เยี่ยมชมหอศิลป์ครูจูหลิงคนดีที่อยู่ในความทรงจำ
แม้ว่าจะจากไปนานถึง 6 ปีแล้ว แต่ภาพ ครูจูหลิง ปงกันมูล ผู้เสียสละ ที่ต้องจากไปแบบไม่คาดฝันจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ ด้วยวัยเพียง 27 ปี คือฝันร้ายของครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และลูกศิษย์ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ติดตามข่าวคราวตั้งแต่เกิดเรื่องขึ้นจนครูจูหลิงเสียชีวิตลง "หอศิลป์ครูจูหลิง" จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการจากไปอย่างเสียสละ ของหญิงสาวที่สามารถเรียกเต็มปากได้ว่า เธอเป็นครูอย่างสมบูรณ์แบบทั้งกายและจิตใจ
และเพื่อเป็นการระลึกถึงการจากไปของครูจูหลิง รายการเจาะข่าวเด่น (ออกอากาศวันที่ 23 มกราคม) จึงพาไปเยี่ยมชม หอศิลป์ครูจูหลิง ที่ จ.เชียงราย บ้านเกิดของครูจูหลิง พร้อมทั้งพูดคุยกับครอบครัวของครูจูหลิงที่ยังคงอาลัยลูกสาวผู้จากไป
หอศิลป์ครูจูหลิง ถูกสร้างขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาลดอยหลวงวิทยา จ.เชียงราย เพื่อเป็นการระลึกถึงครูคนดีผู้เสียสละ และแสดงถึงผลงานทางศิลปะของครูสอนศิลปะผู้จากไปก่อนวัยอันควร เมื่อเข้าไปด้านในหอศิลป์จะพบกับจดหมายพระราชทาน จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ใจความว่า ..
และเพื่อเป็นการระลึกถึงการจากไปของครูจูหลิง รายการเจาะข่าวเด่น (ออกอากาศวันที่ 23 มกราคม) จึงพาไปเยี่ยมชม หอศิลป์ครูจูหลิง ที่ จ.เชียงราย บ้านเกิดของครูจูหลิง พร้อมทั้งพูดคุยกับครอบครัวของครูจูหลิงที่ยังคงอาลัยลูกสาวผู้จากไป
หอศิลป์ครูจูหลิง ถูกสร้างขึ้นภายในโรงเรียนอนุบาลดอยหลวงวิทยา จ.เชียงราย เพื่อเป็นการระลึกถึงครูคนดีผู้เสียสละ และแสดงถึงผลงานทางศิลปะของครูสอนศิลปะผู้จากไปก่อนวัยอันควร เมื่อเข้าไปด้านในหอศิลป์จะพบกับจดหมายพระราชทาน จากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ใจความว่า ..
“สามปีกว่าแล้วที่ครูจูหลิงจากไป แต่ฉันไม่เคยลืมครูจูหลิง และความดีของเธอที่มีต่อเด็กนักเรียนชายแดนใต้เลย ทุกวันนี้คราวใดที่ได้ยินข่าวโจรใต้สังหารผู้คนอย่างโหดเหี้ยม ฉันจะหวนรำลึกถึงครูจูหลิงด้วยความสะเทือนใจทุกครั้ง ขอให้นายสูน และนางคำมี พยายามดูแลรักษาสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อมิให้ครูจูหลิงต้องห่วงใย แต่ถ้าแม้ว่าเกิดมีอาการเจ็บป่วยใด ๆ ขึ้นมา ก็ให้รีบแจ้งไปที่ฉันทันที ฉันยินดีช่วยเหลือเสมอ”
นายสูน และ นางคำมี ปงกันมูล บิดา-มารดา ของครูจูหลิง ที่ต้องเสียลูกสาวคนเดียวไปอย่างไม่มีวันกลับ เล่าย้อนไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ครูจูหลิงคือคนเชียงรายขนานแท้ ที่เลือกจะลงไปทำงานในชายแดนใต้ โดยได้รับตำแหน่งครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส และตัดสินใจไม่กลับบ้านในช่วงปิดเทอม เพื่อเตรียมการสอนเอาไว้ให้กับเด็ก ๆ
นางคำมี แม่ของครูจูหลิง จึงต้องเป็นฝ่ายลงไปเยี่ยมลูกสาว และค้างอยู่ด้วยกว่า 20 วัน ก่อนที่จะกลับเชียงรายโดยลำพัง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 จากนั้น 4 วันต่อมา ก็เกิดเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะกับครอบครัวของครูจูหลิง เมื่อคนร้ายจับครูจูหลิง ปงกันมูล ไว้เป็นตัวประกันในอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ใกล้มัสยิดประจำหมู่บ้าน และรุมทำร้ายจนอาการปางตาย เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะช่วยนำตัวออกมาได้และส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อย่างเร่งด่วน
แต่เนื่องจากครูจูหลิง ถูกตีจนสมองกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จึงต้องถูกส่งต่อไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และเป็นคนไข้ในพระราชินูปถัมภ์ของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมระยะเวลาที่นอนรักษาตัวทั้งสิ้นเกือบ 8 เดือน สุดท้าย ครูจูหลิง ก็จากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของคนในครอบครัวและคนไทยทั้งประเทศ หอศิลป์ครูจูหลิง จึงเปรียบเสมือนตัวแทนสำคัญของครูจูหลิงที่มีไว้เตือนใจ
ภายในหอศิลป์ถูกตกแต่งด้วยความทรงจำมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหุ่นปั้นรูปครูจูหลิงในชุดข้าราชการครู ชุดครุย ภาพวาดที่เคยแสดงฝีมือเอาไว้ แม้กระทั่งจานสี พู่กัน และอุปกรณ์ศิลปะต่าง ๆ ก็ถูกจัดรวมไว้ในหอศิลป์แห่งนี้ด้วย
สิ่งสำคัญที่ถูกเก็บเอาไว้อย่างดี คือ นกกระดาษนับพันตัว ที่ประชาชนจากทั่วประเทศพับส่งมาให้เป็นกำลังใจในยามที่ครูจูหลิงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล รวมถึงรูปถ่ายของครูจูหลิงในอิริยาบทต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุจนถึงวันที่จากไป
นายสูน ปงกันมูล บิดาของครูจูหลิง คือผู้เปิดประตูหอศิลป์แห่งนี้ทุกวันในยามเช้า เพื่อต้อนรับประชาชน นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการแวะมาเยี่ยมชมและระลึกถึง แม้ทุกวันนี้บิดา-มารดาของครูจูหลิงจะยังคงเสียใจและอาลัยอาวรณ์ในการจากไปของความหวังเดียวของบ้าน แต่ทั้งคู่ก็ยืนยันว่า จะยังคงดูแลหอศิลป์แห่งนี้ต่อไป รวมถึงช่วยงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อสืบสานปณิธานของลูกสาวผู้ที่จากไปโดยยังไม่ได้ทำความฝันให้สำเร็จ
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการเจาะข่าวเด่น โพสต์โดย คุณ เรื่องเล่า เช้านี้ สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม
Post a Comment