โจชัวเบล(joshua bell)กับเรื่องที่เราพลาดไป...ในชีวิต
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อหนึ่งในนักไวโอลินผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกคนปัจจุบัน เจ้าของทั้งรางวัลออสการ์และแกรมมีไปเปิดการแสดงข้างถนนในย่านคนพลุกพล่านหน้าสถานีรถไฟใต้ดิน ผลน่ะหรือ? ไม่มีใครสนใจเขาเลย! A man sat at a metro station in Washington DC and started to play the violin; it was a cold January morning. He played six Bach pieces for about 45 minutes. During that time, since it was rush hour, it was calculated that thousand of people went through the station, most of them on their way to work. เรื่องของชายคนหนึ่ง....ที่สถานีรถใต้ดินแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ดีซี เขาเริ่มลงมือสีไวโอลิน....เป็นเช้าที่อากาศหนาววันหนึ่งในเดือนมกราคม เขาเล่นเพลงของ โจฮัน เซบาสเตียน บาค ทั้งสิ้น 6 เพลง ในเวลารวมประมาณ 45 นาที ชั่วขณะเวลานั้นเป็นชั่วโมงเร่งรีบ ได้มีการคำนวณกันว่า มีคนหลายพันคนผ่านเข้าสถานีแห่งนั้น เพื่อไปทำงาน... Three minutes went by and a middle aged man noticed there was musician playing. He slowed his pace and stopped for a few seconds and then hurried up to meet his schedule. สามนาทีผ่านไป ชายกลางคนคนหนึ่งได้สังเกตุว่ามีคนคนหนึ่งกำลังสีไวโอลิน เขาชะลอฝีเท้าและหยุดประมาณสองสามวินาที แต่แล้วก็รีบเร่งต่อไปให้ทันกำหนดการณ์ของเขา A minute later, the violinist received his first dollar tip: a woman threw the money in the till and without stopping continued to walk. อีกนาทีหนึ่งถัดมา เขาได้รับเงินทิปเหรียญเเรก เป็นของหญิงคนหนึ่งที่โยนให้โดยมิได้หยุดเดิน A few minutes later, someone leaned against the wall to listen to him, but the man looked at his watch and started to walk again. Clearly he was late for work. สองสามนาทีต่อมา มีบางคนเอนหลังพิงกำแพงฟังเขาเหมือนกัน แต่ยกนาฬิกาข้อมือขึ้นดูเวลา แล้วเริ่มเดินต่อไปอีกครั้ง เห็นได้ชัดว่าเขาไปทำงานสาย The one who paid the most attention was a 3 year old boy. His mother tagged him along, hurried but the kid stopped to look at the violinist. Finally the mother pushed hard and the child continued to walk turning his head all the time. This action was repeated by several other children. All the parents, without exception, forced them to move on. คนที่แสดงความสนใจมากที่สุดเป็นเด็กชายอายุประมาณ 3 ขวบ คุณแม่จูงมือเดินมา รีบเร่ง แต่เด็กชายก็ยังหยุดดููนักไวโอลินนั้น ที่สุดแม่ก็ผลักแรงๆและเด็กก็เดินต่อได้ ส่ายศีรษะตลอดเวลา ยังมีเด็กๆอีกหลายคนทำอาการเดียวกันนี้ แต่พ่อแม่ก็บังคับให้เดินต่ิอ....ไม่มีเว้นสักคน... In the 45 minutes the musician played, only 6 people stopped and stayed for a while. About 20 gave him money but continued to walk their normal pace. He collected $32. When he finished playing and silence took over, no one noticed it. No one applauded, nor was there any recognition. ตลอดช่วงเวลา 45 นาทีที่นักไวโอลินเล่นเพลง มีคนแค่ 6 คนที่หยุดและอยู่คนละช่วงเวลาสั้นๆ มีคนราว 20 คนให้ทิปเขาแต่ยังเดินผ่านไปด้วยย่างก้าวปกติ เขาได้เงินรวม 32 ดอลลาร์ No one knew this but the violinist was Joshua Bell, one of the best musicians in the world. He played one of the most intricate pieces ever written with a violin worth 3.5 million dollars . ไม่มีใครสักคนรู้ว่า เขาคือ โจชัว เบล นักดนตรที่ีเก่งระดับโลก เขาเล่นเพลงชั้นยอดของโลกที่เคยมีการเขียนขึ้นมา ด้วยไวโอลินราคา 3.5 ล้านเหรียญ... Two days before his playing in the subway, Joshua Bell sold out at a theatre in Boston and the seats average $100. 