พระอัจฉริยภาพในหลวงและทำไมคนไทยรักในหลวง



AP ชื่นชมพระอัจฉริยภาพในหลวง ทรงแก้น้ำท่วม

 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน สำนักข่าวเอพี รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นห่วงปัญหาน้ำท่วมและทอดพระเนตรสถานการณ์น้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา จากชั้นที่ 16 ของอาคารโรงพยาบาลศิริราช โดยตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงพยายามอย่างหนัก ในการหาวิธีป้องกันน้ำท่วม ขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างเกินขอบเขต 

          แต่ที่ผ่านมารัฐบาลชุดต่าง ๆ กลับไม่ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริ ไปดำเนินการแก้ไขปัญหาให้เป็นรูปธรรม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งร้ายแรงขึ้นในปีนี้ และจนถึงขณะนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานคำแนะนำแนวทางที่ดีที่สุดในการผลักดันน้ำเหนือให้ลงสู่ทะเล แต่ต้องเจอกับอุปสรรคของระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพ

          สำหรับโครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับน้ำแห่งแรก อยู่ที่อำเภอหัวหิน เป็นโครงการเขื่อนกักเก็บน้ำจืด และป้องกันน้ำทะเลหนุน จัดสร้างขึ้น เมื่อปี 2506 จนถึงปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระ

ราชดำริมากกว่า 4,300 โครงการ ซึ่งในจำนวนนี้ราวร้อยละ 40 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
พระราชดำรัส ในหลวง ปี 2538 ทรงแนะสร้างฟลัดเวย์ (4 พฤศจิกายน)

          เผยพระราชดำรัสในหลวง 19 กันยายน 2538 ทรงแนะให้เวนคืนที่ดินกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก เพื่อสร้างฟลัดเวย์ ป้องกันการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ

          วานนี้ (3 พฤศจิกายน) รายการข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้อัญเชิญเทปบันทึกภาพและเสียงพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานไว้ในวันที่ 19 กันยายน 2538 หลังจากที่พายุดีเปรสชั่นไรอันพัดเข้ามาจนทำให้ฝนตกหนัก ทำให้น้ำเหนือจ่อเข้าท่วมกรุงเทพฯ โดยพระองค์ได้พระราชทานคำแนะนำว่า การแก้ปัญหาอุทกภัยควรจะมีการระบายน้ำทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ คือ ทางน้ำผ่านหรือเรียกว่า ฟลัดเวย์ เพื่อไม่ให้กรุงเทพฯ ฝั่งพระนครรับภาระหนักจนเกินไป แต่ฟลัดเวย์ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ นี้ จะต้องมีเครื่องเร่งน้ำใกล้คันกั้นน้ำด้วย เพราะคลองแสนแสบ คลองลาดพร้าว คลองประเวศ คลองบางนา คลองสำโรง ไม่สามารถรับน้ำเหนือที่มาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ได้ ต้องเร่งระบายน้ำให้ไวที่สุด ไม่เหมือนกับเขตพระนครที่ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) สามารถรับมือได้ เนื่องจากฝนตก (วันที่ 18 กันยายน 2538) แล้วแห้งเร็ว

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มีพื้นที่สาธารณะร่วม 5 หมื่นไร่ แต่ขณะนี้ดูแล้วเหลือเพียง 3 พันไร่เท่านั้น ดังนั้นก็ต้องกล้าที่จะแก้ปัญหาโดยการเวนคืนที่ดินฟลัดเวย์ ถ้าไม่ทำเช่นนี้ หากเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำเท่ากับหายนะแน่

          อีกปัญหาหนึ่งคือ การช่วยเหลือประชาชนจากน้ำท่วมโดยการให้เงินเพื่อฟื้นตัว จะทำให้ประชาชนขวัญเสีย เพราะคิดว่าท่วมแน่ ๆ อีกทั้งการช่วยของระบบราชการคงใช้เวลาร่วมปีถึงจะเสร็จ ดังนั้นการสร้างฟลัดเวย์จะเป็นการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิด และควรจะทำกรีนเบลต์ แปลว่า แนวเขียว ในสมัย 15 ปีก่อน ทว่าตอนนี้คงทำได้ลำบากแล้ว เพราะโรงงานสร้างขวางช่องทางน้ำหมด แต่ว่าถ้าสร้างแบบมีทางน้ำแคบ ๆ แล้วใส่เครื่องเร่งน้ำลงไป ก็น่าจะทำได้อยู่
Credit http://hilight.kapook.com/view/64412

