อัจฉริยะสร้างได้ วิทยาการใหม่ฝึกสมอง
"สมองของคนเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ ดังนั้น ไอน์สไตน์ฉลาดได้เท่าไหน โดยทฤษฎีแล้วเราก็ฉลาดได้เท่านั้น"
ข้อความส่วนหนึ่งในหนังสือที่ชื่อว่า "อัจฉริยะสร้างได้" ที่เขียนโดย "วนิษา เรซ" คนไทยเพียงคนเดียวที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเกียรตินิยมด้านวิทยาการทางสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำ "อัจฉริยภาพ" ว่า ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่าระดับปกติมาก
เป็นเหตุให้ใครหลายๆ คนคิดว่าการจะเป็นอัจฉริยภาพนั้นยากเกินกำลัง แต่ วนิษาบอกว่า คนทุกคนมีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัวอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแค่ว่าจะหาเจอช้าหรือเร็วเท่านั้น
วนิษาเล่าให้ฟังว่า ในอดีตก่อนที่งานวิจัยทางสมองจะก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน คนมักมีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นสิ่งที่เรามีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครเกิดมาด้วยไอคิวเท่าไร ก็จะจากโลกนี้ไปด้วยไอคิวเท่านั้น ระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงใดๆ
เมื่อเวลาผ่านไปนักวิจัยได้วิจัยสมองด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พบว่าสมองของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน แม้ในผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สิ่งใหม่ และมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าความฉลาดเป็นสิ่งตายตัวจึงกลายเป็นความคิดที่ล้าหลัง
จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพหลายท่าน ก็ได้คิดค้นทฤษฎีและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพสมอง และพัฒนาอัจฉริยภาพสำหรับบุคคล
วนิษาเล่าย้อนให้ฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนปริญญาโทด้านสมองว่า เริ่มจากเมื่อตอนที่เรียนปริญญาตรี เลือกเรียนด้านการศึกษาและครอบครัว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทุกคนในโลกนี้ เรียนแล้วพบว่ามันสามารถใช้ได้จริงกับทุกคน พอจะต่อปริญญาโทจึงตั้งโจทย์ให้กับตัวเองว่า จะต้องเกี่ยวกับทุกคนในโลก และเกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาคน
สิ่งที่ตั้งโจทย์นำไปสู่คำว่า "สมอง" เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากสมอง และสมองเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคน
ที่สำคัญเธออยากรู้ว่าคนเราต้องทำอย่างไรถึงจะฉลาด เป็นอัจฉริยะได้โดยที่ยังสามารถใช้ชีวิตได้แบบเดินทางสายกลางอย่างมีความสุข ไม่ต้องเรียนแบบหักโหม
พอศึกษาไปก็เจอ "ทฤษฎีพหุปัญญา" ของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทฤษฎีที่สอนด้านสมอง ที่ไม่ใช่การผ่าตัด แต่เป็นการเรียนรู้ว่า สมองคืออะไร สมองทำงานอย่างไร และรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรถึงจะใช้สมองได้อย่างคุ้มค่าและมีศักยภาพที่สุด
ซึ่งทั่วโลกมีเพียงที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ดแห่งเดียวที่สอนด้านสมองทฤษฎีพหุปัญญา เป็นทฤษฎีที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยทฤษฎีนี้ค้านกับความเชื่อเดิมที่บอกว่า อัจฉริยภาพมีเพียงด้านคณิตศาสตร์และภาษาเท่านั้น แต่ยืนยันว่า...
"อัจฉริยภาพของคนเรามีอย่างน้อย 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาษาและการสื่อสาร, ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว, ด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ, ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์, ด้านการเข้าใจตนเอง, ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น, ด้านการเข้าใจธรรมชาติ และด้านดนตรีและจังหวะ"
ถึงตอนนี้หลายคนคงสงสัยกันแล้วว่า อัจฉริยภาพสร้างได้จริงหรือ? และสามารถสร้างได้อย่างไร?