2 วันก่อนหน้าที่เขาจะมาเล่นที่สถานีรถใต้ดิน บัตรชมการแสดงดนตรีของโจชัว เบล ขายกันเฉลี่ยใบละ 100 ดอลลาร์ ที่โรงละครแห่งหนึ่งในบอสตัน This is a real story. Joshua Bell playing incognito in the metro station was organised by the Washington Post as part of an social experiment about perception, taste and priorities of people. The outlines were: in a commonplace environment at an inappropriate hour: Do we perceive beauty? Do we stop to appreciate it? Do we recognise the talent in an unexpected context? นี่คือเรื่องจริง เรื่องที่โจชัว เบล เล่นไวโอลินที่สถานีรถใต้ดินถูกจัดฉากโดยหนังสือพิมพ์ วอชิงตัน โพสต์ เพื่อทดสอบคนในสังคม เกี่ยวกับเรื่ิองการรับรู้ ความเข้าใจ และเรื่องรสนิยมของผู้คน โดยจัดฉากในสถานที่ทั่วๆไป ในสภาพแวดล้อมและชั่วโมงที่เหมาะสม ...เรารับรู้ความงดงามได้หรือไม่? ...เราหยุดและชื่นชอบมันไหม? .....เราจำได้หมายรู้ความสามารถที่ถูกบรรจุห่อหุ้มไว้โดยเรามิได้คาดหมายหรือไม่? One of the possible conclusions from this experience could be: ประสพการณ์ครั้งนี้ชี้ให้เห็นเงื่อนงำบางอย่าง...ว่า... If we do not have a moment to stop and listen to one of the best musicians in the world playing the best music ever written, how many other things are we missing? หากว่าเรามิได้หยุดสักชั่วขณะ แล้วฟังนักดนตรีที่เก่งที่สุดของโลกเล่นเพลงที่ไพเราะที่สุดเท่าที่มีคนเขียนไว้ให้โลก แล้วมีเรื่องราวอีกเท่าไรล่ะ...ที่เราพลาดมันไป...ในชีวิต ************************************************** โจชัว เบล เกิดที่บลูมมิงตัน รัฐอินเดียนา ปี 1967 เขาได้รับไวโอลินเป็นของตัวเองตัวแรกตอนอายุ 5 ขวบ แล้วฝึกซ้อมจริงจังเื่มื่ออายุ 12 ปีเมื่อได้ครูที่เขารักชื่ิอ โจเซฟ กินโกลด์ เมื่ออายุ 14 เขาก็เป็นที่รู้จักไปทั่วเมื่อชนะการแข่งขันของบริษัทเจเนอรัลมอเตอร์แม็กกาซีน ปีเดียวกันนั้นเองเขาได้รับการกล่าวขวัญเป็นอย่างมาก เมื่อได้แสดงดนตรีร่วมกับ ริคาโด มูติ และวงฟิลาเดลเฟีย ออเคสตร้า ที่คาร์เนกี้ ฮอลล์ จากนั้นอีกไม่นานก็ได้รับรางวัล เอวารี ฟิชเชอร์ และบันทึกแผ่นครั้งแรกด้วย เขาเริ่มโด่งดังไปทั่วโลกแห่งเสียงดนตรีหลังจากนั้นเป็นต้นมา.... His Recordings Gershwin Fantasy with John Williams and the London Symphony Orchestra� Sony Classics #60659 Short Trip Home Bluegrass music with Edgar Myer et. al.� Sony Classics #60864 Barber, Walton Violin Concertos with the Baltimore Symphony Orchestra London Classics #452851 Kernis, Air for Violin with the St. Paul Chamber Orchestra Argo #460226 The Kreisler Album with Paul Coker, Piano London Classics #44409 Prokofiev Violin Sonatas with Olli Mustonen, Piano London Classics #40926 Violin Showpieces (Ravel, Sarasate etc.) with the Royal Philharmonic Orchestra London Classics #33519 Bruch, Mendelssohn Violin Concertos with the Academy of St. Martin in the Fields London Classics #21145 Presenting Joshua Bell with Samuel Sanders, Piano London Classics #17891 เพลงนี้ชื่อเพลง Ave Maria ค่ะ เป็นเพลงที่สรรเสริญแม่พระ(พระนางมารีอา) นิยมใช้เป็นเพลงเล่นในโบสถ์ ระหว่างพิธิมิสซา (Mass) ในพิธีใหญ่ๆ และเป็นเพลงที่นักร้องเสียงหวานๆทุกคนในโลกอยากจะร้อง นักดนตรีอยากจะเล่น เป็นเพลงที่ยิ่งใหญ่มากค่ะ ไม่แพ้ Pie Jesu (ซึ่งสรรเสริญพระเยซู) * ชื่อ โจชัว หรือ โจชูอา มักเป็นชื่อของชาวยิว....