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    

สื่อต่างชาติสงสัยทำไมคนไทยรัก “ในหลวง” สุดหัวใจ
เสื้อเหลือง
ในหลวง โบกพระหัตถ์ ครองราชย์
พวกเราลืมกันแล้วหรือยังว่า “วันมหามงคลของคนไทย” เมื่อ 9 มิถุนายน 2549 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชพิธีฉลองครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เพื่อรับการถวายพระพรจากพสกนิกรทั่วประเทศที่สวมเสื้อสีเหลืองอร่าม และโบกธงทรงพระเจริญปลิวไสว นอกจากจะสร้างความปีติแก่ชาวไทยจนน้ำตาไหล เปล่งเสียงถวายพระพร “ทรงพระเจริญ” กึกก้องยาวนานแล้ว เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ยังได้สร้างความฉงน ฉงาย ทึ่ง แปลกใจให้กับสื่อต่างประเทศอย่างมาก
ความทึ่ง และแปลกใจนี้ ส่งผลให้สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักจำเป็นต้องเสริมข้อเขียนเกี่ยวเนื่อง กับราชพิธีครั้งนี้ ออกไปจากที่ตั้งใจไว้ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาคำตอบว่า เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก จึงได้รับความเคารพรัก และเทิดทูนจากชาวไทยมากมายขนาดนั้น

ผู้สื่อข่าว บีบีซี นิวส์ แห่งประเทศอังกฤษ แสดงสีหน้าแปลกใจไม่น้อยเมื่อได้รับคำตอบจากสาวรุ่นชาวไทยผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังเดินออกมาหลังจากใช้เวลาเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการเสด็จฯออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา คำตอบเป็นภาษาอังกฤษกระท่อนกระแท่น แต่จับใจความได้ว่า “รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก รักจนตายแทนพระองค์ท่านได้ทุกเมื่อ ทุกเวลา”

“ร็อบ โคเฮน” ผู้สื่อข่าวของวิทยุเสียงอเมริกา (วีโอเอ) ปักหลักรายงานข่าวพิธีเฉลิมฉลองครั้งนี้ จากกรุงเทพมหานคร ข้อเขียนชิ้นหนึ่งของผู้สื่อข่าวอเมริกันผู้นี้ นำเสนอในเว็บไซต์ของวีโอเอเมื่อวันที่ 9 มิถุนายนที่ผ่านมา สะท้อนถึงความพยายามที่จะอธิบายต่อบุคคลภายนอกที่ยังไม่กระจ่างชัดนักว่า เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทย จึงได้รับความภักดีอย่างถึงที่สุดจากปวงชนชาวไทย พร้อมๆ กับที่ได้รับคำสรรเสริญอย่างยิ่งใหญ่จากต่างประเทศ
“พระมหากษัตริย์ของไทย ซึ่งฉลองวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบรอบ 60 ปีในสัปดาห์นี้ เป็นที่รู้จักกันในประเทศของพระองค์ว่าทรงเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” จากการที่ทรงให้การสนับสนุนโครงการ เพื่อการพัฒนาในชนบทต่างๆ เป็นจำนวนมาก การอุทิศพระองค์ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวทรงได้รับความเคารพ และยกย่องจากทุกๆ ภาคส่วนของสังคมไทย”
ย่อหน้าถัดมาผู้เขียนบอกเอาไว้ว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินออกมหาสมาคม มีคนไทยเรือนล้านเข้าร่วมรับเสด็จฯ และคาดว่าจะมีคนไทยอีกหลายล้านคนร่วมในพิธีฉลองยิ่งใหญ่ในช่วง 3 วันนี้
ในหลวง พัฒนาถิ่นทุรกันดาร“ส่วนใหญ่แล้วเป็นเพราะความพระอุตสาหะพยายามของพระองค์ในการขจัดความยากจน ให้กับคนในประเทศของพระองค์ ทำให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความเคารพเทิดทูนอย่างกว้าง ขวาง และนอกจากนั้นยังทรงเป็นองค์ประกอบสำคัญอันทำให้สังคมไทยยังคงความเป็นปึกแผ่น เป็นเอกภาพอยู่ในขณะนี้ “
“ร็อบ โคเฮน” ระบุเอาไว้ในข้อเขียนว่า องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริริเริ่มโครงการต่างๆ มากกว่า 3000 โครงการ ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาแหล่งน้ำ และการส่งเสริมสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพการอยู่อาศัย