วนิษา บอกว่า คนเราสามารถสร้างความเป็นอัจฉริยภาพในตัวเองได้ เพราะความเป็นอัจฉริยภาพนั้นเกิดจากการมีเส้นใยสมอง ซึ่งสมองมีการสร้างเส้นใยสมองอยู่ตลอดเวลา และบวกกับการที่คนเรามีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้เพิ่มเติมได้
การพัฒนาความเป็นอัจฉริยภาพของเรานั้นอันดับแรกต้องดูว่าเราชอบอะไร ต้องการเป็นอัจฉริยะด้านไหน และต้นทุนในการพัฒนาสูงแค่ไหน แต่ความเป็นอัจฉริยะจะต้องเกิดจากการฝึกฝนด้วย ถ้าไม่ฝึกไม่ลองทำก็ไม่รู้ว่าเรามีอัจฉริยภาพด้านนั้นๆ อยู่ในตัว เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหาเวลาและพื้นที่ว่างในการทดสอบและฝึกฝนตัวเองให้เป็นอัจฉริยะ
"นั่นคือ ในการค้นหาอัจฉริยภาพในตัวเองนั้นจะต้องมีการทดลองทำ และฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ โดยเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเราก่อน"
ส่วนคนที่มักบอกว่าหาตัวเองไม่เจอนั้น วนิษาบอกว่า คนเหล่านี้เป็นคนที่ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ไม่เคยหยุดคิดและฟังตัวเองว่าต้องการอะไร ชอบอะไร ซึ่งการสำรวจตัวเองตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง ที่หมายถึงการกำหนดว่าจะเอาพลังที่เรามีอยู่ไปใช้ได้อย่างไรบ้าง และหากมีอัจฉริยภาพด้านนี้แล้วความเป็นอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ก็จะตามมาในไม่ช้า
อย่างลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ เป็นทั้งนักศิลปะและนักวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในเวลาเดียวกัน เขามีความสามารถและพรสวรรค์ทั้งสองอย่างในตัวเอง และสามารถทำทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของตน และขณะเดียวกันก็ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งอื่นๆ ที่แตกต่างด้วย
วนิษา บอกว่า จากการที่เธอได้ทำการศึกษาเรื่องสมองอย่างจริงจังทำให้พบว่า คนในปัจจุบันขาดการดูแลสมองเป็นอย่างมาก ไม่สนใจและไม่บำรุงสมองเลย ที่สำคัญคนเราคิดว่าการดูแลสมองเป็นเรื่องใหญ่ จะต้องไปหาหมออย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วการดูแลสมองนั้นไม่ยากเลยทำได้ง่ายๆ เพียงแค่การกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น พืชผัก ข้าวซ้อมมือ การดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งการฝึกกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการดูแลสมองอย่างง่ายๆ
เรื่องการฝึกสมองให้เป็นระบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการฝึกด้านไหน ซึ่งฝึกได้หลายชนิดมาก เพราะทุกอย่างที่เราทำจะเกี่ยวข้องกับสมองหมดเลย จึงไม่มีสูตรสำเร็จว่าจะฝึกสมองอย่างไรสมองถึงจะดี
คนเรามีความถนัดแตกต่างกัน สมองก็แตกต่างกันด้วย เช่น สมองของนักบัญชีก็ไม่เหมือนสมองของนักจัดสวน เนื่องจากสมองเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวประมวลผล และสั่งให้เราทำ
ที่สำคัญสมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมากแล้วแต่ว่าเราจะทำอะไรกับสมอง เช่นการรู้จักจัดการสมองตนเองเมื่อเกิดความเครียด
"สมองของคนเราเมื่อมีความเครียดจะหลั่งสารคอร์ดิซอร์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองไม่มีการคิด ทำให้คิดไม่ออก เป็นผลให้ข้อมูลต่างๆ ออกมาไม่ได้ เป็นสารเคมีเป็นพิษต่อสมอง แต่สารนี้จะสามารถสลายไปเมื่อมีสารเอ็นดอร์ฟิน เพราะสารเอ็นดอร์ฟินนี้เป็นสารที่มีความสุข เมื่อเราทำสิ่งที่ชอบจะมีการหลั่งสารนี้ออกมา ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
ขณะเดียวกันความเครียดนั้นก็มีข้อดีอยู่บ้าง ถ้ามีความเครียดในระดับที่เหมาะสมจะสามารถบังคับตนเองให้ทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้สำเร็จ" วนิษาสรุป
