ในหลวงพระราชทาน ส.ค.ส. 2556 พร้อมรวมส.ค.ส.พระราชทานจากในหลวงปีอื่น ๆและคลิปในหลวงพระราชทานคำอวยพรปีใหม่


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. ปีพุทธศักราช 2556 แก่พสกนิกรชาวไทย "ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข  ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา  ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย"

          เมื่อคืนวานนี้ (31 ธันวาคม) เฟซบุ๊ก Information Division of OHM ของ กองข่าว สำนักราชเลขาธิการ อาคารศาลาลูกขุนใน พระบรมมหาราชวัง ได้เผยภาพ ส.ค.ส.พระราชทานพรปีใหม่ พุทธศักราช 2556 โดยมีรายละเอียดเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์เชิ้ตลำลองสีฟ้า มีลายเส้นสีชมพูและสีฟ้าฟ้าเข้มพาดตัดกัน พระสนับเพลาสีดำ และฉลองพระบาทสีดำ ประทับบนพระเก้าอี้ 

          ด้านขวาของพระเก้าอี้ที่ประทับ มีโต๊ะกลม วางพระบรมฉายาลักษณ์ครอบครัว และเชิงเทียนแก้ว ทรงฉายกับสุนัขทรงเลี้ยง คือ คุณทองแดงที่ทรงเลี้ยงมาตั้งแต่ปี 2556 สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านขวา และคุณมะลิ แม่เลี้ยงคุณทองแดง สวมเสื้อสีทอง หมอบอยู่แทบพระบาทด้านซ้าย 

          ด้านหลังพระเก้าอี้ที่ประทับ ตกแต่งด้วยดอกกล้วยไม้หลากสี ด้านขวาบน มีตราพระมหาพิชัยมงกุฎประดับ ส่วนด้านซ้ายมีผอบทองประดับ

          ด้านล่างของผอบทอง มีตัวอักษรสีทอง ข้อความว่า ส.ค.ส. พ.ศ. 2556 สวัสดีปีใหม่ และ ตัวอักษรสีขาว ข้อความว่า ขอจงมีความสุขความเจริญ HAPPY NEW YEAR

          ด้านขวา ใต้ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ มีข้อความพิมพ์ด้วยตัวอักษรสีเหลือง ข้อความว่า "ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย"

          ด้านล่างของ ส.ค.ส. มีแถบสีม่วงเข้ม มุมล่างขวา มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 181122 ธ.ค.55 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing, D Bramaputra, Publisher (พริ้นเทด แอท เดอะ สุวรรณชาด พับลิชชิ่ง, ดี. พรหมบุตร, พับลิชเชอร์) 

         ขณะที่กรอบของ ส.ค.ส. พระราชทานฉบับนี้ เป็นภาพใบหน้าคนเล็ก ๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่างเรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้ามีแต่รอยยิ้ม


ส.ค.ส. พระราชทาน เป็นบัตรส่งความสุข ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์ขึ้นด้วยพระองค์เอง เพื่อพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เป็นประจำทุกปี

รูปแบบและการจัดทำ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชดำรัส พระราชทานพรปีใหม่ เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี นอกจากนี้ ยังทรงปลีกเวลาจากพระราชกรณียกิจ มาปรุแถบโทรพิมพ์ (เทเล็กซ์) พระราชทานพรปีใหม่ แก่เจ้าหน้าที่ผู้ถวายงาน โดยทรงใช้รหัสแทนพระองค์ว่า กส. 9 เช่นเดียวกับที่ทรงใช้ติดต่อทางวิทยุสื่อสาร ทรงระบุท้ายโทรพิมพ์ว่า กส. 9 ปรุ ส.ค.ส. พระราชทาน ที่เป็นโทรพิมพ์เหล่านี้ เริ่มเผยแพร่สู่สาธารณชน เมื่อปี พ.ศ. 2530[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น จึงได้ทรงเริ่มต้นประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2531 [1] โดยทรงพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โทรสาร(แฟกซ์) พระราชทานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ โดยข้อความใน ส.ค.ส. พระราชทาน แต่ละปี จะประมวลขึ้นจากเหตุการณ์บ้านเมือง เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ที่ประเทศไทยต้องประสบ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ในปีต่อ ๆ มา หนังสือพิมพ์รายวัน ได้นำลงตีพิมพ์ ในฉบับเช้าวันที่ 1 มกราคม เพื่อให้พสกนิกรได้ชื่นชมอย่างทั่วถึง
นับแต่ทรงใช้คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ ส.ค.ส. พระราชทาน ทรงเปลี่ยนแปลงคำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน เป็น ก.ส. 9 ปรุง เนื่องจากทรงเปลี่ยนจากการ "ปรุ" ด้วยโทรพิมพ์ เป็นการ "ปรุง" ด้วยคอมพิวเตอร์ ถัดจากนั้น จะทรงระบุวันและเวลาที่ทรงประดิษฐ์ขึ้น เป็นรูปแบบเฉพาะ