“ในปี 2493 กษัตริย์หนุ่มให้การสนับสนุนความพยายามในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ ของอหิวาตกโรค นับตั้ง แต่บัดนั้นโครงการของพระองค์ได้วิวัฒน์ขึ้นไปหลากหลายตั้ง แต่การให้ความช่วยเหลือในยามฉุกเฉินเรื่อยไปจนถึงการพัฒนาเกษตรกรรม  โครงการต่างๆ เหล่านี้ รวมถึงความพยายามของพระองค์ในอันที่จะเพิ่มขีดผลผลิตในการทำนาข้าว การปรับปรุงการผสมพันธุ์ปศุสัตว์ และโครงการที่มีนัยสำคัญในด้านแหล่งทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ โครงการแพทย์ประจำหมู่บ้าน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ แม้กระทั่งการที่ทรงคิดค้นกระบวนการทำฝนเทียม เพื่อใช้ในระหว่างหน้าแล้งยาวนานในประเทศไทย ล้วนแล้ว แต่ได้รับความสนับสนุนจากพระองค์ท่านทั้งสิ้น”
โคเฮนระบุว่า ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” อันหมายถึงการส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างได้สมดุลในระยะยาว และยืนนานคือหัวใจของพระราชภาระเหล่านี้ เพราะกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทย 64 ล้านคน ยังคงใช้ชีวิตของตนขึ้นอยู่กับผลผลิตที่ได้จากผืนดิน แม้ว่าอีกส่วนหนึ่งของประเทศจะแปรผันไปเป็นอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วแค่ไหนก็ตาม
“สังคมไทยแทบทั้งหมด ได้รับผลประโยชน์จากพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาขององค์พระมหา กษัตริย์ไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งชนกลุ่มน้อยชาวเขาทั้งหลายทางตอนเหนือของประเทศ  โครงการปลูกพืชทดแทนต่างๆ สำหรับชาวเขาเหล่านี้ ส่งผลให้ไทย ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นประเทศแหล่งผลิตเฮโรอีนแหล่งใหญ่ เกือบจะปลอดจากการปลูกฝิ่นแล้วในขณะนี้ ในขณะที่อีกหลายโครงการกระตุ้นให้ชาวเขาเหล่านี้ ยุติการตัดไม้ทำลายป่า เผาพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตร” ข้อเขียนของ ร็อบ โคเฮน ระบุ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลอันเนื่องมาจากผลงานการพัฒนาชนบทของพระองค์มากมาย รวมทั้ง รางวัลล่าสุดที่ทรงได้รับการทูลเกล้าฯถวายจาก นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งกล่าวสดุดีพระองค์ไว้ในโอกาสดังกล่าว ว่า
“พระองค์ทรงเอื้อมพระหัตถ์เอื้อไปยังบรรดาผู้ที่ยากจนที่สุด และเปราะบางที่สุดในสังคมไทย ทรงรับฟังปัญหาของพวกเขาเหล่านั้น และให้ความช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถยืนหยัดดำรงชีวิตของตนเองต่อไป ได้ด้วยกำลังของตัวเอง… โครงการ เพื่อการพัฒนาชนบทต่างๆ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังประโยชน์ให้กับประชาชนนับเป็นล้านๆ ทั่วทั้งสังคมไทย”
นั่นไม่เพียงทำให้พระองค์ทรงดำรงสถานะเป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” ในสายต่างๆ ของบุคคลภายนอกประเทศเท่านั้น หาก แต่ยังส่งผลให้องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถิตอยู่ในดวงใจของคนไทยทั้งปวงไปตลอดกาลนาน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในทรรศนะของชาวต่างประเทศ

เดวิด โมห์เซนี่ -นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
“กษัตริย์ของประเทศไทย เป็นพระประมุขพระองค์เดียวที่ยังคงสามารถรักษาอำนาจอธิปไตยของประเทศของพระองค์ไว้ได้ ซึ่งถือเป็นสิ่งพิเศษมากสำหรับประเทศไทย นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชบัลลังก์อยู่ยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ พระองค์ใดเท่าที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ ดูเหมือนว่าคนไทยมีเหตุผลดีพอที่จะรักพระองค์อย่างไม่จางหาย… “

แอนดี้ แคนฟีลด์ ร้อยเอ็ด
“ผมใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย และผมจะสวมเสื้อเหลืองในวันนี้ (9 มิถุนายน 2549) พระมหากษัตริย์ไทยของเราเป็นบุคคลอัศจรรย์ เป็นนักบุญ สามารถเทียบเคียงได้กับองค์ทะไลลามะ หรือองค์พระสันตะปาปา พระองค์ทรงพระราชทานแรงบันดาลใจทุกอย่างให้กับเรา แม้กระทั่งกับผู้ ซึ่งเป็นเช่นเดียวกับผม ที่ถือกำเนิดในดินแดนอื่น แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี้ “

เดวิด-ยอร์ก สหราชอาณาจักร
“ควรตั้งข้อสังเกตไว้ด้วยว่า ในขณะที่คนไทยนั้นให้ความเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างสูงสุด แต่กลับเป็นบุคลิกภาพ และการอุทิศพระองค์ โดยปราศจากเงื่อนไขขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่กอรปกันขึ้นเป็นรากฐานของความชื่นชมเคารพ ยกย่องในพระองค์อย่างลึกซึ้ง และใหญ่หลวงอย่างที่พระองค์สมควรได้รับ”