ชื่อแบบนี้รับประกันความเก่ง คล้ายกับชื่อ อิสซาค (อิสซาอัก) นั่นคือ ไอแซค(แบบอังกฤษ) สเติร์น นักไวโอลินชื่อก้องโลกชาวยิวเช่นกันค่ะ |
โดย คุณยายติ่ง |
โจชัว เบล นักไวโอลินชื่อก้องวัย 39 ที่เพิ่งจะคว้ารางวัล Avery Fisher prize อันทรงคุณค่าของวงการเพลงคลาสสิก เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ต้องเจอกับประสบการณ์ที่ดูเหมือนจะบั่นทอนความมั่นใจเล็กน้อยในความล้มเหลวในการเรียกร้องความสนใจจากฝูงชุนที่เดินไปมาข้างถนนระหว่างที่เขาทำการแสดง
การแสดงดังกล่าวจัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพส ที่จัดให้เบลเล่นเพลงคลาสสิก 6 เพลงหน้าสถานีรถไฟใต้ดิน โดยสลัดคราบนักดนตรีคลาสสิกด้วยการใส่เสื้อยืดกางเกงยีนส์และสวมหมวกเบสบอลอำพรางตัว เพื่อเป็นการทดสอบการรับรู้และรสนิยมของสาธารณชน
หลังจากแสดงไปได้ 43 นาทีในช่วงเวลาเร่งรีบของเช้าวันนั้น เบลยอมรับว่าได้เงินมา 32 เหรียญ 17 เซนต์ และมีแค่หนึ่งรายจากผู้คน 1,097 ชีวิตที่เดินผ่านเขาไปที่รู้ว่าเขาคือใคร ซึ่งเขายอมรับว่าแปลกใจเสียยิ่งกว่าถูกขอร้องให้มาทำอะไรอย่างนี้เสียอีก
"ผมรู้สึกประหม่ามากๆ และมันเป็นประสบการณ์ที่แปลกสำหรับผมที่ถูกเมินเฉยอย่างนี้" อดีตเด็กอัจฉริยะ ผู้ที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่หันมาฟังเพลงคลาสสิก และสามารถเรียกเงินจากตั๋วคอนเสิร์ตได้ใบล่ะ 100 เหรียญหรือมากกว่า เปิดใจกับทางรอยเตอร์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา
"ชัดเจนเลยว่าผมถูกเอาอกเอาใจจากการขึ้นไปแสดงบนเวทีแล้วมีผู้คนคอยปรบมือและจ่ายเงินมาดูผมมากเกินไป งานนี้มันได้เปลี่ยนแปลงมุมมองที่มีต่อโลกของผมไปเลย"
นักไวโอลินหนุ่มที่มีอาวุธคู่กายเป็นผลงานของ แอนโตนิโอ สตราดิวารี รุ่นปี 1713 ที่มีมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านเหรียญ ยอมรับว่าคิดไว้ก่อนแล้วว่าผู้คนส่วนใหญ่ในบริเวณนั้นที่ล้วนแต่เป็นผู้ที่กำลังเดินทางไปทำงานในชั่วโมงเร่งด่วน คงจะไม่มีเวลามาสนใจฟังเพลงหรือเสพศิลปะใดๆ ทั้งสิ้น
"ผมทำใจไว้แล้ว แต่มันก็เจ็บปวดน่ะที่รู้สึกว่ามีคนกำลังเดินผ่านไปขณะที่ผมกำลังพยายามเล่นอย่างสุดฝีมือ มันยากที่จะยอมรับได้จริงๆ"
เบล ซึ่งโด่งดังจากชื่อเสียงในการคว้ารางวัลออสการ์จากผลงานประพันธ์และบรรเลงไวโอลินอันแสนพิสดารในภาพยนตร์เรื่อง The Red Violin กำลังจะมีผลงานชิ้นใหม่อย่าง The Essential Joshua Bell ในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ถ่ายทอดออกมาจากมุมมองของเขาเอง
การร่วมแคมเปญดังกล่าวทำให้เขารู้ว่าผู้คนในปัจจุบันเฉยชินต่อดนตรีคลาสสิกแค่ไหน และกล่าวว่าประสบการณ์ในทางดนตรีเป็นสิ่งที่ต้องเกื้อหนุนกัน ซึ่งทั้งตัวนักดนตรีและผู้ฟังจะต้องมีส่วนร่วม
โดยเขากล่าวว่าปีนี้จะทำการเปิดคอนเสิร์ตประมาณ 120 รอบต่อปีต่อไป และใครที่หวังจะได้เห็นนักดนตรีเอกของโลกไปเล่นดนตรีให้ฟังแบบฟรีๆ แถวๆ สถานีรถไฟใต้ดินคงต้องรอไปอีกนาน
"ครั้งเดียวก็เกินพอแล้วสำหรับประสบการณ์แบบนี้ แต่ส่วนตัวแล้วถ้าวันไหนผมเดินผ่านนักดนตรีที่เล่นข้างถนน ผมคงจะให้ความสนใจพวกเขามากกว่าเดิมแน่ๆ" เบลกล่าวอย่างอารมณ์ดี
---------------------------------
Post a Comment