สัญชาติญาณเตือนภัยพิบัติของสัตว์


สัตว์นั้นมีสัญชาติญาณ สามารถรู้ล่วงหน้าถึงภัยพิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นได้จริงหรือ 

ก่อน เกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นที่ประเทศจีน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2551 มีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมแพนด้า ต่างรายงานว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหวไม่นาน แพนด้าก็ต่างแสดงอากัปกริยาลุกลี้ลุกลน เหมือนจะรู้ว่ากำลังจะมีภัยร้ายเกิดขึ้น


2518 แผ่นดินไหวเมืองไฮชิง 

  

หลาย ครั้งที่สัญชาติญาณชี้เตือนภัยของสัตว์ถูกเมิน ไม่ได้รับความสนใจ จนกระทั่งเกิดโศกนาฏกรรมขึ้น แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2518 นักวิทยาศาสตร์ในเมืองไฮชิง ประเทศจีน ต่างสงสัยเมื่อแมวแสดงอากัปกริยาหวาดระแวง และหมาก็เริ่มเห่าหอนไม่หยุดหย่อน จนนักวิทยาศาสตร์เกิดความเชื่อมั่นว่ากำลังจะมีภัยพิบัติเกิดขึ้น

เจ้า หน้าที่จึงได้สั่งให้ทำการอพยพผู้คน หนีภัยออกจากเมืองในทันที เพียง 5 ชั่วโมงครึ่งหลังจากนั้นก็เกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่เมือง วัดแรงสั่นสะเทือนได้ระดับ 7.3 ริกเตอร์  ในครั้งนั้นมีผู้คนเสียชีวิตแค่ 2,000 คน ส่วนตัวเมืองนั้นพังราบ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์กันว่าหากไม่ได้ทำการอพยพ คงจะมีผู้เสียชีวิตถึง 150,000 คน

นับ เป็นครั้งแรกที่เมืองได้รับการอพยพหนีก่อนเกิดแผ่นดินไหว ในครั้งนี้สัตว์ก็ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายว่าช่วยเตือนถึงอุบัติภัยที่ กำลังจะเกิดขึ้น

2538 แผ่นดินไหวเมืองโกเบ

  

ใน เดือนมกราคม 2538 ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เกิดแผ่นดินไหว ระดับ 7.2 ริกเตอร์ มีผู้เสียชีวิตถึง 6,400 คน ผู้บาดเจ็บ 27,000 คน โดยก่อนหน้าเกิดแผ่นดินไหว ผู้คนในเมืองต่างสังเกตว่าสุนัขทั่วทั้งเมืองต่างเห่าต่อเนื่อง ไม่มีหยุดตลอดวันตลอดคืน

น. พ.คิโยชิ ชิมามูระ ได้ศึกษาแผ่นดินไหวครั้งนี้โดยละเอียด และพบว่ามีรายงานสุนัขกัดคนเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนเกิดแผ่นดิน ไหว จึงตั้งสมมุติฐานว่าสัตว์นั้นรู้ล่วงหน้าถึงแผ่นดินไหวจึงเกิดอาการเคร่ง เครียด

2547 พายุเฮอริเคนชาร์ลี

  

ในเดือนสิงหาคม 2547เกิดพายุเฮอริเคนถล่มรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิต 10 คน ก่อความเสียหาย 16 ล้านดอลลาร์

เมื่อ ทีมนักชีววิทยาทางทะเลได้กลับมาทบทวนดูข้อมูล ก็พบว่ากลุ่มฉลาม 14 ตัวซึ่งได้ติดเครื่องส่งสัญญาณวิทยุเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนไหว นั้นรู้ล่วงหน้าก่อนแล้วว่าพายุกำลังจะมา จึงได้ว่ายหนีจากพายุไปไกล รอคอยจนภัยพิบััติผ่านพ้นไปแล้วถึงสองสัปดาห์ จึงได้กลับมาหากินแหล่งเดิม คุณมิเชล ฮูเพล นักวิทยาศาสตร์นั้นกล่าวว่า “สัตว์เหล่านี้รับรู้ถึงสภาวะแวดล้อมได้มากกว่าที่เราคิด”