[แก้]วันพระราชทาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานในวันสิ้นปี (31 ธันวาคม) ของทุกปี ยกเว้น ปีในปี พ.ศ. 2548 เนื่องด้วยเหตุ ธรณีพิบัตภัยคลื่นสึนามิเข้าชายฝั่งทะเลอันดามัน จากแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย
โดยให้ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตนเข้าเฝ้าฯ เนื่องในวโรกาสพระราชทานพระราชดำรัส เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ เมื่อเสร็จจากการบันทึกเทปแล้ว ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับตนว่า ปีใหม่ปีนี้ มิได้พระราชทาน ส.ค.ส. เนื่องจากทรงงานหนัก ในการให้ความช่วยเหลือพสกนิกร ที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ได้นำรับสั่งจากพระองค์ท่าน ความว่า
ทรงปลื้มใจที่คนไทยไม่ทอดทิ้งกัน เวลาเดือดร้อนก็ช่วยเหลือกัน เป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก เสมือนเป็นหลักประกันว่า เมื่อใดที่ทรงเดือดร้อน ก็จะมีคนช่วยเหลือพระองค์แน่นอน การให้การช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อน ผลบุญก็จะสนองต่อผู้ปฏิบัติด้วย รับสั่งว่า ทรงปลื้มใจคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือทุกคน มิได้แบ่งแยกว่าเป็นคนชาติใด

[แก้]รูปแบบวันที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ วันที่ขนาดย่อ เป็น
  • ว เป็น วันที่
  • ช เป็น เวลาเป็นชั่วโมง
  • น เป็น เวลาเป็นนาที
  • ด เป็นเดือน
  • ป เป็น ปี
นำมาวางดังนี้ วว ชช นน ด.ด. ปปปป ภายหลังพระองค์ทรงปรับปรุงเรียงใหม่อีกครั้งโดยเรียงเป็น ววชชนน ด.ด. ปป ใช้ใน ส.ค.ส. พระราชทานปี 2549 เป็นต้นมา

[แก้]ผู้จัดพิมพ์

อนึ่ง ส.ค.ส. พระราชทานตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาพสี นอกจากนี้ คำลงท้ายของ ส.ค.ส. พระราชทาน ตั้งแต่ปีดังกล่าวเป็นต้นมา จะมีข้อความ "พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร, ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad, D.Brahmaputra, Publisher"(ใน ส.ค.ส. ปี 2549, 2551, 2552, 2553) และ "Printed at the Suvarnnachad Publishing, C.Brahmaputra, Publisher" (ใน ส.ค.ส. ปี 2550) เช่นเดียวกับ กรอบของ ส.ค.ส. เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกัน ด้านซ้ายและด้านขวาเรียงกันด้านละ 3 แถว ส่วนด้านบนและด้านล่า งเรียงกันด้านละ 2 แถว ทุกหน้า มีแต่รอยยิ้ม

[แก้]การเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์

เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553 สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดกระทู้ขึ้นในเว็บบอร์ด โดยมีเนื้อหาเชิงตั้งข้อสังเกตว่า ส.ค.ส. ประจำปี พ.ศ. 2553 มิได้ใช้รูปแบบเฉพาะของการระบุวันเดือนปีและเวลา ที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง ดังที่ทรงใช้มาทุกปี
ซึ่งรูปแบบที่เปลี่ยนใหม่ เริ่มจากเวลาเป็นชั่วโมง เวลาเป็นนาที แล้วจึงเป็น วัน เดือน และปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ตัวเลขที่ประทับอยู่มุมขวาตอนล่างของพระบรมฉายาลักษณ์ที่เป็น ส.ค.ส.ในปีดังกล่าว ซึ่งเป็นเวลาฉายภาพคือ 15 นาฬิกา 25 นาทีนั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ตามหลังข้อความ ก.ส. 9 ปรุง อันเป็นเวลาที่นำภาพมาประดิษฐ์เป็น ส.ค.ส. ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในเชิงเหตุผล ที่เวลาทั้งสองส่วนดังกล่าว จะเป็นเวลาเดียวกันพอดี[3]

[แก้]ลำดับ ส.ค.ส. พระราชทาน

[แก้]



Credit : กระปุกดอทคอม,วิกิพีเดีย,Youtube.com
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Information Division of OHM
เรียบเรียง : Ruengdd.com