สัมผัสที่ 7 หรือ ‘เซเว่นเซนส์’
ความสำเร็จไม่ได้หล่นมาจากฟ้า แต่มีลำดับขึ้นตอนที่ต้องอาศัยความตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเทและ อดทนรอ
ครั้งหนึ่งเคยมีคนตั้งปุจฉากับผมถึงประเด็นว่าเก่งหรือจะสู้เฮงได้ ?
ในมุมมองของผม "เก่ง" กับ "เฮง" เป็นของคู่กัน แต่ชั่วชีวิตคุณคิดว่าจะโชคดีถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 สักกี่ครั้ง
ถ้าจะเอาความสำเร็จแบบยาวๆ นานๆ ไม่มีใครดวงเฮงได้ตลอด แต่ผมเชื่อว่าคนเก่งก็ยังเป็นคนเก่งอยู่ดี
บางคนถามว่ามีวันนี้ได้ ผมเชื่อเรื่องโชคชะตาไหม ?
คนอื่นอาจจะเรียกว่า “โชคชะตา” แต่ผมเรียกมันว่า “จังหวะและโอกาส”
ผมเชื่อว่าคนเรามีโอกาสเหมือนกัน เพียงแต่มันจะมาหาเราเมื่อไหร่
บางคนโชคดีตั้งแต่ปีแรก บางคนขยัน ประหยัด มุ่งมั่นมา 10 ปียังไม่เห็นผล แต่อาจจะไปเห็นผลตอนปีที่ 11 บางคนเหนื่อยมา 20 ปีถึงจะได้เก็บเกี่ยวดอกผล
โอกาสมักจะอยู่กับเราไม่นาน จะมาหาเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่ถ้าโอกาสมาแล้วเราไม่พร้อม กว่าจะตัดสินใจนาทีสุดท้ายก็สายไปเสียแล้ว
บางเรื่องที่เรารู้ คนอื่นรู้ ทุกคนรู้เหมือนกัน แต่ทำไมคนหนึ่งมองเห็นโอกาสเต็มไปหมด แต่บางคนกลับมองไม่เห็น
บางทีโอกาสก็อยู่รอบๆ ตัวเรา เกิดขึ้นได้ตลอดในชีวิตประจำวัน บางคนอาจจะเห็นแต่ไม่ได้ทำ หรือทำแต่ทำไม่เป็น เข้าไม่ถูกจังหวะเร็ว ช้า หนัก เบา..
บางอย่างทุกคนมีโอกาสในมือเท่าๆ กัน เช่น ฟรีมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ถึงจะเข้าถูกจังหวะ แต่ถ้าทำไม่ถูกใช้ไม่เป็น
แทนที่จะช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดี อาจจะกลายเป็นตรงกันข้ามเพราะเอาแต่ยัดเยียดโฆษณาขายสินค้า
เมื่อไหร่จะก้าว เมื่อไหร่จะถอย เมื่อไหร่คือจุดที่พอดี จะจับจังหวะและโอกาสยังไงไม่ให้หลุดมือ ต้องอาศัย “ประสบการณ์” บวกกับ “ทักษะ”
ผมเรียกสัญชาตญาณแบบนี้ว่า สัมผัสที่ 7 หรือ ‘เซเว่นเซนส์’ ของนักเสี่ยงมืออาชีพ
มากไปกว่าสติ และสัญชาตญาณเอาตัวรอด คือ สัญชาตญาณตื่นตัวและตอบสนองโอกาสได้อย่างอัตโนมัติ
การมีสายตามองเห็นโอกาสก่อนที่คนอื่นจะมองเห็น เมื่อไหร่คือจุดอันตราย เมื่อไหร่คือจังหวะที่ได้เปรียบ การตัดสินใจนาทีสุดท้ายที่ถูกจังหวะและเฉียบคม
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น “เซเว่นเซนส์” ของการรับรู้ที่อยู่นอกเหนือการทำงานของประสาทสัมผัสทั้ง 5
เป็นสัญชาตญาณพิเศษที่สามารถฝึกฝนได้จากการทำบ่อยๆ ทำทุกวันจนชำนาญไปโดยอัตโนมัติ
ผมฝึกได้ คุณฝึกได้ ใครๆ ก็ฝึกได้
ทำไมเด็กเล็กๆ ถึงชอบฉี่รดที่นอน เด็กบางคนกลางคืนชอบนอนกลิ้งจนตกเตียง แต่ผู้ใหญ่ที่โตแล้วถึงจะหลับสนิท นอนดิ้นแค่ไหน หลายคนก็ไม่มีปัญหา