2519 แผ่นดินไหวเมืองตังฉาน

  

ใน เดือนกรกฏาคม 2519 ประเทศจีนถูกแผ่นดินไหว ระดับ 7.8 ริกเตอร์ เมืองตังฉาน ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมนั้นถูกกระทบอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิตถึง 240,000 คน

ช่วง ระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนเกิดแผ่นดินไหว สถานีวิทยุท้องถิ่นได้รายงานถึงหมีแพนด้าซึ่งเอามือกุมหัว ร้องโหยหวนไม่มีหยุด คนเลี้ยงแพนด้านั้นรู้สึกแปลกใจ แต่ในภายหลังจึงเข้าใจและเชื่อว่าแพนด้าคงรู้สึกได้ล่วงหน้าว่าแผ่นดินไหว กำลังจะมา

2482-2488 สงครามโลกครั้งที่สอง

  

ใน ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มีคนอังกฤษเสียชีวิตกว่า 450,000 คน มีผู้กล่าวว่าคงจะมีผู้เสียชีวิตมากยิ่งกว่านี้อีก ถ้าหากไม่ได้รับเสียงเตือนภัยจากสัตว์เลี้ยงผู้ซื่อสัตย์

ในขณะที่เรือบินรบจากเยอรมันกำลังจะเข้ามาทิ้งระเบิดอังกฤษ สุนัขและแมวก็มักจะร้องเห่าหอนเตือนให้เจ้าของหาที่หลบกำบัง

“บาง คนคิดว่ามีแรงสั่นไหวเบาๆ ก่อนเกิดเหตุซึ่งคนไม่สามารถรู้สึกได้ บางทฤษฏีก็ว่ามีการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบกาซในอากาศหรือประจุไฟฟ้า” คุณรูเพิร์ต เชลล์เดรก นักวิทยาศาสตร์ ผู้ศึกษาถึงประสาทสัมผัสที่หกของสัตว์อย่างลึกซึ้ง กล่าว “แต่นั่นก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่าสัตว์รู้ได้อย่างไรว่ากำลังจะถูกทิ้งระเบิด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง”

2542 แผ่นดินไหวเมืองอิซมิท 

  

ใน รุ่งเช้าของวันที่ 17 สิงหาคม 2542 เกิดแผ่นดินไหวระดับ 7.4 ริกเตอร์ ใกล้กับเมืองอิซมิท ประเทศตุรกี ระยะเวลาเพียงแค่ 37 วินาที แต่ก็ส่งผลให้คน 45,000 คนเสียชีวิต บาดเจ็บ 40,000 คน และไร้ที่อยู่อาศัยกว่าล้านคน ส่งผลต่อพื้นที่กว่า 100 ไมล์

ใน ช่วงหลายวันก่อนเกิดแผ่นดินไหว ชาวบ้านต่างรายงานว่าสุนัขนั้นเห่าหอนไม่มีหยุด รวมทั้งแมว หนู และนก ก็มีพฤติกรรมลุกลี้ลุกลนผิดปกติ เจ้าของสัตว์เลี้ยงหลายคนเชื่อว่าสัตว์เลี้ยงน้ันพยายามเตือนถึงภัยพิบัติ ที่กำลังจะมา

2547 คลื่นยักษ์สึนามิ คาบสมุทรอินเดีย 


ใน เหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นับเป็นอุบัติภัยทางธรรมชาติที่ส่งผลอาณาเขตกว้างขวางหลายประเทศ และมีรายงานของสัตว์ที่รู้ภัยล่วงหน้าหลายชนิดเช่นเดียวกัน

