คาถาสักการะบูชา ร.5 และประวัติวันปิยมหาราช



วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช" และเหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครืองสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรุปทรงม้า โดยสิ่งหลักๆ ที่นำไปสักการะบูชาได้แก่


วันปิยมหาราช


เครื่องสักการะให้ถวาย

1. น้ำมะพร้าวอ่อน 

2. กล้วยน้ำว้า 

3. ทองหยิบ 

4. ทองหยอด 

5. บรั่นดี 

6. ซิการ์ 

7. ข้าวคลุกกะปิ 

8. ดอกกุหลาบสีชมพู
สำหรับผู้บูชาครั้งแรกให้จุดธูป 16 ดอก ส่วนครั้งต่อไปจุด 9 ดอก ว่าคาถาดังนี้ พระคาถาบูชาดวงวิญญาณเสด็จพ่อรัชกาลที่ 5 "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ" (กล่าว 3 ครั้ง)
พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ 

"พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ" หรือแบบเต็ม "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) 

อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง"

พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน 

"นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง" 

จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

"ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ...นามสกุล... ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง... อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น"


ขอบคุณขอมูลจาก http://board.palungjit.com , wikipedia 
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://th.wikipedia.org
วันปิยมหาราช - 23 ตุลาคม


ความเป็นมา : 
เนื่อง จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดทั่วขอบขัณฑสีมาปวงประชาราษฎร์ถือว่าพระองค์คือพระราชบิดาแห่งตนและ ประเทศชาติ รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวัน “ปิยมหาราช” และเมื่อถึงวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว

พระราชประวัติ 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 พระนามเดิมว่า“สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ 9 พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก 4 ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ”

สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์


บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญพระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๑


ระหว่างที่ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม ยิ่งกว่านั้นในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทย ให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืนและนั่งตามโอกาสสมควรไม่จำเป็นต้องหมอบคลาน เหมือนแต่ก่อน

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒


เมื่อมีพระชนมายุใกล้บรรลุนิติภาวะจึงได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2416 และลาผนวช เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2416 แล้วโปรดให้มีการราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2416 เพื่อแสดงให้ประชาชนและชาวต่างประเทศทราบว่าพระองค์ทรงรับผิดชอบในการปกครอง บ้านเมืองด้วยพระองค์เองแล้ว

พระราชานุสาวรีย์ :
รัช สมัยของพระองค์ เป็นรัชสมัยแห่งการปฏิวัติแทบจะทุกทาง เหตุนี้ประชาชนจึงพร้อมใจกันเรี่ยไรเงินสร้างอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ บังเอิญประจวบเหมาะกับพระองค์เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2450 ทรงพอพระทัยพระบรมรูปหล่อของพระเจ้าหลุยส์จึงขอให้พระองค์ไปประทับนั่งให้ ชาวฝรั่งเศสปั้น แล้วหล่อส่งเข้ามาในประเทศ โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451

พระบรมรูปทรงม้านี้ ขนาดทั้งพระบรมรูปและม้า ทรงทำโตกว่าของจริงเล็กน้อย โดยหล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระบรมรูปประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษวรุตมพงษบริพัต วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถึง 42 ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล

พระองค์กอร์ปด้วยพระราชกฤษฎาภินิหาร เป็นอัจฉริยภูมิบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตสถาพรและให้ เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกร ประชาชาติเป็นเบื้องหน้า พระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชาสามารถสอดส่องวินิจฉัย ในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติ โดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้า ชักจูงประชาชน ให้ดำเนินตามในทางที่งามดีมีประโยชน์เป็นแก่นสาร พระองค์ทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยู่เนืองนิจในพระวิริยะและพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหาญในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นข้อขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาด แม้ประโยชน์และความสุขในส่วนพระองค์ ก็อาจจะสละแลกความสุขสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ โดยทรงพระกรุณาปรานี พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์จึงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนชาวสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ปรากฏมา พระองค์จึงเป็นปิยมหาราช ที่รักของมหาชนทั่วไป

ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมังคลาภิเษก สัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์ เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์ อาณาประชาชนชาวสยามประเทศทุกชาติทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ทั่วรัชสีมาอาณาเขต มาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้น จึงพร้อมกันสร้างพระบรมรูปนี้ ประดิษฐานไว้สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศเพื่อเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปิยมหาราช ให้ปรากฏสืบไปชั่วกาลปวสาน

เมื่อสุรยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาศ กาฬปักษ์ ตติยดิถี ในปีวอก สัมฤทธิมา 41 จุลศักราช 1270 (ตรงกับวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451)

พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 พระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี นับเป็นรัชสมัยที่ยืนนานที่สุดในประเทศไทย

ขอบคุณข้อมูลโดย : 
พระราชสุทธิญาณมงคล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
1. การเลิกทาส พระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช”
ก็คือ “การเลิกทาส

สมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัตินั้น ประเทศไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง ของประเทศ เพราะเหตุว่าลูกทาสในเรือนเบี้ยได้มีสืบต่อกันเรื่อยมาไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นทาสกันตลอดชีวิต พ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป

กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในเวลานั้น ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วไม่มีการลด ต้องเป็นทาสไปจนกระทั่ง ชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง คำนวณการลดนี้ อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ในการนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ จึงมีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง

ข้าทาสและไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งหลุดพ้นจากระบบดั้งเดิม
ได้กลายเป็นราษฎรสยามและต่างมีโอกาสประกอบ อาชีพหลากหลาย


พอถึงปี 2448 ก็ได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ.2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด


2. การปฏิรูประเบียบบริหารราชการ การบริหารแผ่นดินในต้นรัตนโกสินทร์นั้น คงดำเนินตามแบบที่ได้ทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผิดแต่ว่ามีกรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลักของการบริหารนั้น คงมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหาร สมุหนายก ว่าการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรมเมืองหรือกรมนครบาล กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

ครั้นถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ.2416 นั้น เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จต่างประเทศดูแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในสิงคโปร์ ชวา และอินเดียแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า สมควรจะได้วางระเบียบราชการ บริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน ดังนั้นใน พ.ศ.2418 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า หรือต่างประเทศ และตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่เก็บรายได้ของแผ่นดินทุกแผนกขึ้นเป็นครั้ง แรก

ต่อจากนั้น ก็ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่แต่เดิมให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมกรมต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่ง ๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพอเหมาะสม

กระทรวงซึ่งมีอยู่ในตอนแรก ๆ เริ่มแถลงราชสมบัตินั้นเพียง 6 กระทรวง คือ
  1. กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ

  2. กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ และการทหารบก ทหารเรือ

  3. กระทรวงนครบาล มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพ ฯ

  4. กระทรวงวัง มีหน้าที่บังคับบัญชาการในพระบรมมหาราชวัง

  5. กระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดการอันเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ และการพระคลัง

  6. กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่จัดการไร่นา

เพื่อให้เหมาะสมกับสมัย จึงได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงบางกระทรวง และเพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง คือ


กระทรวงกลาโหม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้พันเอกเจ้าหมื่นไวยวรนาถ
สร้างตึกใหญ่ขึ้นที่ข้างพระบรมมหาราชวัง ใกล้ข้างศาลหลักเมือง ใน พ.ศ. ๒๔๒๔ และโปรดให้สถาปนา
จากกรมขึ้นเป็นกระทรวง เมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๓๔


1. กระทรวงการต่างประเทศ แบ่งหน้าที่มาจากกระทรวงการคลังเก่า มีหน้าที่ตั้งราชทูตไปประจำสำนักต่างประเทศ เนื่องจากเวลานั้นชาวยุโรปได้ตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพ ฯ บ้างแล้ว สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นเสนาบดีกระทรวงนี้เป็นพระองค์แรก และใช้พระราชวังสราญรมย์เป็นสำนักงาน เริ่มระเบียบร่างเขียนและเก็บจดหมายราชการ ตลอดจนมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาทำงานตามเวลา ซึ่งนับเป็นแบบแผนให้กระทรวงอื่น ๆ ทำตามต่อมา

2. กระทรวงยุติธรรม แต่ก่อนการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้รวมอยู่ในกรมเดียวกัน และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน เป็นเหตุให้วิธีพิจารณาพิพากษาไม่เหมือนกัน ต่างกระทรวงต่างตัดสิน จึงโปรด ฯ ให้รวมผู้พิพากษา ตั้งเป็นกระทรวงยุติธรรมขึ้น