ฉะนั้น ยิ่งค้นพบความเป็นอัจฉริยะเร็วเท่าไหร่ จะยิ่งเป็นผลดีต่อตัวเราเท่านั้น เพราะแม้จะมีพรสวรรค์ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่หากขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องความเป็นอัจฉริยภาพก็มิอาจเปล่งประกายออกสู่สายตาผู้อื่นได้
เครดิต : สนุกดอทคอม
ข้อความส่วนหนึ่งในหนังสือที่ชื่อว่า "อัจฉริยะสร้างได้" ที่เขียนโดย "วนิษา เรซ" คนไทยเพียงคนเดียวที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเกียรตินิยมด้านวิทยาการทางสมอง จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านอัจฉริยภาพ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำ "อัจฉริยภาพ" ว่า ความเป็นผู้มีปัญญาความสามารถเกินกว่าระดับปกติมาก
เป็นเหตุให้ใครหลายๆ คนคิดว่าการจะเป็นอัจฉริยภาพนั้นยากเกินกำลัง แต่ วนิษาบอกว่า คนทุกคนมีความเป็นอัจฉริยภาพอยู่ในตัวอย่างน้อย 8 ด้าน เพียงแค่ว่าจะหาเจอช้าหรือเร็วเท่านั้น
วนิษาเล่าให้ฟังว่า ในอดีตก่อนที่งานวิจัยทางสมองจะก้าวหน้าเหมือนในปัจจุบัน คนมักมีความเชื่อว่า ความฉลาดเป็นสิ่งที่เรามีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ใครเกิดมาด้วยไอคิวเท่าไร ก็จะจากโลกนี้ไปด้วยไอคิวเท่านั้น ระหว่างที่เรามีชีวิตอยู่ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงใดๆ
เมื่อเวลาผ่านไปนักวิจัยได้วิจัยสมองด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย พบว่าสมองของคนเรามีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน แม้ในผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สิ่งใหม่ และมีการสร้างเส้นใยสมองใหม่ๆ อยู่เสมอ ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าความฉลาดเป็นสิ่งตายตัวจึงกลายเป็นความคิดที่ล้าหลัง
จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพหลายท่าน ก็ได้คิดค้นทฤษฎีและวิธีการต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพสมอง และพัฒนาอัจฉริยภาพสำหรับบุคคล
วนิษาเล่าย้อนให้ฟังถึงสาเหตุที่เลือกเรียนปริญญาโทด้านสมองว่า เริ่มจากเมื่อตอนที่เรียนปริญญาตรี เลือกเรียนด้านการศึกษาและครอบครัว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทุกคนในโลกนี้ เรียนแล้วพบว่ามันสามารถใช้ได้จริงกับทุกคน พอจะต่อปริญญาโทจึงตั้งโจทย์ให้กับตัวเองว่า จะต้องเกี่ยวกับทุกคนในโลก และเกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาคน
สิ่งที่ตั้งโจทย์นำไปสู่คำว่า "สมอง" เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากสมอง และสมองเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาคน
ที่สำคัญเธออยากรู้ว่าคนเราต้องทำอย่างไรถึงจะฉลาด เป็นอัจฉริยะได้โดยที่ยังสามารถใช้ชีวิตได้แบบเดินทางสายกลางอย่างมีความสุข ไม่ต้องเรียนแบบหักโหม
พอศึกษาไปก็เจอ "ทฤษฎีพหุปัญญา" ของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทฤษฎีที่สอนด้านสมอง ที่ไม่ใช่การผ่าตัด แต่เป็นการเรียนรู้ว่า สมองคืออะไร สมองทำงานอย่างไร และรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรถึงจะใช้สมองได้อย่างคุ้มค่าและมีศักยภาพที่สุด
ซึ่งทั่วโลกมีเพียงที่มหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ดแห่งเดียวที่สอนด้านสมองทฤษฎีพหุปัญญา เป็นทฤษฎีที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยทฤษฎีนี้ค้านกับความเชื่อเดิมที่บอกว่า อัจฉริยภาพมีเพียงด้านคณิตศาสตร์และภาษาเท่านั้น แต่ยืนยันว่า...
"อัจฉริยภาพของคนเรามีอย่างน้อย 8 ด้าน ประกอบด้วย ด้านภาษาและการสื่อสาร, ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว, ด้านมิติสัมพันธ์และจินตภาพ, ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์, ด้านการเข้าใจตนเอง, ด้านมนุษยสัมพันธ์และการเข้าใจผู้อื่น, ด้านการเข้าใจธรรมชาติ และด้านดนตรีและจังหวะ"
ถึงตอนนี้หลายคนคงสงสัยกันแล้วว่า อัจฉริยภาพสร้างได้จริงหรือ? และสามารถสร้างได้อย่างไร?