เพราะเด็กๆ ยังไร้เดียงสา ยังไม่มีประสบการณ์ ต้องฝึกฝนจนเป็นนิสัย
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จึงกลายเป็นสัญชาตญาณตื่นรู้ยามหลับได้โดยไม่รู้ตัว
ไหวพริบและสัญชาตญาณการทำธุรกิจต้องใช้เวลา สั่งสมประสบการณ์กับทักษะ
ความสำเร็จไม่ได้หล่นมาจากฟ้า แต่มีลำดับขึ้นตอนที่ต้องอาศัยความตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเทและ อดทนรอ
ถ้าจะนับว่าผมประสบความสำเร็จในปีที่เท่าไหร่...อย่างน้อยๆ ผมคิดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ถึงจะล้มลุกคลุกคลาน ได้บ้างเสียบ้าง แต่ประสบการณ์ทุกอย่างเป็นต้นทุนให้เราสั่งสมวิชาหาเงิน การสั่งสมความรู้ เจ้านายที่ดี หุ้นส่วนที่ดี ลูกน้องที่ดีก็เช่นเดียวกัน
ปัญหาทำให้คนแข็งแกร่งขึ้น ถ้าไม่เคยล้มเหลวก็ยากที่จะรู้ว่าการจะประสบความสำเร็จเขาทำกันอย่างไร
เรื่องบางเรื่องเราอาจเรียนรู้ได้จากคนอื่น แต่สัญชาตญาณแบบเซเว่นเซนส์ ต้องฝึกฝนและเก็บชั่วโมงบินด้วยตัวเองครับ
ช่างซ่อมเก่งๆ แค่ปรายตาดูเครื่องไวๆ นิดเดียวก็รู้แล้วว่ารถเสียที่ตรงไหน เพราะอยู่กับมันทุกวันจนชำนาญ
ทำไมคนอื่นหูไวตาไว ทำไมคุณคิดไม่ทัน ทำไมคนอื่นทำได้ ทำไมคุณทำไม่ได้
บางทีคำตอบอาจไม่ใช่เพราะโชคชะตา
แต่เพราะคุณยังไม่เป็นมืออาชีพ ยังไม่เข้าใจและยังอยู่กับมันไม่นานพอต่างหากครับ
Tags : ตัน • วิถีตัน
ตัน ภาสกรนที
วิถีตัน
ครั้งหนึ่งเคยมีคนตั้งปุจฉากับผมถึงประเด็นว่าเก่งหรือจะสู้เฮงได้ ?
ในมุมมองของผม "เก่ง" กับ "เฮง" เป็นของคู่กัน แต่ชั่วชีวิตคุณคิดว่าจะโชคดีถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ 1 สักกี่ครั้ง
ถ้าจะเอาความสำเร็จแบบยาวๆ นานๆ ไม่มีใครดวงเฮงได้ตลอด แต่ผมเชื่อว่าคนเก่งก็ยังเป็นคนเก่งอยู่ดี
บางคนถามว่ามีวันนี้ได้ ผมเชื่อเรื่องโชคชะตาไหม ?
คนอื่นอาจจะเรียกว่า “โชคชะตา” แต่ผมเรียกมันว่า “จังหวะและโอกาส”
ผมเชื่อว่าคนเรามีโอกาสเหมือนกัน เพียงแต่มันจะมาหาเราเมื่อไหร่
บางคนโชคดีตั้งแต่ปีแรก บางคนขยัน ประหยัด มุ่งมั่นมา 10 ปียังไม่เห็นผล แต่อาจจะไปเห็นผลตอนปีที่ 11 บางคนเหนื่อยมา 20 ปีถึงจะได้เก็บเกี่ยวดอกผล
โอกาสมักจะอยู่กับเราไม่นาน จะมาหาเมื่อไหร่ไม่รู้ แต่ถ้าโอกาสมาแล้วเราไม่พร้อม กว่าจะตัดสินใจนาทีสุดท้ายก็สายไปเสียแล้ว
บางเรื่องที่เรารู้ คนอื่นรู้ ทุกคนรู้เหมือนกัน แต่ทำไมคนหนึ่งมองเห็นโอกาสเต็มไปหมด แต่บางคนกลับมองไม่เห็น
บางทีโอกาสก็อยู่รอบๆ ตัวเรา เกิดขึ้นได้ตลอดในชีวิตประจำวัน บางคนอาจจะเห็นแต่ไม่ได้ทำ หรือทำแต่ทำไม่เป็น เข้าไม่ถูกจังหวะเร็ว ช้า หนัก เบา..