3. กระทรวงโยธาธิการ รวบรวมการโยธาจากกระทรวงต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกัน และให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมรถไฟรวมอยู่ในกระทรวงนี้ด้วย

4. กระทรวงธรรมการ แยกกรมธรรมการและสังฆการีจากกระทรวงมหาดไทย เอามารวมกับกรมศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการมีหน้าที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝึกหัดบุคคล ให้เป็นครู สอนวิชาตามวิธีของชาวยุโรป เรียบเรียงตำราเรียน และตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วราชอาณาจักร

ทั้งนี้ได้ทรงเริ่มจัดการตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ.2431 จัดให้มีเสนาบดีสภา มีสมาชิกเป็นหัวหน้ากระทรวง 10 นาย และหัวหน้ากรมยุทธนาธิการ กับกรมราชเลขาธิการ ซึ่งมีฐานะเท่ากระทรวงก็ได้เข้านั่งในสภาด้วย รวมเป็น 12 นาย พระองค์ทรงเป็นประธานมา 3 ปีเศษ

แต่เดิมเสนาบดีมีฐานะต่าง ๆ กัน แบ่งเป็น 3 คือ เสนาบดีมหาดไทยกับกลาโหมมีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี เสนาบดีนครบาล พระคลังและเกษตราธิการ มีฐานะเป็นจตุสดมภ์ เสนาบดีการต่างประเทศ ยุติธรรม ธรรมการและโยธาธิการ เรียกกันว่า เสนาบดีตำแหน่งใหม่ ครั้นเมื่อมีประกาศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2435 จึงเรียกเสนาบดีเหมือนกันหมด ไม่เรียกอัครเสนาบดีและจตุสดมภ์อีกต่อไป


3. การศึกษา ใน รัชกาลนี้ได้โปรดให้ขยายการศึกษาขึ้นเป็นอันมากใน พ.ศ.2414 ได้โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง แล้วมีหมายประกาศชักชวนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการให้ส่งบุตรหลานเข้า เรียน โรงเรียนภาษาไทยนี้ โปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เป็นอาจารย์ใหญ่ ต่อมาตั้งโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง ให้นายยอช แปตเตอร์สัน เป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนทั้งสองนี้ขึ้นอยู่ในกรมทหารมหาดเล็ก

ห้องเรียนนักเรียนสมัยแรกที่เริ่มให้การศึกษาแก่ประชาชน


ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นและจัดตั้งขึ้นตามวัดต่างๆ ตามประเพณีนิยมของราษฎร โรงเรียนหลวงนี้ได้จัดตั้งขึ้นที่ “วัดมหรรณพาราม” เป็นแห่งแรก แล้วจึงแพร่หลายออกไปตามหัวเมืองทั่ว ๆ ไป โปรดให้ตั้งกรมศึกษาธิการ ขึ้นในปี พ.ศ.2428 และจัดให้มีการสอบไล่ครั้งแรกใน พ.ศ.2431 ต่อมาในปี พ.ศ.2433 ได้มีการปฏิวัติแบบเรียน โดยให้เลิกสอนตามแบบเรียน 6 กลุ่ม มีมูลบทบรรพกิจเป็นต้น ของพระยาศรีสุนทรโวหาร มาใช้แบบเรียนเร็วของกรมพระยาดำรงราชานุภาพแทน ในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น จัดการศึกษาและการศาสนาขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 การศึกษาก็เจริญก้าวหน้าสืบมาโดยลำดับ


4. การศาล แต่เดิมมากรมต่าง ๆ ต่างมีศาลของตนเองสำหรับพิจารณาคดี ที่คนในกรมของตนเกิดกรณีพิพาทกันขึ้น แต่ศาลนี้ก็เป็นไปอย่างยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ ใน พ.ศ.2434 จึงได้ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น เพื่อรวบรวมศาลต่าง ๆ ให้มาขึ้นอยู่ในกระทรวงเดียวกัน นอกจากนั้นในการพิจารณาสอบสวนคดี ก็ใช้วิธีจารีตนครบาล คือ ทำทารุณต่อผู้ต้องหา เพื่อให้รับสารภาพ เช่น บีบขมับ ตอกเล็บ เฆี่ยนหลัง และทรมานแบบอื่น ๆ เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ต้องหาทนไม่ไหว ก็จำต้องสารภาพ จึงได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ใช้วิธีพิจารณาหลักฐานจากพยานบุคคลหรือเอกสาร ส่วนการสอบสวนแบบจารีตนครบาลนั้นให้ยกเลิก