สตีฟ-ลอนดอน สหราชอาณาจักร
“ผมใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯมาเป็นเวลา 4 ปี และผมคงจำเป็นต้องบอกว่า การแสดงออกถึงความเคารพ และเทิดทูนที่คนไทยมีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยนั้น เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ประชาชนสหราชอาณาจักรควรเรียนรู้จากพวกเขาให้มากเข้า ไว้”

โธมัส บราวน์-ว็อกซอลล์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระองค์อย่างชนิดที่ควรค่าอย่างยิ่งต่อการได้รับความเคารพรักจากปวง ชนชาวไทย พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมที่คนไทยทุกคนสามารถพึ่งพิงได้ ไม่ว่าจะมีความแตกต่างระหว่างกันเองมากมาย แค่ไหนก็ตาม ซึ่งไม่มีใครอื่นสามารถทำได้เช่นนี้ … ผมคิดว่าพระมหากษัตริย์ไทยทรงแสดงบทบาทในแง่ของการให้ความคุ้มครอง และยึดถือรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ผู้ที่ปฏิเสธเสรีภาพ ผมอยากให้ทหารของเราต่อสู้ เพื่อพระราชาหรือพระราชินี และประเทศชาติ แทนที่จะเป็นรัฐสภา และรัฐบาล”


ศาสตราจารย์แมนเฟรด  คราเมส   เยอรมัน

ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเพียงบุคคลเพียงคนเดียวที่พยายามจะ พัฒนาประเทศชาติ ในขณะที่คนอื่นๆ ในชาติได้แต่เฝ้ารอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นโดยที่มิได้ดำเนินตามรอยพระบาท ของพระองค์ ซึ่งผมคิดว่าการพัฒนาประเทศในรูปแบบนี้ไม่น่าจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้
            ผมมีโอกาสได้อ่านบทความมากมายในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีของ ประเทศไทยท่านหนึ่ง ผู้ที่นำพาประเทศไทยเข้าสู่สนามแห่งธุรกิจ เราพบเห็นนักการเมืองส่วนมากในเอเชียที่หลังจากครองอำนาจและได้ผลประโยชน์ แล้วก็ไม่ช่วยเหลืออะไรประชาชนเลย นั่นทำให้ผมรู้สึกสงสารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะคำสอนของพระองค์ตรงข้ามกับสิ่งที่นักการเมืองเหล่านั้นกำลังเป็นอยู่ พวกเขาจึงทำให้พระองค์ทรงทุกข์ใจ โดยเสแสร้งว่าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการสร้างภาพไม่ใช่ความจริง พวก เขาเพียงแค่ต้องการจะใช้ภาพแห่งความจงรักภักดีนี้เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเท คะแนนให้ในการเลือกตั้ง และขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมาเท่านั้น
กล่าวถึงความรู้สึกต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวต่างชาติที่อยู่รอบตัวผม สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน พวกเขาจะชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์อย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีทัศนคติในด้านบวกกับพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงแต่เราไม่ได้เทิดทูนในลักษณะเดียวกับที่คนไทยเป็นอยู่


มาร์ติน วีลเลอร์  สหราชอาณาจักร

คนไทยโชคดีมากๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้นำ  พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักมากเพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้  จะหากษัตริย์ในประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้   ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง   แต่ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิตไม่ได้ทำตามในหลวง  ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่าไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน
ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริงๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิดของในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน  ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะ   เศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอก เพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย


Darryl N. Johnson  จาก LATIMES  สหรัฐอเมริกา

ที่ได้กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงมีบทบาทในการปกครองประเทศ อันที่จริงแลัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิทรงใช้อำนาจในการปกครองและมิทรง เลือกข้างทางการเมือง เฉกเช่นเดียวกับสมเด็จพระราชินีอังกฤษและสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น พระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเพียงสัญญลักษณ์และมีหลักธร รมาภิบาล มิได้เป็นอำนาจเพื่อการเมืองการปกครอง แม้ในครั้งที่พระองค์ทรงเข้าแทรกแซงในการเผชิญหน้าทางการเมือง ดังเช่นที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ก็ ทรงทำเพื่อมิให้เกิดการนองเลือดและเพื่อให้เกิดการรอมชอมและความสมัครสมาน สามัคคีของคนในประเทศ แต่มิได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่าให้ดำเนินนโยบายอย่างไรหรือผู้ใดควรเป็นผู้ ปกครองประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุด ในโลกที่มีพระชนม์ชีพในปัจจุบันและยาวนานที่สุดในโลกทั้งหมด จากการครองราชย์ยาวนานกว่า 62 ปี พระองค์ทรงได้รับความชื่นชมและความจงรักภักดีจากพสกนิกรของพระองค์ในแบบ อย่างที่ชาวตะวันตกยากจะอธิบายได้ พระองค์ทรงมีบทบาทเฉพาะในสังคมไทยในอันที่ทรงดำรงตนเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ทั้งประเทศ ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นลุงผู้อารีผู้ส่งเสริมให้กำลังใจประชาชนทั้งในยามสุขและในยามทุกข์ยาก เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นผู้นำทางจิตใจในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา


Anthony Bailey จาก The Guardian  สหราชอาณาจักร

ผู้ที่เคยไปประเทศไทยมาแล้วจะรู้ว่าประเทศไทยมีมากกว่าชายหาดและหมู่บ้านชาวเขา ที่ งดงาม แต่ถึงกระนั้นดูเหมือนว่ามุมมองของนักวิจารณ์ชาวตะวันตกบางคนจะได้รับ อิทธิพลจากภาพยนตร์เพลง The King and I ของผู้สร้าง Rodgers และ Hammerstein และ ความสับสนทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงสองปีหลังนี้ดูราวกับเป็นสงคราม กลางเมืองอังกฤษในแบบที่เกิดขึ้นในโลกตะวันออก ซึ่งสงครามกลางเมืองอังกฤษนั้นเป็นการสู้รบระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุน Oliver Cromwell (Roundheads หรือ Parliamentarians) และกลุ่มผู้สนับสนุนพระเจ้าชาร์ล ที่ 1 แห่งอังกฤษ (Cavaliers หรือ Royalists) ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิได้ใกล้เคียงความเป็นจริงเลย
ในทางตรงกันข้าม ในขณะที่บรรดานักการเมืองยังคงขัดแย้งกันและเหล่าผู้ชุมนุมประท้วงออกมายัง ท้องถนน ประชาชนไทยไม่ว่าอยู่ทางทิศใด ไม่ว่ามีความเกี่ยวข้องทางการเมืองฝ่ายใด ได้มองหาการแนะทางออกจากพระมหากษัตริย์ของพวกเขา พระมหากษัตริย์ผู้ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ประชาชนชาวไทยมีความจงรักภักดีและศรัทธาในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช เป็นอย่างมาก มากจนหลายคนได้หวังว่าพระองค์จะทรงเข้ามาแทรกแซงเพื่อให้บ้านเมืองได้กลับ เข้าสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ราชวงศ์ตระหนักว่าการเข้าแทรกแซงหรือไม่เข้าแทรกแซงของพระองค์ย่อมถูก วิพากษ์วิจารณ์โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตก และราชวงศ์ก็ตระหนักเช่นกันว่าเหตุผลเบื้องหลังของการครองราชย์อันยาวนาน นั้นก็มาจากการใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบและการนำตนเองให้แยกออกจากการ เมืองที่เต็มไปด้วยความเลวร้าย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความชื่นชมในการวางพระองค์ตามกฎหมายรัฐ ธรรมนูญ พระองค์ทรงไม่ตอบรับต่อเสียงเรียกร้องจากผู้ที่อ้างว่ากระทำไปเพื่อพระองค์ และทรงวางพระองค์ออกห่างจากเรื่องดังกล่าว และในขณะนี้ที่สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มจะดีขึ้นและรัฐบาลใหม่ได้มีการจัด ตั้ง การวางพระองค์ตัดสินพระทัยในการทำหรือไม่ทำสิ่งใดๆ ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเหมาะสม

หมายเหตุ – คัดบางตอนจากการแสดงความคิดผ่านทางเว็บไซต์ของ บีบีซี นิวส์ 9 มิถุนายน 2549

http://www.chaoprayanews.com


ฝรั่ง ถามผมว่า "ทำไมคนไทยรักในหลวง"



Entry นี้ มีแรงบันดาลใจจากคำถามของเพื่อนชาวต่างชาติผู้ที่กำลังพยายามศึกษาภาษาและ วัฒนธรรมไทย ที่เธอถามผมว่า "คนไทยรัก The King (ในหลวง) มากเลยใช่มั้ย เห็นตอน The King เข้าโรงพยาบาล คนไทยไปเยี่ยมกันมาก " แล้วยังถามอีกว่า (คำถามsheฟังยาก ผมแปลเลยแล้วกัน) "ทำไมในหลวงดูทรงพระดำเนินลำบาก ทั้งๆที่พระชนมายุร่วมรุ่นกับ Queen ของประเทศ she แต่ Queen ของประเทศ She ยังทรงพระดำเนินคล่องอยู่เลย" อืม ผมตอบเธอไปว่า "เรารักในหลวงที่ซู้ดดดดดดดด และสำหรับผมในตอนนี้หากผมป่วยแทน แล้วพระอาการของในหลวง ดีขึ้นได้ ผมก็ยินดีป่วยแทนอย่างไม่ลังเลเลยหล่ะ" ส่วนเรื่องที่ว่าทำไมในหลวงทรงพระดำเนินไม่ค่อยคล่องนั้น ผมตอบเธอไปว่า "ในหลวงของเราทรงงานหนักมาก หนักมากอย่างที่เธออาจจะคาดไม่ถึงทีเดียว"