บางอย่างทุกคนมีโอกาสในมือเท่าๆ กัน เช่น ฟรีมีเดียอย่างเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ถึงจะเข้าถูกจังหวะ แต่ถ้าทำไม่ถูกใช้ไม่เป็น
แทนที่จะช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดี อาจจะกลายเป็นตรงกันข้ามเพราะเอาแต่ยัดเยียดโฆษณาขายสินค้า
เมื่อไหร่จะก้าว เมื่อไหร่จะถอย เมื่อไหร่คือจุดที่พอดี จะจับจังหวะและโอกาสยังไงไม่ให้หลุดมือ ต้องอาศัย “ประสบการณ์” บวกกับ “ทักษะ”
ผมเรียกสัญชาตญาณแบบนี้ว่า สัมผัสที่ 7 หรือ ‘เซเว่นเซนส์’ ของนักเสี่ยงมืออาชีพ
มากไปกว่าสติ และสัญชาตญาณเอาตัวรอด คือ สัญชาตญาณตื่นตัวและตอบสนองโอกาสได้อย่างอัตโนมัติ
การมีสายตามองเห็นโอกาสก่อนที่คนอื่นจะมองเห็น เมื่อไหร่คือจุดอันตราย เมื่อไหร่คือจังหวะที่ได้เปรียบ การตัดสินใจนาทีสุดท้ายที่ถูกจังหวะและเฉียบคม
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็น “เซเว่นเซนส์” ของการรับรู้ที่อยู่นอกเหนือการทำงานของประสาทสัมผัสทั้ง 5
เป็นสัญชาตญาณพิเศษที่สามารถฝึกฝนได้จากการทำบ่อยๆ ทำทุกวันจนชำนาญไปโดยอัตโนมัติ
ผมฝึกได้ คุณฝึกได้ ใครๆ ก็ฝึกได้
ทำไมเด็กเล็กๆ ถึงชอบฉี่รดที่นอน เด็กบางคนกลางคืนชอบนอนกลิ้งจนตกเตียง แต่ผู้ใหญ่ที่โตแล้วถึงจะหลับสนิท นอนดิ้นแค่ไหน หลายคนก็ไม่มีปัญหา
เพราะเด็กๆ ยังไร้เดียงสา ยังไม่มีประสบการณ์ ต้องฝึกฝนจนเป็นนิสัย
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จึงกลายเป็นสัญชาตญาณตื่นรู้ยามหลับได้โดยไม่รู้ตัว
ไหวพริบและสัญชาตญาณการทำธุรกิจต้องใช้เวลา สั่งสมประสบการณ์กับทักษะ
ความสำเร็จไม่ได้หล่นมาจากฟ้า แต่มีลำดับขึ้นตอนที่ต้องอาศัยความตั้งใจ มุ่งมั่น ทุ่มเทและ อดทนรอ
ถ้าจะนับว่าผมประสบความสำเร็จในปีที่เท่าไหร่...อย่างน้อยๆ ผมคิดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ถึงจะล้มลุกคลุกคลาน ได้บ้างเสียบ้าง แต่ประสบการณ์ทุกอย่างเป็นต้นทุนให้เราสั่งสมวิชาหาเงิน การสั่งสมความรู้ เจ้านายที่ดี หุ้นส่วนที่ดี ลูกน้องที่ดีก็เช่นเดียวกัน
ปัญหาทำให้คนแข็งแกร่งขึ้น ถ้าไม่เคยล้มเหลวก็ยากที่จะรู้ว่าการจะประสบความสำเร็จเขาทำกันอย่างไร
เรื่องบางเรื่องเราอาจเรียนรู้ได้จากคนอื่น แต่สัญชาตญาณแบบเซเว่นเซนส์ ต้องฝึกฝนและเก็บชั่วโมงบินด้วยตัวเองครับ
ช่างซ่อมเก่งๆ แค่ปรายตาดูเครื่องไวๆ นิดเดียวก็รู้แล้วว่ารถเสียที่ตรงไหน เพราะอยู่กับมันทุกวันจนชำนาญ
ทำไมคนอื่นหูไวตาไว ทำไมคุณคิดไม่ทัน ทำไมคนอื่นทำได้ ทำไมคุณทำไม่ได้
บางทีคำตอบอาจไม่ใช่เพราะโชคชะตา
แต่เพราะคุณยังไม่เป็นมืออาชีพ ยังไม่เข้าใจและยังอยู่กับมันไม่นานพอต่างหากครับ
Tags : ตัน • วิถีตัน
ตัน ภาสกรนที
วิถีตัน
Post a Comment