ได้จัดตั้งศาลโปริสภาขึ้นเมื่อ พ.ศ.2435 ต่อมาได้จัดตั้งศาลมณฑลขึ้น โดยตั้งที่มณฑลอยุธยาเป็นมณฑลแรก และขยายต่อไปครบทุกมณฑล


5. การคมนาคม ได้โปรดให้สร้างถนนและสะพานขึ้นเป็นอันมาก ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขยายถนนบำรุงเมือง ถนนที่ทรงสร้างใหม่ คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาปีหนึ่ง ๆ ทรงสละพระราชทรัพย์สร้างสะพานขึ้น ซึ่งมีคำว่า “เฉลิม” นำหน้า เช่น สะพานเฉลิมศรี สะพานเฉลิมสวรรค์ สะพานอื่น ๆ ที่สำคัญทรงสร้างขึ้น เช่น สะพานมัฆวานรังสรรค์ สะพานเทวกรมรังรักษ์ โปรดให้ขุดคลองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก

สะพานหัน สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ใน พ.ศ.2433 โปรดให้สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงจังหวัดนครราชสีมา ทรงเปิดทางตอนแรกตั้งแต่กรุงเทพ ฯ ถึงอยุธยาก่อน ใน พ.ศ.2439 สายต่อ ๆ ไปที่โปรดให้สร้างขึ้นในภายหลังคือ สายเพชรบุรี สายฉะเชิงเทรา สายเหนือเปิดใช้ถึงชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้สัมปทานเดินรถรางและรถไฟในกรุงเทพ ฯ สมุทรปราการ กับรถไฟในแขวงพระพุทธบาท ตลอดจนจัดการเดินรถไฟระหว่างกรุงเทพ ฯ กับสมุทรสงคราม

การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โทรเลขสายแรกที่สุด คือ ระหว่างจังหวัดพระนครกับจังหวัดสมุทรปราการ


6. การสุขาภิบาล ในส่วนการบำรุงความสุขของพลเมืองนั้น ได้ทรงตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดูแลจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นหลายแห่ง เช่น ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลบางรัก โรงพยาบาลโรคจิต และโรงเลี้ยงเด็ก นอกจากนี้ได้ส่งแพทย์ออกเที่ยวปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษและป้องกันอหิวาตกโรค โดยไม่คิดมูลค่า ใน พ.ศ.2436 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินี จัดสร้าง “สภาอุณาโลมแดง” ขึ้น ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “สภากาชาดไทย” ต่อมาสภาได้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้น แต่ยังไม่ทันเสร็จ มาเสร็จในรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” ใน พ.ศ.2457

ที่ตั้งสำนักงานการประปานครหลวงแห่งแรกบริเวณแยกแม้นศรี


ใน พ.ศ.2446 ได้ทรงจ้างช่างฝรั่งเศสเป็นนายช่างสุขาภิบาล จัดหาน้ำสะอาดให้ชาวพระนครบริโภค แต่การนี้มาสำเร็จในรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า “การประปา” อนึ่งในปีเดียวกันนั้น โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง “โอสถสภา” ขึ้น จัดทำยาตำราหลวงส่งไปจำหน่ายตามหัวเมืองในราคาถูก


7. การสงครามและการเสียดินแดน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะได้ทรงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการประเทศในลักษณะที่เรียกกันว่า “พลิกแผ่นดิน” หรือ “ปฏิวัติ” ก็ตาม แต่ในด้านการเกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกซึ่งได้ยื่นมือเข้ามาต้องการดินแดนของ เรา ตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ นั้น ได้ทำให้เราต้องเสียดินแดนต่าง ๆ ไปในรัชกาลนี้อย่างมากมายและเป็นการเสียจนครั้งสุดท้าย ซึ่งการเสียแต่ละครั้งนั้น หากจะนำมากล่าวโดยยืดยาวก็เกินความจำเป็น ฉะนั้นจึงจะนำมากล่าวเฉพาะดินแดนที่เราเสียไปเท่านั้น ดินแดนที่เราเสียไปเพราะถูกข่มเหงรังแกจากฝรั่งเศส มีหลายคราวด้วยกัน คือ
  1. 1. พ.ศ.2431 เสียแคว้นสิบสองจุไทย และหัวพันทั้งห้าทั้งหก คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 87,000 ตารางกิโลเมตร