ที่ ประเทศไทยมีรายงานช้างแสดงอาการเคร่งเครียดร้องแผดเสียงอย่างต่อเนื่องหนึ่ง วันก่อนเกิดเหตุ และช่วงหนึ่งชั่วโมงก่อนคลื่นยักษ์จะมา มีช้างบางตัวที่วิ่งหนีจากชายทะเลขึ้นพื้นที่สูง คุณคริส ครุซ ครูสอนดำน้ำที่ภูเก็ต นั้นล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าจากฝูงโลมา “มันกระโดดไปมาข้างหน้าเรือผมเลย ผมจึงรู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ”

ที่ศรีลังกา ค้างคาวซึ่งปกติต้องนอนหลับเวลากลางวัน กลับบินไปมา

ที่อินเดียฝูงฟลามิงโกซึ่งทำรังวางไข่อยู่ได้หนีพื้นที่ราบต่ำขึ้นไปอยู่พื้นที่สูงเพื่อหนีคลื่นยักษ์สึนามิ

แต่ นักแผ่นดินไหววิทยา บอกว่า แม้หลายประเทศอาจพยายามสังเกตการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมสัตว์เหมือนเป็น เครื่องเตือนภัยแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีวิธีการที่เชื่อถือได้ในการใช้สัตว์ทำนายแผ่นดินไหว
ถึงอย่างนั้นบทความในหนังสือพิมพ์ไชน่า เดลีของทางการจีน ก็ตั้งคำถามว่าทำไมรัฐบาลไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหว ทั้งที่สัญญาณเตือนแรกเริ่มขึ้นตั้งแต่เกือบสามสัปดาห์ที่แล้ว เมื่อน้ำปริมาณหลายพันลูกบาศก์เมตรลดหายไปฮวบฮาบชั่วพริบตาจากบึงในเมืองเอินซี ในมณฑลหูเป่ย ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกือบ 350 กิโลเมตร
และ เพียง 3 วันก่อนแผ่นดินไหว คางคกหลายแสนตัวออกมาเพ่นพ่านเต็มท้องถนนในเมืองเหมียนจูห่างจากศูนย์กลาง แผ่นดินไหว 60 กิโลเมตรอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และมีคางคกหลายหมื่นตัวบนถนนในเมืองไท่โจว มณฑลเจียงซู และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งรายงานว่า ชาวบ้านกลัวว่าคางคกจะเป็นสัญญาณของภัยธรรมชาติ แต่เจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้ท้องถิ่นบอกว่าเป็นเรื่องการอพยพตามปกติ
และ ในวันที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว สัตว์หลายชนิดในสวนสัตว์อู๋ฮั่น ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวกว่า 1,000 กิโลเมตร แสดงพฤติกรรมแปลกๆ เช่น ม้าลายหลายตัวเอาหัวโขกประตูกรง ช้างฟาดงวงอย่างเกรี้ยวกราดจนเกือบโดนเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ สิงโตและเสือราว 20 ตัวซึ่งปกติจะนอนหลับตอนกลางวัน ก็เดินวนไปวนมาภายในกรง ยิ่งกว่านั้นในช่วงเวลาเพียง 5 นาทีก่อนเกิดแผ่นดินไหว นกยูงหลายสิบตัวส่งเสียงกรีดร้อง

เรียบเรียงโดย น.สพ. กานต์ เลขะกุล

เรียบเรียงจาก 
Animals’ early roar-ning system โดย David Lowe 

 ท่านคิดเห็นเช่นไร เราอยากทราบเป็นอย่างยิ่ง โปรดร่วมออกความคิดเห็นทางด้านล่างนี้
เชิญกดปุ่ม ShareThis เพื่อส่งอีเมล์แนะนำบทความนี้แก่เพื่อนฝูง

ติดตามบทความใหม่ๆ ด้านสัตว์ป่าได้ทุกวัน ที่   www.zoowildlifevet.com