เมื่อสิ้นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ผู้ทรงงามทั้งพระสิริโฉม งามทั้งพระราชจริยวัตร
ผู้ทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอย่าง
พระเจ้าแผ่นดินยุค ใหม่ เสด็จฯ
เยี่ยมเยียนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด โดยมีพระอนุชาธิราช ทรงร่วมปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างเข้มแข็ง
ประชาชน ไทยก็รู้สึกเหมือนสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ความหวังอันเรืองรองที่ฉายโชนอยู่ไม่กี่วัน ก่อน
มาบัดนี้เหมือนจะ ไม่มีอีกแล้ว
นี่คือ พระราชดำรัสอันเข้มแข็งที่กลายเป็นเปลวเทียนส่องสว่างกลางความมืดมน
พระเจ้าอยู่หัวยัง อยู่ พระอนุชาต่างหากที่ไม่มีแล้ว 



มีคนเคยนำจำนวนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาหารด้วยจำนวนปีที่ทรงครองราช พบว่า "พระเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงการพระราชดำริ สัปดาห์ละ 5 โครงการ" แล้วชีวิตเราเล่าเคยทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอัน สักสัปดาห์ 5 ชิ้นมั้ย (สำหรับผม ชิ้นเดียวก็หรูแล้ว) 


ครั้งหนึ่งขณะเสด็จฯ เยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศคนหนึ่งได้ขอพระราชทานสัมภาษณ์ และได้กราบบังคมทูล ถามว่า
การที่ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรและมีโครงการตามพระราชดำริเกิดขึ้นมากมายนั้น
ทรงหวังว่าจะให้คอมมิวนิสต์น้อยลงใช่หรือไม่
พระบาทสมเด็จพระอยู่หัว ทรงมีรับสั่งตอบว่า
มิได้ทรงสนพระทัยว่าคอมมิวนิสต์จะน้อยลงหรือไม่
แต่ทรงสนพระทัยว่าประชาชนของพระองค์จะหิวน้อยลง


(ข้อมูลจาก “พระเจ้าอยู่หัว” กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2530)



แต่ละปีที่เสด็จฯ และเป็นที่มาแห่งการเสด็จพระราชดำเนินย่ำพระ บาทไปทรงรับฟังทุกข์ของประชาชน จากปากคำของประชาชน ถึงบ้านของประชาชน สำนักราชเลขาธิการ ได้เคยบันทึกไว้ว่า ในแต่ละปีเสด็จฯ ออกปฎิบัติพระราชกรณียกิจราว 500-600 ครั้ง รวมเป็นระยะทาง ประมาณ 25,000 ถึง 30,000 กิโลเมตรต่อปี (แบบนี้ไงเดี๋ยวนี้ในหลวงจึงทรงพระดำเนินลำบาก ) เห็นตัวเลขแล้วผมตกใจเลย ท่านเหนื่อยเพื่อคนไทยจริงๆ

(จาก “พระธรรมิกราชของชาว ไทย” จัด พิมพ์โดย กรมศิลปากร พ.ศ. 2530)


คุณย่าเล่าให้ฟังว่า เมื่อปีที่ผมเกิดนั้น น้ำท่วมใหญ่ทั่วกรุงเทพฯ(เอ๊ะ .... หมายความว่าเราเป็นตัวน้ำท่วมป่าวหว่า) เดือดร้อนกันไปทั่ว เย็นๆวันหนึ่ง มีคนวิ่งไปวิ่งมาแถวๆทางรถไฟข้างบ้าน และตะโกนว่า"ในหลวงมา ๆ" คนแถวนั้นไม่มีใครเชื่อเพราะน้ำท่วมเกินรถจะวิ่งได้ ถ้าในหลวงจะเสด็จฯ คงต้องนั่งเรือ หรือเดินลุย มาเท่านั้น แต่ ....... ภาพที่ปรากฎแก่ตาแก่ใจของประชาชนย่านบ้านผมตอนนั้น คือ พระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองพระบาทเป็นรองเท้าผ้าใบและทรงพระดำเนินลุยน้ำ มาตามทางรถไฟ เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร โดยมีผู้ติดตามเพียงไม่กี่คน และทรงแวะตรัสถามทุกข์สุขประชาชน เป็นระยะๆ และทรงจดบันทึกด้วยพระองค์เอง ..... หลังจากนั้นไม่ถึงวันน้ำก็ลดลงจนสู่ภาวะปกติ


ภาพนี้แหละครับตอนที่ในหลวงเสด็จทอดพระเนตรพื้นที่น้ำท่วม ย่านบ้านผม

.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนๆ ทรงครองแผ่นดิน
แต่พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ทรงครองหัวใจคน...”