  2. 2. พ.ศ.2436 (ร.ศ.112) เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ตลอดจนถึงเกาะต่าง ๆ ในลำน้ำโขง คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 143,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังต้องเสียเงินค่าปรับเป็นเงิน 2 ล้านฟรังค์ (คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลานั้นประมาณ 1 ล้านบาท) และต้องถอนทหารจากชายแดนทั้งหมดและฝรั่งยึดจันทบุรีไว้เป็นการชำระหนี้


  3. 3. ในปี พ.ศ.2447 ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามหลวงพระบาง และตรงข้ามปากเซให้แก่ฝรั่งเศสอีก คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 12,500 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้เนื่องจากฝรั่งเศสไม่ยอมถอนทหารจากจันทบุรี เมื่อเสียดินแดนนี้แล้วฝรั่งเศสก็ถอนทหารออกจากจันทบุรี แต่ไปยึดเมืองตราดไว้อีก โดยหาเหตุผลอันใดมิได้


  4. 4. เพื่อที่จะให้ฝรั่งเศสไปจากเมืองตราด ไทยต้องเสียสละ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ซึ่งไทยได้มาอย่างเด็ดขาดตั้งแต่ พ.ศ.2352 ให้แก่ฝรั่งเศส โดยสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2449 ฝรั่งเศสยอมคืนเมืองด่านซ้าย เมืองตราด และเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดให้แก่ไทย รวมดินแดนที่เสียไปครั้งนี้เป็นเนื้อที่ประมาณ 51,000 ตารางกิโลเมตร


แต่การเสียดินแดนคราวสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส และคนในบังคับฝรั่งเศสได้หาไปขึ้นศาลกงสุลเช่นแต่ก่อนไม่

ส่วนทางด้านอังกฤษนั้น ปรากฏว่าเขตแดนระหว่างมลายู ซึ่งเป็นของอังกฤษกับไทยยังหาปักปันกันโดยควรไม่ตลอดมาถึงปี พ.ศ.2441 ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทยและยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษทางรัฐบาล สหรัฐมลายู เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ


8. การเสด็จประพาส การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ระหว่างที่ยังมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้นก็ได้เสด็จประพาสชวา และอินเดีย เพื่อดูแบบอย่างการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในเมืองขึ้น เพื่อนำมาแก้ไขดัดแปลงใช้ในประเทศของเราบ้าง และการก็เป็นไปสมดังที่พระองค์ได้ทรงคาดการณ์ไว้ เพราะได้นำเอาวิธีการปกครองในดินแดนนั้น ๆ มาใช้ปรับปรุงระเบียบการบริหารอันเก่าแก่ล้าสมัยของเรา ซึ่งใช้กันมาตั้ง 400 ปีเศษแล้ว

เมื่อได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระรูปร่วมกับพระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ ๒
แห่งราชวงศ์โรมานอฟ ประเทศรัสเซีย


ในการเสด็จประพาสทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2440 ได้มีกระแสพระราชปรารภมีข้อความตอนหนึ่งว่า พระองค์ได้เสด็จไปนอกพระราชอาณาเขตหลายครั้งคือ เสด็จประพาสอินเดีย พม่ารามัญ ชวาและแหลมมลายู หลายครั้ง ได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงใน ประเทศให้เจริญขึ้นแล้วหลายอย่าง แม้เมืองเหล่านั้นเป็นเพียงแต่เมืองขึ้นของมหาประเทศในทวีปยุโรป ถ้าได้เสด็จถึงมหาประเทศเหล่านั้นเองประโยชน์ย่อมจะมีขึ้นอีกหลายเท่า ทั้งจะได้ทรงวิสาสะคุ้นเคยกับพระมหากษัตริย์ และรัฐบาลของประเทศน้อยใหญ่ใน ยุโรปด้วย เป็นทางส่งเสริมทางไมตรีให้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงได้ทรงกำหนดเสด็จพระราชดำเนินในวันที่ 7 เมษายน ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) มีกำหนดเวลาประมาณ 9 เดือน

