์เบิร์กเล่าให้กับ The New Yorker ว่าเขาไม่เคยมีความสนใจที่จะเข้าไฟนอลคลับ[2]

[แก้]สื่ออื่น

ซักเคอร์เบิร์กในพากย์เสียงเป็นตัวเขาเองในตอนของ The Simpsons ชื่อตอน "Loan-a Lisa" ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 2010 เป็นตอนเกี่ยวกับลิซา ซิมป์สันและเพื่อของเธอที่ชื่อเนลสันได้พบกับซักเคอร์เบิร์กที่งานชุมนุมนักธุรกิจ ซักเคอร์เบิร์กบอกกับลิซาว่า เขาไม่ต้องการเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเพื่อประสบความสำเร็จแบบรีบเร่ง อย่าง บิล เกตส์ และริชาร์ด แบรนสันเป็นต้น[32]
ในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2010 รายการ Saturday Night Live ได้ล้อเลียนซักเคอร์เบิร์กและเฟซบุ๊ก[33] โดยแอนดี แซมเบิร์กแสดงเป็นซักเคอร์เบิร์ก ซึ่งซักเคอร์เบิร์กเขียนลงในเฟซบุ๊กของตัวเขาเองเกี่ยวกับตอนนี้ว่า "ผมเป็นแฟนตัวจริงของแอนดี แซมเบิร์ก และผมคิดว่ามันสนุก"[34]
ในการเดินทางมายังประเทศไทยเป็นการส่วนตัว เพื่อร่วมงานมงคลสมรสระหว่างนายคริสโตเฟอร์ คอกซ์ รองประธานกรรมการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊ก กับ นางสาววิศรา วิจิตรวาทการ ผู้กำกับภาพยนตร์อิสระชาวไทย และบุตรสาวของผู้บริหารล็อกซ์เลย์ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553 [35][36] ได้รับความสนใจจากผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อมวลชนไทยอย่างมาก[37] แต่ถึงกระนั้นก็ไม่มีสื่อมวลชนรายใดได้รับการสัมภาษณ์ มีเพียงได้แค่ภาพและวีดีโอที่ปรากฏเท่านั้น


Credit : teenee.com,หนังสือพิมพ์คมชัดลึก,th.wikipedia.org
เรียบเรียง : ruengdd.com,เรื่องดีดี.com