หม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช


(คัด ลอกข้อความจาก หนังสือ "ครองใจคน" และจากห้องเฉลิมไทย เว็บพันทิบ รูปจากเว็บ thaimonarchy.com)





ไงคุณเพื่อนหัวทอง ยังสงสัยอยู่มั้ยว่าทำไม "คน ไทยรักในหลวง"



ส่วนเพื่อนคนไทยทั้งหลาย รักกันนะครับ อย่าให้เรื่องใดๆ ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอีกเลย



ผมเองก็จะตั้งใจทำงานครับ จะตั้งใจสอนหนังสือ ถ่ายทอดความรู้แก่นิสิตรุ่นต่อๆไปอย่างเต็มกำลัง



ทรงพระเจริญ ครับ

----------------
ที่มา
http://earltow.exteen.com/20090326/entry

หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรักในหลวง
พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่
นับเป็นห้วงเวลาที่ยากจะทำใจ  เมื่อคนไทยต้องสูญเสียพระเจ้าอยู่รัชกาลรัชกาลที่ 8 ผู้ทรงงามทั้งพระสิริโฉม  งามทั้งพระราชจริยวัตร  และยังทรงเป็น  ความหวัง” อันสดใส ด้วยทรงริเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างพระเจ้าแผ่นดินยุคใหม่” เสด็จฯ เยี่ยมเยียนพสกนิกรอย่างใกล้ชิด โดยมีพระอนุชาธิราชทรงร่วมปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างเข้มแข็ง
 เมื่อมาเสด็จสู่สวรรคาลัยรวดเร็วเช่นนี้ ความหวังอันเรืองรองที่ฉายโชนอยู่ในใจคนไทยก็ดูคล้ายจะดับวูบไปชั่วขณะและนี่คือพระราชดำรัสปลุกปลอบ ที่กลายเป็นเปลวเทียนจุดสว่างกลางความมืดมนในใจราษฎร
พระเจ้าอยู่หัวยังอยู่ พระอนุชาต่างหากที่ไม่มีแล้ว

น้ำพระทัยผ่านมา
ที่หมู่บ้านชำเมย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ผู้เสด็จท่านหนึ่งเล่าว่ามีป้ายเล็กๆฝีมือคนในหมู่บ้านเขียนติดไว้ข้างทาง ข้อความบนป้ายนั้นมีอยู่ว่า น้ำแล้งผ่านไป เมื่อน้ำพระทัยผ่านมา

24 ชั่วโมง
“...เพื่อนฝรั่งผมเคยถามว่า ทำไมคนไทยจึงได้รักในหลวงมาก ผมเอาภาพถ่ายต่างๆให้เขาดู แล้วบอกว่าKing ของเราทรงทำงานเหนื่อยเพื่อคนไทยทั้งชีวิต อะไรที่ทำเพื่อประชาชนคนไทย พระองค์ท่านทรงทำหมด ไม่ว่าคนไทยจะอยู่ส่วนไหนของประเทศ พระองค์ไปถึงหมด แล้วผมก็เอาภาพพระราชวังให้ดู แล้วบอกเขาว่า เห็นไหม พระราชวังที่ท่านอยู่ไม่เหมือนที่อื่นเลย พระองค์อยู่เช่นสามัญชน ทรงทำงานตลอด 24 ชั่วโมง
ผมถามเขาว่า ชีวิตคุณเคยมีใครไหมที่ทำอะไรเพื่อคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง... 

ตัดสินใจได้
“...ตอนเกิดเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ เราเองอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งใจจะแค่ส่งกำลังใจไปช่วยและบริจาคเงินเท่านั้น แต่พอทราบข่าวว่า ในหลวงท่านทรงห่วงใยผู้ได้รับเคราะห์ถึงขั้นลงมากำกับการส่งสิ่งของพระราชทานด้วยพระองค์เอง เราถึงกับน้ำตาคลอเลย
     คืนนั้น ตัดสินใจเก็บผ้าใส่กระเป๋า ลงไปเป็นอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัยทันที..