การเสด็จประพาสต่างประเทศ ในขณะที่เสวยราชสมบัติระยะไกลเป็นเวลาเช่นนั้น นับเป็นครั้งแรกจึงได้ทรงออกพระราชกำหนด ตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินรักษาพระนคร ซึ่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินครั้งแรกนี้ ได้แก่สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ซึ่งครั้งนั้นทรงเป็นพระราชชนนีของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6) กับทรงตั้งที่ปรึกษาล้วนแต่เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอชั้นผู้ใหญ่ 4 พระองค์ คือพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ 1 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุ-รังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช 1 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ 1 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ 1 กับมีข้าราชการชาวต่างประเทศ ซึ่งจ้างมารับราชการในประเทศไทยครั้งนั้น คือ โรลังยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ซึ่งได้บรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอภัยราชา ร่วมด้วยอีก 1 ท่าน

ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงสมเด็จพระราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินตลอดระยะทาง พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน ให้ความรู้เกี่ยวแก่สถานที่ต่าง ๆ ที่เสด็จไปอย่างมากมาย

ส่วนการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จกลับแล้ว จึงทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่าง ๆ เป็นเหตุให้รู้สารทุกข์สุขดิบของราษฎรเป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ ไปโดยเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ แวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า “ประพาสต้น” ประพาสต้นนี้ได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง


9. การศาสนา ในด้านศาสนานั้นพระองค์มิได้ทรงละเลย ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกโดยแท้จริงในด้านพระพุทธศาสนานั้น นอกจากจะทรงบรรพชาเป็นสามเณรและทรงอุปสมบทด้วยแล้ว ยังให้ความอุปถัมภ์สงฆ์ 2 นิกาย ดังเช่น สมเด็จพระราชบิดา ในปี พ.ศ.2445 ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ เป็นการวางระเบียบสงฆ์มณฑลให้เป็นระเบียบทั่วราชอาณาจักร ให้กระทรวงธรรมการมีหน้าที่ควบคุมการศาสนา ทรงอาราธนาพระราชาคณะให้สังคายนาพระไตรปิฎก แล้วพิมพ์เป็นอักษรไทยชุดละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 ชุด แจกไปตามพระอารามต่าง ๆ ถึงต่างประเทศด้วย ใน พ.ศ.2442 ทรงปฏิสังขรณ์วัดเบญจมบพิตร แล้วจำลองพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ในวัดนี้ ทรงปฏิสังขรณ์วัดหลายวัด สร้างพระอารามหลายพระอาราม เช่น วัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (บางปะอิน) เป็นต้น

ส่วนศาสนาอื่น ก็ทรงให้ความอุปถัมภ์ตามสมควร เช่น สละพระราชทรัพย์สร้างสุเหร่าแขก พระราชทานเงินแก่คณะมิชชันนารี และพระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์ที่ริมถนนสาธร


10. การวรรณคดี ในด้านวรรณคดีนั้น ในรัชกาลนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมราวกับปฏิวัติ คือ ประชาชนหันมานิยมการประพันธ์แบบร้อยแก้ว ส่วนคำประพันธ์แบบโคลงฉันท์กาพย์กลอนนั้น เสื่อมความนิยมลงไป หนังสือต่าง ๆ ก็ได้รับการเผยแพร่ยิ่งกว่าสมัยก่อน เพราะเนื่องจากมีโรงพิมพ์หนังสือเล่มหนึ่ง ๆ ได้จำนวนมาก ไม่ต้องคัดลอกเหมือนสมัยก่อน ๆ

พระราชหัตถเลขา


พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงเป็นนักประพันธ์ ซึ่งมีความชำนาญทั้งทางร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น ไกลบ้าน ลิลิตนิทราชาคริต เงาะป่า พระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นต้น พระราชนิพนธ์เล่มหลังนี้ ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า เป็นยอดความเรียงประเภทคำอธิบาย

ขอบคุณข้อมูลโดย : 
พระราชสุทธิญาณมงคล
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Credit : Sanook.com