วนิษา บอกว่า คนเราสามารถสร้างความเป็นอัจฉริยภาพในตัวเองได้ เพราะความเป็นอัจฉริยภาพนั้นเกิดจากการมีเส้นใยสมอง ซึ่งสมองมีการสร้างเส้นใยสมองอยู่ตลอดเวลา และบวกกับการที่คนเรามีความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้เพิ่มเติมได้
การพัฒนาความเป็นอัจฉริยภาพของเรานั้นอันดับแรกต้องดูว่าเราชอบอะไร ต้องการเป็นอัจฉริยะด้านไหน และต้นทุนในการพัฒนาสูงแค่ไหน แต่ความเป็นอัจฉริยะจะต้องเกิดจากการฝึกฝนด้วย ถ้าไม่ฝึกไม่ลองทำก็ไม่รู้ว่าเรามีอัจฉริยภาพด้านนั้นๆ อยู่ในตัว เพราะฉะนั้น เราควรที่จะหาเวลาและพื้นที่ว่างในการทดสอบและฝึกฝนตัวเองให้เป็นอัจฉริยะ
"นั่นคือ ในการค้นหาอัจฉริยภาพในตัวเองนั้นจะต้องมีการทดลองทำ และฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ โดยเริ่มจากสิ่งง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวเราก่อน"
ส่วนคนที่มักบอกว่าหาตัวเองไม่เจอนั้น วนิษาบอกว่า คนเหล่านี้เป็นคนที่ไม่มีเวลาให้ตัวเอง ไม่เคยหยุดคิดและฟังตัวเองว่าต้องการอะไร ชอบอะไร ซึ่งการสำรวจตัวเองตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอัจฉริยภาพด้านการเข้าใจตนเอง ที่หมายถึงการกำหนดว่าจะเอาพลังที่เรามีอยู่ไปใช้ได้อย่างไรบ้าง และหากมีอัจฉริยภาพด้านนี้แล้วความเป็นอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ ก็จะตามมาในไม่ช้า
อย่างลีโอนาร์โด ดาร์วินชี่ เป็นทั้งนักศิลปะและนักวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเสียงในเวลาเดียวกัน เขามีความสามารถและพรสวรรค์ทั้งสองอย่างในตัวเอง และสามารถทำทั้งสองอย่างนี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งคนอื่นๆ ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานของตน และขณะเดียวกันก็ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งอื่นๆ ที่แตกต่างด้วย
วนิษา บอกว่า จากการที่เธอได้ทำการศึกษาเรื่องสมองอย่างจริงจังทำให้พบว่า คนในปัจจุบันขาดการดูแลสมองเป็นอย่างมาก ไม่สนใจและไม่บำรุงสมองเลย ที่สำคัญคนเราคิดว่าการดูแลสมองเป็นเรื่องใหญ่ จะต้องไปหาหมออย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วการดูแลสมองนั้นไม่ยากเลยทำได้ง่ายๆ เพียงแค่การกินอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่น พืชผัก ข้าวซ้อมมือ การดื่มน้ำมากๆ การออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งการพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งการฝึกกระบวนการคิดที่เป็นระบบ เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการดูแลสมองอย่างง่ายๆ
เรื่องการฝึกสมองให้เป็นระบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการฝึกด้านไหน ซึ่งฝึกได้หลายชนิดมาก เพราะทุกอย่างที่เราทำจะเกี่ยวข้องกับสมองหมดเลย จึงไม่มีสูตรสำเร็จว่าจะฝึกสมองอย่างไรสมองถึงจะดี
คนเรามีความถนัดแตกต่างกัน สมองก็แตกต่างกันด้วย เช่น สมองของนักบัญชีก็ไม่เหมือนสมองของนักจัดสวน เนื่องจากสมองเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวประมวลผล และสั่งให้เราทำ
ที่สำคัญสมองเป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่นมากแล้วแต่ว่าเราจะทำอะไรกับสมอง เช่นการรู้จักจัดการสมองตนเองเมื่อเกิดความเครียด
"สมองของคนเราเมื่อมีความเครียดจะหลั่งสารคอร์ดิซอร์ ซึ่งเป็นสารที่ทำให้สมองไม่มีการคิด ทำให้คิดไม่ออก เป็นผลให้ข้อมูลต่างๆ ออกมาไม่ได้ เป็นสารเคมีเป็นพิษต่อสมอง แต่สารนี้จะสามารถสลายไปเมื่อมีสารเอ็นดอร์ฟิน เพราะสารเอ็นดอร์ฟินนี้เป็นสารที่มีความสุข เมื่อเราทำสิ่งที่ชอบจะมีการหลั่งสารนี้ออกมา ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
ขณะเดียวกันความเครียดนั้นก็มีข้อดีอยู่บ้าง ถ้ามีความเครียดในระดับที่เหมาะสมจะสามารถบังคับตนเองให้ทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งได้สำเร็จ" วนิษาสรุป
ฉะนั้น ยิ่งค้นพบความเป็นอัจฉริยะเร็วเท่าไหร่ จะยิ่งเป็นผลดีต่อตัวเราเท่านั้น เพราะแม้จะมีพรสวรรค์ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แต่หากขาดการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องความเป็นอัจฉริยภาพก็มิอาจเปล่งประกายออกสู่สายตาผู้อื่นได้
เครดิต : สนุกดอทคอม
Post a Comment