ราษฎรยังอยู่ได้
                พ.ศ. 2513 เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรในตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง  อันเป็นแหล่งที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ปฏิบัติการรุนแรงที่สุดในภาคใต้เวลานั้น
                ด้วยความห่วงใยอย่างยิ่งล้น  ทางกระทรวงมหาไทยได้กราบบังคมทูลขอให้ทรงรอให้สถานการณ์ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่เสียก่อน  แต่คำตอบที่ทางกระทรวงมหาดไทยได้รับก็คือ
ราษฎรเขาเสี่ยงภัยกว่าเราหลายเท่า  เพราะเขาต้องกินอยู่ที่นั่นเขายังอยู่ได้  แล้วเราจะขลาดแม้แต่จะไปเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของเขาเชียวหรือ

ทิ้งได้อย่างไร
          19 สิงหาคม 2489 หลังจากทรงรับอัญเชิญขึ้นครองราชย์ได้สองเดือนเศษ  ก็ต้องทรงอำลาประเทศไทยเพื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเรียนต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
                ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งแล่นจากพระบรมมหาราชวัง  ผ่านถนนราชดำเนินกลาง มุ่งสู่สนามบินดอนเมือง  ท่ามกลางประชาชนชาวไทยที่มาส่งเสด็จสองข้างทาง
                อาจด้วยอารมณ์อ้างว้างและใจหาย ผลักดันให้ชายคนหนึ่งในหมู่พสกนิกรร้องตะโกนขึ้นมาขณะที่รถพระที่นั่งแล่นผ่านว่า
อย่าละทิ้งประชาชน !”
                ไม่มีใครรู้ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อเสียงร้องนั้น จนเมื่อได้พระราชทานพระราชนิพนธ์
เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ลงตีพิมพ์ในหนังสือ วงวรรณคดี อีกหลายเดือนต่อมาว่า
                ...อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งได้อย่างไร...
                ความในพระราชหฤทัยที่มีต่อประชาชนนี้ บัดนี้มีอายุถึงหกสิบปีแล้ว แต่ยังมีคนไทยผู้ใดลืมได้ลง

ของมีค่าหายาก
                ในปี พ.ศ.2498 เมื่อชาวอีสานทราบข่าวดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จฯ เยี่ยมอีสานเป็นเวลายาวนานถึง 19 วัน ระหว่างวันที่ 2-20 พฤศจิกายน 2498 จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าชาวอีสานจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจเพียงใด
                เพราะอีสานเวลานั้นแห้งแล้งเหลือแสน ยังไม่มีอ่างเก็บน้ำชลประทานดังเช่นปัจจุบัน เส้นทางรถยนต์ในยุคนั้นก็ยังเป็นดินแดงๆทุรกันดาร น้ำพระราชหฤทัยที่แสดงออกด้วยการเจาะจงเสด็จฯ เยี่ยมอีสาน จึงเป็นเสมือนน้ำฝนฉ่ำที่หยาดลงมาบนผืนดินที่แห้งผาก
                ยังไม่ทันที่พระองค์จะเสด็จฯ  มาถึง  น้ำพระทัยที่เย็นดุจสายฝนหยดแรกก็หยาดนำทางลงมาเสียแล้ว  เมื่อมีข่าวว่า กรมทางหลวงเตรียมนำ น้ำ มาราดถนนทางเสด็จพระราชดำเนินเพื่อมิให้ถนนเกิดฝุ่นแดงคลุ้งเมื่อรถพระที่นั่งแล่นผ่าน
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสรับสั่งห้ามว่า ไม่ให้นำน้ำซึ่งเป็นของที่มีค่าหายากมาราดถนนรับเสด็จ แต่ให้สงวนน้ำไว้ให้ราษฎรใช้อาบกิน


พระราชประวัติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา

เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชะธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ 
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ 
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 
ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500


พระราชประวัติการศึกษา
เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์

ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง

พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน


พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน

พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 4 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
3 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”

พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน

อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า 53 ปี แล้ว
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน 

พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์

นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “ อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติทุก


ดาวน์โหลดภาพในหลวง พระราชินี และพระบมวงศานุวงศ์ ภาพวิว ดอกไม้ สคส. และอื่นๆอีกมากมาย


      
Credit : http://www.photoontour.com/specialphotos_html/60thcelebration/king_data.htm#8


เดินตามพ่อ -เพลงเทิดพระเกียรติ



เพลงตามรอยพ่อ ขับร้องโดยแอ๊ดคาราบาว



ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป (Nine Entertain)

ขับร้อง อัสนี - วสันต์ โชติกุล

เพลง ''ธงนำชีวิต'' [MV]

ขับร้องโดย : ปนัดดาเรื่องวุฒิ, สิงโต The Star5, โอ๊ค สมิทธิ์, เต้น dream on, เตชินทร์, กิ่งThe Star5 

คำร้อง : สีฟ้า
ทำนอง : อภิไชย เย็นพูนสุข



เพลงรูปที่มีทุกบ้าน



บทเพลงรักแห่งแผ่นดิน


เพลงพ่อแห่งแผ่นดิน


เพลง๘๔ พรรษา ดวงใจราษฎร์ ปราชญ์แห่งน้ำ


ไม่อยากให้พ่อเหนื่อยMv.mp4


ต้นไม้ของพ่อ


ของขวัญจากก้อนดิน 






เรียบเรียง : http://www.ruengdd.com/ ,เรื่องดีดี.com,เรื่องดีดีดอทคอม